สมัครสอบ SAT
1. เข้าเว็บไซต์ https://www.collegeboard.org/ หากมีแอคเคาน์แล้วให้ทำการกรอก Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบการสมัครสอบ แต่หากยังไม่มีแอคเคาน์ ให้คลิกที่เมนู “Sign up”
2. คลิกที่เมนู “I am a student”
3. กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด และอีเมล โดยข้อมูลส่วนนี้จะต้องตรงตามบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต ซึ่งต้องรอบคอบเป็นพิเศษในการกรอกข้อมูลนี้ เนื่องจากหากเราทำการยืนยันความถูกต้องแล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถแก้ไขได้นั่นเอง
4. กรอกข้อมูลปีที่เราจบการศึกษาในระดับชั้นม.ปลาย และดำเนินการดังต่อไปนี้
– คลิกที่ “Outside the U.S.”
– ใส่ชื่อโรงเรียนของเรา หรือหากใครที่จบม.ปลายมานานแล้ว ก็สามารถเลือกเมนู “I am no longer in high school / My school is not listed.” ได้
– ตั้ง Username และ Password สำหรับใช้เข้าระบบในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก ๆ แนะนำว่าควรจดโน้ตไว้เพื่อป้องกันการลืม
– เลือกคำถามที่และคำตอบสำหรับไว้ใช้ในการยืนยันตัวตนในอนาคต โดยแนะนำเลือกคำถามและคำตอบที่เราจำได้ดี
5. คลิกที่เมนู “Outside the U.S.” จากนั้นกรอกข้อมูลที่อยู่ โดยให้ใส่ข้อมูลที่อยู่ของเรากระจายไปให้ครบ 3 บรรทัด และหลีกเลี่ยงการใส่เครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น ( / ) ( , ) เพราะหากเราใส่เครื่องหมายเหล่านี้ ระบบจะไม่ให้ผ่าน ต่อมาระบบจะถามว่าเราต้องการการแจ้งเตือนต่าง ๆ หรือไม่ หากเรามีความต้องการ ก็ให้คลิกตรงคำว่า “Get text messages from the College Board…..” ได้เลย
6. คลิกตรง “Send me information about College Board programs” หากเราต้องการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโปรแกรมต่าง ๆ ของ College Board แต่หากไม่ต้องการก็สามารถข้ามไปในส่วนของ Parent Information ได้เลย โดยข้อมูลส่วนนี้จะสอบถามชื่อ นามสกุล และอีเมลของผู้ปกครอง เพื่อที่หากมีอีเมลส่งมาแจ้งเตือนเรา เราก็สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ส่งถึงผู้ปกครองเราด้วยหรือไม่ แม้ข้อมูลส่วนนี้จะไม่ได้บังคับให้กรอก แต่หากใครเป็นคนไม่ค่อยเช็คอีเมล แนะนำว่าให้ใส่ข้อมูลนี้ไปด้วยค่ะ จากนั้นคลิกที่ “I agree with the Terms & Conditions.” แล้วคลิก “Next”
7. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยหากข้อมูลถูกต้อง ให้คลิกตรงช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จากนั้นคลิก “Confirm”
8. เข้าสู่หน้า Registration ให้เราคลิกที่เมนู “Continue” ตรงมุมด้านล่างขวา
9. ระบบจะขึ้นข้อมูลส่วนตัวมาให้อีกครั้ง โดยในขั้นตอนนี้จะไม่สามารถแก้ไขชื่อ นามสกุลได้ แต่ยังสามารถแก้ไขเพศและวัน เดือน ปี เกิดได้อยู่ ซึ่งระบบก็จะมีแจ้งเตือนให้เราตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้อีกครั้ง เพราะหลังจากนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว
10. กรอกข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนระดับชั้นม.ปลายของเรา ดังนี้
– ตรงคำว่า “Your Expected Graduation Date” ให้ใส่เดือนปีที่คาดว่าเราจะจบม.6หรือเทียบเท่า
– ตรงคำว่า “Current Grade Level” คือให้ใส่ระดับชั้นปัจจุบัน โดยในระบบจะให้ตัวเลือกมาเป็น Grade ซึ่งเป็นการแบ่งระดับชั้นของอเมริกา หากใครอยู่โรงเรียนไทยหรือระบบอื่น ๆ ให้เทียบระดับชั้นได้เลย เช่น Grade 12 จะเทียบเท่ากับ ม.6 ส่วน Grade 11 จะเทียบเท่ากับ ม.5 เป็นต้น จากนั้นย้อนขึ้นมาบรรทัดแรก ๆ แล้วคลิก “Find Your School” เพื่อค้นหารายชื่อโรงเรียนของเรา
11. คลิกตรงคำว่า “Outside the United States” แล้วทำการเลือกประเทศ จากนั้นคลิกตรงเมนู “Search for High School” ระบบจะมีรายชื่อโรงเรียนในประเทศของเราขึ้นมาให้เลือก เราก็สามารถคลิกเมนู “Select” ตรงชื่อโรงเรียนเราได้เลย แต่เนื่องจากระบบจะมีเฉพาะรายชื่อโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น ใครที่เรียนโรงเรียนไทยหรือเรียน Home School ให้คลิกเมนู “Can’t find your high school?” จากนั้น ….
