CU-TEP Writing ข้อสอบออกอะไร CU-TEP คืออะไร สมัครสอบ
CU-TEP คืออะไร
CU-TEP คือ ข้อสอบทดสอบภาษาอังกฤษสำหรับศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานานาชาติ หลักสูตรปริญญาโท-เอก ใน คณะ/สาขา ที่ทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดเขัาเรียน โดยข้อสอบ CU-TEP จะมี 3 ส่วนด้วยกันคือ CU-TEP writing , CU-TEP reading , CU-TEP listening
ลักษณะข้อสอบ CU-TEP writing ออกประมาณแนวไหน ?
ข้อสอบ CU-TEP writing จะมีทั้งหมด 30 ข้อ ใช้เวลาทั้งหมด 30 นาที ตกข้อละประมาณ 1 นาที
ข้อสอบเกือบ 90% จะวัดการใช้ Grammar ในภาษาอังกฤษ
ส่วนอีก 10% จะวัดความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบ
ในส่วนของ Grammar ส่วนใหญ่จะออกเรื่องเดิมๆ คือ Part of Speech, Tense, If clause , Participle ซึ่งในส่วนนี้ สามารถเตรียมตัวได้เอง โดยการลองทำแบบฝึกหัดเยอะๆ และย้อนมาดูว่าเราผิดพลาดในส่วนไหน การทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ จะทำให้เรามองรูปประโยคได้แตกฉานขึ้น เมื่อฝึกไปได้สักพักจะรู้เลยว่าข้อสอบออกแนวเดิมๆตลอด
สำหรับ ข้อสอบในส่วนของการใช้ภาษาที่จะออกมาประมาณ 10% นั้นจะวัดความสามารถของผู้สอบว่า ใช้ภาษาได้เหมือนเจ้าของภาษารึเปล่า ข้อสอบส่วนนี้จะยาก เนื่องจาก choice ที่ให้มา จะถูก Grammar เกือบหมด เพียงแต่ผิดที่วิธีการใช้ และกาละเทศะ ซึ่งคนที่ท่อง Grammar มาเพียงอย่างเดียว แต่ไม่คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษแบบเจ้าของภาษา จะไม่สามารถทำข้อสอบส่วนนี้ได้ ข้อสอบส่วนนี้เรียกได้ว่า ออกมาเพื่อปราบเซียนโดยเฉพาะ แต่น้องๆก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะข้อสอบส่วนนี้มีแค่ 2-3 ข้อเท่านั้น
ข้อควรระวังการทำข้อสอบ CU-TEP writing ?
สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ อย่าหลงกลข้อสอบ ไปเลือก choice ที่ดูแปลกตา และเป็นคำศัพท์ที่เราไม่เคยเห็น อย่างคำบางคำ เช่น doing so, until about ซึ่งเราไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วเราก็ไม่รู้จะแก้ไขคำศัพท์เหล่านี้ด้วย Grammar ยังไง ก็อย่าไปเลือก เพราะข้อสอบชอบเอาตัวเลือกเหล่านี้มาทำให้เราไขว้เขว คำตอบที่เราควรจะเลือก ต้องเป็น choice ที่สามารถอธิบายด้วย grammar ได้ และเราก็ต้องรู้ว่าเราควรจะแก้ยังไงให้ถูก
สำหรับโจทย์ตัวเลือกประเภท which, who , whom หรือ Verb ที่ตามด้วย ing, ed มักจะเป็นคำตอบซะมากกว่า
สำหรับโจทย์ข้อสอบอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ว่าจะมองด้วยหลัก Grammar ยังไงก็ถูก ความหมายก็ถูกต้องทุกอย่าง แต่ผิดหลักการใช้ของเจ้าของภาษา ตัวอย่างเช่นคำว่า rise, raise ซึ่งข้อสอบออกบ่อย ถ้าไปเปิดดิกชันนารี สองคำนี้จะแปลว่าขึ้นเหมือนกัน แล้วข้อสอบก็เคยออกประมาณว่า Yesterday the temperature raised to 40 degrees. ถ้ามองแบบนี้ คำว่า raised นั้นถูกต้องแล้ว เพราะ ใช้ถูกต้องตาม tense คือ Past tense ดังนั้นจึงต้องเติม ed ต่อท้าย แต่.. ในภาษาอังกฤษ คำว่า raise จะใช้กับสิ่งที่เรายกมันขึ้นได้เช่น Raise your hand ถ้าเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถไปยกมันขึ้นได้ เช่นพระอาทิตย์ เราจะต้องใช้คำว่า rise เช่น The sun rises. ดังนั้นในข้อนี้ เราจึงต้องใช้คำว่า rise แทน และต้องเปลี่ยน tense ให้เป็น Past tense จะได้คำตอบที่ถูกต้องว่า Yesterday the temperature rose to 40 degrees.
