สอบเทียบ คืออะไร
สอบเทียบ คือ การสอบในหลักสูตรการเรียนอื่น ๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกันกับระบบการศึกษาหลัก เช่น สอบเทียบ ม.6 ด้วยหลักสูตรอื่น ๆ แล้วได้วุฒิเทียบเท่า ม.6 มา เป็นต้น โดยการสอบเทียบนั้นส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเห็นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นส่วนใหญ่ บางคนเรียกสอบเทียบ ม.6 บ้างก็อาจจะเรียกว่า สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลักสูตรสำหรับการสอบเทียบให้เลือกทั้งภาคไทยปกติและแบบนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), General Educational Development (GED), IGCSE & A Level หรืออาจจะเป็นระบบ Home School อื่น ๆ
สอบเทียบ ม.6 สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัย ด้วยหลักสูตร GED
อย่างที่เราได้รู้กันไปแล้วว่า GED หรือ General Educational Development คือหลักสูตรการศึกษาของอเมริกาที่ใช้สำหรับการสอบเทียบ ม.6 ซึ่งเป็นการสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดยหลังจากสอบ GED ผ่านแล้ว เราจะได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิการศึกษาที่เทียบเท่า ม.6 มาค่ะ ซึ่งวุฒินี้ สามารนำไปใช้สมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้หลากหลาย ทั้งมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน ยื่นได้ทั้งในและต่างประเทศ
สอบเทียบ ม.6 สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัย ด้วยหลักสูตร GED จะต้องสอบทั้งหมด 4 รายวิชา ได้แก่
- Mathematical Reasoning
- Reasoning Through Language Arts
- Social Studies
- Science
โดยข้อสอบทุกวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเลือกตอบ เติมคำ มีการเขียนตอบบ้างในบางรายวิชา คะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน กำหนดเกณฑ์การผ่านที่วิชาละ 145 คะแนน เรียกได้ว่าเกณฑ์การผ่านนั้นก็ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเสียทีเดียว โดยเมื่อสอบ GED ครบถ้วนแล้ว สิ่งที่เราจะได้มาคือ ประกาศนียบัตรการจบหลักสูตร หรือที่เรียกว่า Diploma ซึ่งก็คือวุฒินั่นเอง และนอกจากนี้จะได้รับใบรายงานผลคะแนนสอบ (Transcript) ของแต่ละวิชาอีกด้วย ซึ่งจะต้องนำไปใช้ยื่นสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
การสอบเทียบ GED มีจัดสอบทุกวัน ในแต่ละวันมีหลายช่วงเวลาให้เลือกสอบ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ $75 ต่อรายวิชา ใครที่พื้นฐานไม่ดี ไม่มั่นใจในการสอบ แอบมีข่าวดีมาบอกว่า หากเราสอบ GED ไม่ผ่านในรายวิชาใด เราสามารถสอบใหม่ได้โดยไม่ต้องรอระยะเวลา ซึ่งกำหนดโควตาการสอบใหม่แบบนี้ ให้สูงสุดถึงวิชาละ 3 ครั้ง แต่ถ้าครบโควตานี้แล้ว แต่ยังคงสอบไม่ผ่านและและอยากสมัครสอบใหม่ น้อง ๆ อาจจะต้องรอประมาณ 60 วัน ถึงจะสมัครสอบได้อีกครั้งค่ะ สำหรับการสมัครสอบนั้น สามารถสมัครในระบบออนไลน์ได้เลยที่เว็บไซต์ของ GED โดยตรง นอกจากนี้เรายังสามารถเลือกสนามสอบได้ด้วย เพราะการสอบเทียบ GED มีสนามสอบทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ภูเก็ต หรือที่แม่สอด จ.ตาก ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ged.com
คอร์สเรียน GED เตรียมตัวสอบเทียบแบบอินเตอร์ จบ ม.ปลายได้ใน 1 เดือน