– ให้คลิกเมนู “Select” ตรงคำว่า “My high school is not listed” สำหรับคนที่เรียนโรงเรียนไทย
– ให้คลิกเมนู “Select” ตรงคำว่า “I am home-schooled” สำหรับคนที่เรียน Home School
12. กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้สอบ ได้แก่ เชื้อชาติ/สัญชาติ ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ภาษา ศาสนา จากนั้นคลิกที่ “Continue”
13. ระบบจะสอบถามเกี่ยวกับการเลือกบริการเสริม Student Search Service โดยเป็นบริการทางด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษา วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา หรืออื่น ๆ และสอบถามถึงแพลนการเรียน Advance Placement ให้ทำการเลือกตามคำแนะนำดังนี้ เสร็จแล้วคลิก “Continue”
– กรณี Student Search Service ให้คลิก “Yes, definitely!” หากเราต้องการ หรือคลิก “No, thanks.” หากเราไม่ต้องการ
– กรณี Advance Placement ให้คลิก “Yes,….” definitely!” หากเรามีแผนว่าจะเรียน หรือคลิก “No, ……” หากเราไม่มีแผนที่จะเรียน
14. กรอกข้อมูล GPA โดยประมาณ รวมไปถึงระดับผลการเรียนอย่างคร่าว ๆ ในรายวิชา Mathematics, Science และ Writing จากนั้นคลิกที่ “Continue”
15. กรอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ดังนี้
– ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนวิชา Math, English, Science, Social Studies และ Languages โดยให้ข้อมูลว่าแต่ละหัวข้อของแต่ละรายวิชา เราได้เรียนอะไรมาบ้าง เรียนมาตั้งแต่ระดับชั้นใด หรือมีการวางแผนว่าจะเรียนในช่วงใด โดยกรอกไปทีละวิชา โดยหากกรอกเสร็จในวิชาใดแล้วให้คลิก “Continue” เพื่อกรอกข้อมูลในวิชาถัดไปจนครบ 5 วิชา
– ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมหรือเรื่องที่เราสนใจ
– ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เราวางแผนที่จะศึกษาต่อ
โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีผลกับคะแนนสอบ เราสามารถกรอกอย่างคร่าว ๆ ได้ เมื่อกรอกเสร็จแต่ละหัวข้อให้คลิก “Continue” ไปเรื่อย ๆ หรือหากเรามีเวลาน้อย เราสามารถคลิก “Update Later” เพื่อข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไปก่อนได้ แต่ก็ต้องหาเวลามากรอกข้อมูลให้ครบอีกครั้งนะคะ
16. คลิก “I agree to the SAT Terms and Conditions.” จากนั้นคลิก “Continue”
17. คลิกตรงคำว่า “Outside the United States” จากนั้นเลือกประเภทข้อสอบว่าจะสอบ
18. เลือกรอบสอบที่เราต้องการ ซึ่งจะมีรอบสอบใดบ้างจะขึ้นอยู่กับช่วงที่เราเข้าไปสมัคร โดยระบบจะขึ้นให้เฉพาะรอบสอบที่สามารถสมัครได้เท่านั้น จากนั้นให้เลือกว่าเราจะสอบ Essay ด้วยหรือไม่ ซึ่งหากสอบจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจำนวน $16 หรือจะไม่สอบก็ได้ ทั้งนี้ การจะใช้คะแนน Essay หรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับคณะที่เราต้องการสมัครเรียนเป็นหลักค่ะ