จะเห็นได้ว่า ข้อสอบประเภทนี้ ต้องเป็นคนที่อ่านภาษาอังกฤษมากๆเท่านั้น ถึงจะรู้ว่าเจ้าของภาษาใช้คำว่า rise และ raise ต่างกัน คนที่อ่านภาษาอังกฤษมามากๆ ถึงแม้จะอธิบายการใช้งานของ สองคำนี้ไม่ได้ แต่เขาจะรู้ว่าโดยอัติโนมัติว่า คำไหนถูก คำไหนผิด ดังนั้นหากน้องๆอยากทำข้อสอบส่วนนี้ถูก ต้องหมั่นอ่านภาษาอังกฤษให้เยอะๆ ดูข่าวภาษาอังกฤษ อ่านหนังสือพิมพ์ จะช่วยได้มาก
เทคนิคการเตรียมตัวสอบ CU-TEP writing ?
ศึกษาวิธีการใช้ Grammar ภาษาอังกฤษให้ขึ้นใจเสียก่อน ว่าหลักการใช้ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เช่น who ต้องขยายคำนามที่เป็นคน ในขณะที่ which ใช้ขยายคำนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ หลังจากจดจำวิธีการใช้แล้วก็ควรจะทำแบบฝึกหัดเยอะๆ เพราะข้อสอบจริงนั้นมีการใช้ประโยคที่ค่อนข้างยาว และทำให้เราสับสนว่า จริงๆแล้ว คำนามคำไหนกันแน่ที่เป็นประธาน ถ้าหากท่องหลักการ Grammar ไปอย่างเดียว จะไม่สามารถทำข้อสอบให้ได้คะแนนสูงๆ
เวลาทำแบบฝึกหัดช่วงแรกๆ อาจจะทำไปเรื่อยๆ ดูตำราคู่มือประกอบไปด้วย แต่ช่วงใกล้สอบ ขอแนะนำว่าให้ทำแบบปิดตำรา แล้วจับเวลาจริง คือ 30 นาที เพื่อจะดูว่าเราจะทำทันไหม และจุดไหนที่เราจะผิดพลาดบ่อยๆ จะได้กลับมาแก้ไขให้แม่นยำ ก่อนวันสอบจริง อาจารย์มั่นใจว่า หากน้องๆฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอตามที่บอก การจะได้คะแนนใน part writing สูงๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลย
จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ออกสอบ CU-TEP writing
หัวข้อ Grammar | จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ออกสอบ CU-TEP writing |
Word Forms ( รูปคำ ) เช่น คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ | 20% |
Verb Forms ( รูปกริยา ) คำกิริยาต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกริยา และประธานกริยาใน tense ต่างๆ | 15% |
Word Order ( การลำดับคำ ) | 10% |
Word Choice ( การเลือกใช้คำ ) เช่น บางคำต้องตามด้วยเอกพจน์และบางคำต้องตามด้วยพหูพจน์ หรือบางคำเป็นนามนับไม่ได้ | 10% |
Parallel Structure ( รูปโครงสร้างขนาน ) ข้อความที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จะต้องแสดงออกด้วยรูปของคำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทางไวยากรณ์ | 8% |
Nouns and Numbers | 8% |
Conjunctions | 6% |
Pronouns | 6% |
Articles | 5% |
Comparisons | 5% |
Prepositions | 5% |
Redundancy ( คำฟุ่มเฟือย ) | 5% |
Other types of Errors ( ข้อบกพร่องของคำ หรือกลุ่มคำอื่นๆ ) | 2% |
CU TEP สอบอะไรบ้าง
CU-TEP หรือ Chulalongkorn University Test of English Proficiency ข้อสอบจะเป็นแบบเลือกตอบทั้งหมด ประกอบไปด้วย 3 พาร์ท และมีรายละเอียดการสอบ ดังนี้
พาร์ทการสอบ | จำนวนข้อ | เวลาสอบ | ระยะเวลา |