คอร์สเรียนสดออนไลน์ผ่าน Zoom อยู่ที่ไหน ก็เรียน จบ ม.ปลาย ได้
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
G161224 | 16 ธ.ค. - 24 ม.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | [เต็มแล้ว] |
0 | เปิ้ล |
G060125 | 6 ม.ค. - 28 มี.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
2 | เปิ้ล |
G200125 | 20 ม.ค. - 11 เม.ย. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
2 | เปิ้ล |
G030225 | 3 ก.พ. - 25 เม.ย. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
G170225 | 17 ก.พ. - 9 พ.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
G030325 | 3 มี.ค. - 23 พ.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
G170325 | 17 มี.ค. - 6 มิ.ย. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
จะดีแค่ไหน หากมีหลักสูตรสอบเทียบที่จะทำให้เราได้รับวุฒิเทียบเท่า ม. ปลายได้รวดเร็วภายใน 1 เดือน ให้น้อง ๆ มีเวลาเหลือสำหรับการเตรียมตัวเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้มากยิ่งขึ้น หากใครกำลังมองหาไลฟ์สไตล์การเรียนแบบนี้อยู่ล่ะก็ ต้องไม่พลาดการสอบ GED เลยค่ะ เพราะนอกจากจะมีตารางสอบที่เปิดให้สอบบ่อยมากๆแล้ว รายวิชาที่ต้องสอบก็มีไม่เยอะอีกด้วยค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า ข้อสอบ GED นั้นจะออกเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดทุกวิชา จึงทำให้น้อง ๆ ที่อยากสอบเทียบด้วย GED มีความกังวลใจอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานภาษาอังกฤษ Grammar คำศัพท์ที่ไม่ค่อยถนัด หรือแม้แต่พื้นฐานของเนื้อหาในแต่ละรายวิชาก็ตาม จนทำให้กล้า ๆ กลัว ๆ หรือยังลังเลกับการเลือกสอบ GED อย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ด้วยคอร์สเรียน GED ที่จุฬาติวเตอร์ได้ออกแบบมาอย่างดี ให้น้อง ๆ ที่แม้จะไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนในคอร์สนี้ได้
คอร์สเรียน GED ของจุฬาติวเตอร์ เน้นสอนครอบคลุมทุกรายวิชา ไม่ว่าจะเป็น Mathematical Reasoning, Reasoning Through Language Arts, Social Studies และ Science ซึ่งนอกจากแนวข้อสอบที่มีครบทุกรายวิชาแล้ว ยังมีการสอนพื้นฐานของแต่ละวิชาด้วย ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าน้อง ๆ จะไม่ถนัดภาษาอังกฤษ Grammar ไม่แม่น คำศัพท์ไม่เยอะ หรือไม่ค่อยมั่นใจเกี่ยวกับพื้นฐานวิชาอื่น ๆ การเรียนคอร์สนี้ก็จะทำให้เราเก่งขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถจนอยู่ในระดับที่พร้อมลงสนามสอบจริงได้อย่างแน่นอน
สอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง
สำหรับใครที่จบ ม.6 ด้วยการสอบเทียบ GED มา สามารถยื่นสมัครเรียนได้หลากหลายคณะ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นคณะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา และอื่น ๆ อาจมีเพียงหลักสูตรที่เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์เท่านั้น ที่อาจจะมีหลายๆมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ไม่รองรับ แต่อาจจะยื่นในต่างประเทศ บางประเทศได้ เช่น โปแลนด์ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยของภาครัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนก็อาจจะมีเงื่อนไขการรับสมัครที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่า นอกจากวุฒิ GED ที่เรามี ทางคณะต้องการคะแนนอะไรอีกหรือไม่ เช่น ต้องการคะแนน SAT คะแนน IELTS เพิ่ม หรือสามารถใช้วุฒิ GED เพียงอย่างเดียว แล้วสมัครได้เลย เป็นต้น