19. คลิกคำว่า “No” ในหัวข้อ Testing Accommodations และ Fee Waiver ยกเว้นหากใครที่มีความพิการหรือความบกพร่องทางด้านร่างกาย จะต้องเลือก “Yes” ในหัวข้อ Testing Accommodations เพื่อให้ทางศูนย์สอบจดเตรียมบริการที่เหมาะสมให้ต่อไป ส่วนหัวข้อ Question-and-Answer Service นั้นจะแล้วแต่ทางผู้สมัครสอบว่าต้องการบริการเกี่ยวกับคำถาม คำตอบหลังสอบเสร็จหรือไม่
20. เข้าสู่ขั้นตอนของการเลือกสนามสอบ โดยให้ทำการเลือกประเทศเป็น Thailand จากนั้นคลิกตรงคำว่า “Search by Country or Region” แล้วทำการเลือกสนามสอบที่เราต้องการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสนามสอบจะเป็นโรงเรียนนานาชาติทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด หากเราเลือกได้แล้วให้คลิกคำว่า “Select”ตรงชื่อสนามสอบที่เราต้องการได้เลย แต่หากกรณีศูนย์สอบเต็ม ไม่มีเมนูให้เรากดเลือกสนามสอบ ให้เราทำการคลิกที่คำว่า “Let us find you a test center” เพื่อให้ทาง college board ทำการหาศูนย์สอบให้เราภายหลัง จากนั้นจะมีหน้าต่าง “We’ll Find a Test Center For you” ขึ้นมา ให้เราอ่านรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้วคลิก “Continue” ระบบจะขึ้นตารางสนามสอบมาให้เราเลือกอีกครั้ง โดยให้เราเลือกสนามสอบที่เราต้องการ แล้วคลิก “My Ideal Test Center” ระบบจะขึ้นสรุปเรื่องสนามสอบให้เราอีกครั้ง หากข้อมูลถูกต้องให้คลิก “Continue”
หมายเหตุ : เราจะทราบผลว่าเราได้สนามสอบที่ใดประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากที่เราสมัครและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสนามสอบที่ได้นั้นอาจจะเป็นที่เดียวกันกับที่เราเลือกไว้หรือไม่ก็ได้
21. อัพโหลดรูปถ่ายของผู้สอบลงไป โดยจะต้องเป็นรูปตามลักษณะที่ทาง college board กำหนด ให้เราคลิกคำว่า “Upload Photo” เลือกช่องทางที่จะนำรูปเข้า จากนั้นปรับครอปรูปตามความเหมาะสม แล้วคลิก “Save Image” และ “Continue”
22. ระบบจะนำเสนอหนังสือเตรียมสอบต่าง ๆ ให้เรา หากใครสนใจอยากซื้อหนังสือเตรียมสอบจากทาง college board ก็สามารถสั่งซื้อได้จากขั้นตอนนี้ แต่หากไม่ต้องการสามารถคลิก “Continue” ได้เลย ซึ่งหลังจากนั้นระบบจะขึ้นสรุปข้อมูลพร้อมรูปถ่ายที่เรากรอกไปมาให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ตามรูปตัวอย่างที่แนบมานี้ แต่ขออนุญาตเบลอไว้เล็กน้อย เนื่องจากอาจจะมีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นั่นเอง
23. หลังจากนั้นให้ทำการตรวจสอบค่าใช้จ่ายและเตรียมบัตรเครดิตให้พร้อมสำหรับการชำระเงิน จากนั้นคลิก Make Payment ตรงหัวข้อ Submit Your Order ซึ่งเมื่อเราคลิกแล้ว ระบบจะแสดงหน้าต่าง Confirm Your Information ขึ้นมา ให้เราคลิกตรงคำว่า “I agree with this information.” จากนั้นคลิก “Continue”
24. เลือกช่องทางการชำระเงิน จากนั้นคลิก “Submit”
25. กรอกรายละเอียดการชำระเงินตามช่องทางที่เราเลือกไว้ จากนั้นคลิก “Submit” ถือเป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการสมัครสอบ และเราจะได้รับอีเมลยืนยันจากทาง college board ด้วย