cu tep listening | 30 ข้อ | 09.00–09.30 น. | 30 นาที |
cu tep reading | 60 ข้อ | 09.40–10.50 น. | 70 นาที |
cu tep writing | 30 ข้อ | 11.00–11.30 น. | 30 นาที |
สำหรับใครที่ยังไม่เคยสอบ CU-TEP มาก่อน แนะนำว่าวันสอบจะต้องรีบไปถึงสนามสอบก่อนเวลานะคะ เพราะถึงเราจะเริ่มทำข้อสอบ 09.00 น. ก็จริง แต่ประตูห้องสอบจะปิดตั้งแต่เวลา 08.40 ค่ะ
ค่าสอบ CU-TEP
ค่าสอบแบบธรรมดา 900 บาท
ค่าสอบ CU-TEP Speaking 2,900 บาท
ค่าสอบแบบ E-Testing 2,500 บาท
ค่าสอบแบบ E-Testing และ Speaking 4,000 บาท
เรียนติว CU-TEP สอนสด รับรองผล
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
CECB11124 | 2 พ.ย. - 24 พ.ย. | ส-อา | 10:00-16:00 | [เต็มแล้ว] |
0 | โจ้,ทราย |
CECA11124 | 4 พ.ย. - 28 พ.ย. | จ-พฤ | 18:00-20:30 | [เต็มแล้ว] |
0 | โจ้,ทราย |
CECB21124 | 9 พ.ย. - 1 ธ.ค. | ส-อา | 10:00-16:00 | [เต็มแล้ว] |
0 | โจ้,ทราย |
CECA21124 | 11 พ.ย. - 5 ธ.ค. | จ-พฤ | 18:00-20:30 | [เต็มแล้ว] |
0 | โย,ทราย |
CECB31124 | 16 พ.ย. - 8 ธ.ค. | ส-อา | 10:00-16:00 | [เต็มแล้ว] |
0 | โย,ทราย |
CECA31124 | 18 พ.ย. - 12 ธ.ค. | จ-พฤ | 18:00-20:30 | [เต็มแล้ว] |
0 | โย,ทราย |
CECB41124 | 23 พ.ย. - 15 ธ.ค. | ส-อา | 10:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
1 | โย,ทราย |
CECA41124 | 25 พ.ย. - 19 ธ.ค. | จ-พฤ | 18:00-20:30 | จองที่นั่ง
|
1 | โย,ทราย |
CECB51124 | 30 พ.ย. - 22 ธ.ค. | ส-อา | 10:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
1 | โย,ทราย |
Review คอร์สเรียน CU-TEP
ตารางสอบ CU-TEP 2567
Test Dates | เวลา | ช่วงเวลารับสมัคร |
13 ม.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 29 ธ.ค. 2566 – 7 ม.ค. 2567 |
17 ก.พ. 2567 | 8:30 – 11:30 | 2-11 ก.พ. 2567 |
9 มี.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 23 ก.พ. – 3 มี.ค. 2567 |
6 เม.ย. 2567 | 8:30 – 11:30 | 22 – 31 มี.ค. 2567 |
11 พ.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 26 เม.ย. – 5 พ.ค. 2567 |
8 มิ.ย. 2567 | 8:30 – 11:30 | 24 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2567 |
13 ก.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 28 มิ.ย. – 7 ก.ค. 2567 |
17 ส.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 2-11 ส.ค. 2567 |
14 ก.ย. 2567 | 8:30 – 11:30 | 30 ส.ค. – 8 ก.ย. 2567 |
28 ก.ย. 2567 | 8:30 – 11:30 | 13-22 ก.ย. 2567 |
12 ต.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 27 ก.ย. – 6 ต.ค. 2567 |
26 ต.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 11-20 ต.ค. 2567 |
9 พ.ย. 2567 | 8:30 – 11:30 | 25 ต.ค. – 3 พ.ย. 2567 |
14 ธ.ค. 2567 | 8:30 – 11:30 | 29 พ.ย. – 8 ธ.ค. 2567 |