สอบเทียบ IGCSE & A Level อีกหนึ่งระบบที่จะช่วยให้ได้วุฒิเทียบเท่า ม.6
สอบเทียบ IGCSE & A Level คือ การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบอังกฤษ ซึ่งหาก IGCSE เทียบเท่ากับระบบการศึกษาของประเทศไทยจะเทียบเท่าได้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนั้น เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเทียบเท่าในระดับม.ปลาย น้อง ๆ จะต้องสอบ A Level ให้ผ่านด้วย โดยน้อง ๆ ที่เลือกเรียนหลักสูตร IGCSE จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 รายวิชา จุดเด่นที่น่าสนใจ ของการสอบเทียบด้วยระบบนี้คือ เราสามารถเลือกวิชาการเรียนและสอบได้ตามความสนใจของเราได้ เช่น สนใจด้านธุรกิจ ก็สามารถเลือกวิชา Business ได้ สนใจทางด้านวรรณกรรม ก็สามารถเลือกวิชา Literature ได้ และที่สำคัญเลยคือ การสอบเทียบ ม.6 ด้วย IGCSE & A Level สามารถใช้สมัครเรียนคณะทางด้านแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ได้ บอกได้เลยว่าดีสุด ๆ แต่ทั้งนี้จะมีเพียงแค่ 2 วิชาเท่านั้นที่การสอบเทียบ IGCSE ขอบังคับให้ทุกคนสอบ นั่นคือ Math และ ESL (English as a second language) เพราะถือว่าเป็นวิชาหลักที่สำคัญ นอกนั้นเราสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ โดย IGCSE นั้นมีรายวิชาให้เราเลือกเรียนมากกว่า 70 รายวิชา เยอะมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ เลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว
IGCSE จะมีการจัดสอบอยู่ 2 ครั้ง/ปี ได้แก่ ช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย. และช่วงเดือนต.ค. – พ.ย. ของทุกปี ซึ่งอาจจะไม่ได้มีสอบบ่อยเท่า GED แต่หากเราฟิตเต็มที่จนสามารถสอบให้ผ่านทั้ง 5 วิชาได้ภายในการสอบช่วงเดียวเลยก็ยังประหยัดเวลามากกว่าการเรียนในระบบการศึกษาปกติอยู่เยอะทีเดียวค่ะ ส่วนการให้คะแนนสอบของแต่ละวิชานั้น จะมีตั้งแต่ระดับ A* ลงไปจนถึงเกรด G โดยเกรดที่ถือว่าสอบผ่าน จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า C แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีบางคณะหรือบางมหาวิทยาลัยที่อาจจะต้องการเกรดที่สูงกว่านี้ก็ได้ เช่น ขอขั้นต่ำ B+ หรือ A ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดคุณสมบัติของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย
ข้อสอบของการสอบเทียบ IGCSE จะเป็นแบบเขียนตอบ หรืออาจจะมีสอบปฏิบัติด้วยแล้วแต่รายวิชา และแน่นอนว่าข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด นอกจากนี้ยังแบ่งระดับของข้อสอบออกเป็น 2 แบบตามความยากง่ายด้วย ได้แก่
- ระดับ Core ที่จะได้เกรดสูงสุดคือ C
- ระดับ Extended ที่จะได้เกรดสูงสุดคือ A*
เรียกง่าย ๆ ว่า การสอบแบบ Core จะง่ายกว่าการสอบแบบ Extended นั่นเอง ซึ่งหากถามว่าเราจะทราบผลสอบได้เมื่อไหร่ ก็ต้องบอกเลยว่า โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน โดยเมื่อสอบผ่าน IGCSE แล้ว ก็จะเป็นการมุ่งหน้าสู่การเรียนและสอบ A Level เพื่อให้ได้มาซึ่งวุฒิเทียบเท่าม.ปลายอย่างสมบูรณ์ ซึ่งระบบการเรียนการสอบก็จะคล้าย ๆ กับ IGCSE แต่ลักษณะการเรียนจะเน้นการเรียนเชิงลึกมากขึ้นในรายวิชาที่เราเลือกมา ซึ่งจำนวนที่ต้องสอบให้ผ่านสำหรับ A Level ได้กำหนดไว้คืออย่างน้อย 3 รายวิชาค่ะ