หลังจากทำการชำระเงินเรียบร้อย หากใครที่สมัครสอบตอนที่สนามสอบยังว่าง ไม่ต้องรอสนามสอบภายหลังจะสามารถ Print Admission Ticket ออกมาได้เลย แต่หากอยู่ระหว่างการรอสนามสอบ จะสามารถ Print Admission Ticket ได้อีกครั้งเมื่อเราได้สนามสอบเรียบร้อยแล้ว โดย Admission Ticket นั้น มีไว้สำหรับยืนยันการสมัครสอบกับเจ้าหน้าที่คุมสอบ โดยยื่นควบคู่กับบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตในวันสอบจริง ดังนั้นเราจะ Print Admission Ticket เมื่อไหร่ก็ได้ ขอเพียงแค่ให้ทันวันสอบจริงก็พอค่ะ
แนะนำหนังสือเตรียมสอบ SAT
“อยากอ่านหนังสือเตรียมสอบ SAT ควรอ่านเล่มไหนดี” คำถามที่น้อง ๆ หลายคนต่างสงสัย เพราะแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนังสือเตรียมสอบทุกวันนี้มีเยอะมาก มีทั้งหนังสือที่เน้นตะลุยโจทย์ หนังสือที่เน้นการอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดแล้วมาพร้อมกับชุดแนวข้อสอบแบบ one stop service นอกจากนี้ยังมีหนังสือ แยกเป็นพาร์ท ๆ มาให้อีกด้วย มีเยอะจนตาลายขนาดนี้ ถึงเวลาต้องเลือกอ่านกันหน่อยแล้ว ซึ่งวันนี้ พี่ ๆ จุฬาติวเตอร์จะมาแนะนำหนังสือเตรียมสอบให้น้อง ๆ ที่ยังเลือกไม่ถูกกันค่ะ ว่าเราควรจะอ่านเล่มไหนดี
1. Collage Board; The Official SAT Study Guide
หนังสือเตรียมสอบเล่มแรกที่อยากแนะนำ เนื่องจากเป็นหนังสือที่จัดทำโดย Collage Board ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องการสอบโดยตรง ดังนั้น เรื่องของแนวข้อสอบและข้อมูลจะเป็นทางการและค่อนข้างใกล้เคียงข้อสอบจริง ในหนังสือเตรียมสอบเล่มนี้ จะมีทั้งส่วนที่เป็นเคล็ดลับการเตรียมสอบ ตัวอย่างข้อสอบและข้อสอบจริง อีกทั้งยังมีการอธิบายเฉลยอย่างละเอียดให้อีกด้วย สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มเตรียมตัว หรือยังไม่เคยสอบมาก่อน หนังสือเล่มนี้ ช่วยได้เยอะทีเดียวค่ะ
2. The Princeton Review; Crack the SAT PREMIUM
เป็นหนังสือเตรียมสอบอีกหนึ่งเล่มที่จะเน้นการตะลุยโจทย์ค่อนข้างเยอะ โดยหากเปรียบเทียบเล่มนี้กับ Cracking the Scholastic Assessment Tests ธรรมดา หนังสือเล่มนี้จะพิเศษตรงที่จะมีข้อสอบเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทบทวนในหัวข้อต่าง ๆ ที่มีการออกสอบอีกด้วย และที่พลาดไม่ได้เลยคือ หนังสือเตรียมสอบเล่มนี้มีอธิบายเฉลยอย่างละเอียดให้ด้วย
3. KAPLAN SAT Prep 2020
หนังสือเตรียมสอบที่มีครบทั้งการทบทวนพื้นฐานในหัวข้อที่ออกสอบ และอัดแน่นไปด้วยโจทย์อีกหลายร้อยข้อ ที่ไม่เพียงแต่จะให้เราได้เห็นแนวข้อสอบเท่านั้น แต่จะให้กลยุทธ์และเทคนิคการทำข้อสอบอีกด้วย แต่สำหรับใครที่ยังไม่แม่นคณิตศาสตร์มากนัก อาจจะเก็บเล่มนี้ไว้ฝึกทำตอนที่พื้นฐานเริ่มดีแล้วจะเหมาะกว่าค่ะ
4. BARRON’S SAT PREMIUM STUDY GUIDE
หนังสือเตรียมสอบเล่มสุดท้ายที่เราอยากแนะนำคือ BARRON’S; Scholastic Assessment Tests PREMIUM STUDY GUIDE ค่ะ โดยปกติแล้วหนังสือจาก BARRON’S จะทำโจทย์ออกมาค่อนข้างยาก จึงอาจจะเหมาะกับน้อง ๆ ที่ผ่านการฝึกทำข้อสอบมาเยอะแล้ว หรือมีพื้นฐานที่ดีมาก ๆ แล้ว แต่อยากทำโจทย์เพิ่มเพื่อความมั่นใจที่มากขึ้นนั่นเองค่ะ