สอบเทียบม.6 ด้วยหลักสูตรไหนดี
เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคน ต้องกำลังลังเลอยู่แน่นอนว่า เราจะสอบเทียบ ม.6 ด้วยระบบไหนดี วันนี้เรานำข้อมูลของ GED และ IGCSE & A Level มาสรุปให้น้อง ๆ ดู เพื่อให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้น ดังนี้
รายละเอียด | GED | IGCSE & A Level |
ระดับของวุฒิเทียบเท่า | – มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) | – มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) |
หน่วยงานการจัดสอบ/ออกวุฒิการศึกษา | GED® Testing Service
ประเทศสหรัฐอเมริกา |
Cambridge Assessment International Education สหราชอาณาจักร |
รายวิชาในหลักสูตร | – Reasoning Through Language Arts
– Science – Social Studies – Mathematical Reasoning |
มีหลายวิชาให้เลือกกว่า 70 รายวิชา โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิชา
– Creative and professional – English language and literature – Humanities and social sciences – Languages – Mathematics – Sciences |
เกณฑ์การสอบผ่าน | แต่ละวิชา ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน | – IGCSE อย่างน้อย 5 รายวิชา โดยแต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ำกว่า C
– A Level อย่างน้อย 3 วิชา โดยแต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ำกว่า C |
ความถี่ในการจัดสอบ | มีเปิดสอบทุกวัน
มีหลายเวลาให้เลือกสอบ |
เปิดสอบปีละ 2 ครั้ง
– ช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย. – เดือนต.ค. – พ.ย. |
ระยะเวลาผลสอบออก | รู้ผลสอบทันทีหลังสอบเสร็จ | รอผลสอบประมาณ 2-3 เดือน |
ค่าธรรมเนียมการสอบ | $75 | 6,000 – 9,000 บาทต่อวิชา
แต่ละวิชามีอัตราค่าสอบไม่เท่ากัน |
ศูนย์สอบ/สถานที่สอบ | – Pearson Professional Centers กรุงเทพมหานคร
– Paradigm Language Institute กรุงเทพมหานคร – Assumption University จ. สมุทรปราการ – Thabyay Education Foundation อ. แม่สอด จ. แม่ฮ่องสอน – Movaci จ. เชียงใหม่ |
– British Council
– Harrow International School
|
สอบเทียบหมอ ต้องสอบแบบไหน
จริง ๆ แล้ว การสอบเทียบหมอ จะหมายความถึงการสอบเทียบ แล้วสามารถเรียนต่อหมอได้ ดังนั้น การสอบเทียบที่จะทำให้เรามีทางเลือกในการเรียนต่อแพทย์ได้มากที่สุด คือ IGCSE & A Level ค่ะ โดยสามารถยื่นได้ทั้งในไทยและต่างประเทศ เนื่องจากโครงสร้างรายวิชานั้นเจาะลึกกว่า GED โดยเฉพาะในรายวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ ที่จะแบ่งการสอบไปเลยว่าเป็นฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แต่สำหรับ GED นั้นจะออกแบบมาเป็น Science แบบภาพรวมมากกว่านั่นเอง
แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจจะมีหลายคนสงสัยว่า ถ้าสอบ GED แล้ว จะยื่นหมอที่ไหนได้บ้าง จริง ๆ แล้ว ในไทยเองบางมหาวิทยาลัย และบางปี ก็อาจจะมีเปิดรับบ้าง แต่ก็น้อยมาก ๆ สำหรับใครที่สนใจเรียนต่อแพทย์ด้วยวุฒิ GED จริง ๆ จะมีของต่างประเทศที่รองรับอยู่ นั่นคือ โปแลนด์นั่นเองค่ะ ซึ่งการเรียนต่อที่โปแลนด์มีข้อดีหลายด้าน ค่าครองชีพไม่แพงมาก และที่สำคัญคือ หลักสูตรแพทย์ของที่นี่ผ่านการรับรองแพทยสภาไทยเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น น้อง ๆที่จบมา สามารถกลับมาสอบใบประกอบวิชาชีพและประกอบอาชีพที่ไทยได้ค่ะ
อยากสอบเทียบ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การสอบเทียบ ม.6 นั้น เปรียบเสมือการเรียนหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งที่ต้องมีการสอบหลากหลายรายวิชา และมีเกณฑ์คะแนนกำหนดด้วยว่าควรจะต้องได้คะแนนเท่าใดจึงจะถือว่าสอบผ่าน และไม่เพียงเท่านี้ เพราะหลายๆคณะ หลายๆ มหาวิทยาลัย ก็ไม่ได้ต้องการแค่คะแนนผ่านเท่านั้น แต่กลับกำหนดคะแนนในการยื่นสูงขึ้นไปอีก ดังนั้น น้อง ๆ คนไหนที่กำลังจะสอบเทียบ เราจะต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบเป็นอย่างดี เพราะหากเราจะเข้าคณะหรือมหาวิทยาลัยที่การแข่งขันสูง เป้าหมายของเราจะไม่ใช่แค่สอบผ่านอีกต่อไป แต่ในทางกลับกัน เราจะต้องสอบให้ได้คะแนนที่สามารถใช้ยื่นสมัครกับคณะในฝันของเราได้ด้วยนั่นเอง
สำหรับใครที่พื้นฐานอ่อน โดยเฉพาะพื้นฐานภาษาอังกฤษ รวมไปถึงวิชาที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน หากเรายังไม่เคยมีประสบการณ์สอบหรือการเตรียมตัวมาก่อน แนะนำให้มีตัวช่วยเพื่อให้เราพร้อมสอบได้เร็วมากขึ้น และเป็นการเพิ่มความมั่นใจอีกระดับว่า สิ่งที่เราเตรียมไว้สำหรับการสอบนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่ ที่จุฬาติวเตอร์ เรามีคอร์สเรียนครบถ้วนทั้ง GED และ IGCSE & A Level โดยการเรียนการสอนของเรานั้น สามารถสอนได้ทั้งเนื้อหาพื้นฐานและการตะลุยแนวข้อสอบในระดับความยากใกล้เคียงของจริง ไม่ว่าน้อง ๆ จะมีพื้นฐานในระดับใด ก็สามารถติวให้ได้ครบและพร้อมสอบได้ไม่ยาก
FAQ
คอร์สเรียน สอบเทียบ รับรองผล จนกว่าจะผ่าน
สามารถกลับมาเรียนซ้ำใหม่ได้ Free จนกว่าจะสอบผ่าน !!Special พร้อม Update ข้อสอบรอบล่าสุด
การสอบเทียบ สอบได้ตอนอายุกี่ปี
การสอบเทียบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หากเป็นการสอบเทียบด้วย GED จะสอบได้เมื่ออายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ส่วนหากเลือกสอบเทียบด้วย IGCSE & A-Level จะเริ่มสอบได้ตั้งแต่อายุประมาณ 14 ปี ขึ้นไป
การสอบเทียบม.ปลาย สามารถใช้วุฒิเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ตามปกติหรือไม่
น้อง ๆ คนไหนที่จบด้วยวุฒิเทียบเท่าจากการสอบเทียบมา ไม่ว่าจะเป็น GED, IGCSE & A Level ก็สามารถใช้สมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ตามปกติ โดยน้อง ๆ อาจจะต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมค่ะว่า แต่ละคณะหรือแต่ละมหาวิทยาลัยที่เราสนใจนั้น มีเงื่อนไขในการรับวุฒิเทียบเท่าอย่างไรบ้าง ต้องใช้กี่คะแนน หรือต้องมีการสอบข้อสอบอื่นๆด้วยหรือไม่
ควรเลือกสอบเทียบด้วย GED หรือ IGCSE & A Level ดี
หลักสูตรการสอบเทียบ 2 วิชานี้เป็นหลักสูตรของต่างประเทศทั้งคู่ ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่การสอบ GED จะมีรูปแบบข้อสอบที่ซับซ้อนน้อยกว่า จำนวนรายวิชาที่ต้องสอบน้อยกว่า ในขณะที่การสอบ IGCSE & A Level นั้นจะมีความเข้มข้นมากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเรียนและสอบในรายวิชาที่สนใจได้ด้วย ดังนั้น น้องๆ สามารถเลือกหลักสูตรที่เหมาะกับเรา และเหมาะกับคณะที่เราจะเรียนต่อในอนาคตได้เลย