คำกริยาในภาษาอังกฤษ (Verbs) คือ คำที่ใช้แสดงการกระทำของประธาน โดยเมื่อใช้กับประธานเอกพจน์ (ยกเว้น I, You) จะต้องเติม s/es และเมื่อต้องการพูดว่ากำลังทำการกระทำนั้น ๆ ใน Present Continuous Tense คำกริยาก็จะเติม –ing โดยการเติม s/es รวมถึง –ing มีดังนี้
หลักการเติม s/es ที่คำกริยา
1. คำกริยาปกติทั่วไป สามารถเติม s ได้เลย เช่น
work → works
come → comes
live → lives
drink → drinks
eat → eats
run → runs
write → writes
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย o, s, ch, x, z ให้เติม es เช่น
do → does
go → goes
kiss → kisses
pass → passes
catch → catches
teach → teaches
fix → fixes
buzz → buzzes
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y จะมี 2 กรณี คือ
3.1 กรณีที่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
cry → cries
dry → dries
fly → flies
study → studies
try → tries
3.2 กรณีที่หน้า y เป็นสระ a, e, i, o, u ให้เติม s ได้เลย เช่น
play → plays
buy → buys
joy → joys
pay → pays
ข้อสังเกตุ ข้อแตกต่างระหว่างคำนามกับกริยา คือ คำนาม จะเติม s, es ก็ต่อเมื่อ คำนามนั้นเป็นพหูจน์ แต่สำหรับคำกริยา เราจะเติม s, es ก็ต่อเมื่อ ประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ เช่น he, she, it
หลักการเติม –ing ที่คำกริยา
1. คำกริยาทั่วไปเติม –ing ได้เลย เช่น
send → sending
buy → buying
cry → crying
eat → eating
go → going
wait → waiting
2. คำกริยาที่มีตัวสระตัวเดียว และตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วเติม –ing เช่น
get → getting
sit → sitting
stop → stopping
swim → swimming
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ทิ้ง แล้วเติม –ing เช่น
give → giving
come → coming
drive → driving
move → moving
smoke → smoking
write → writing
4. คำกริยที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม –ing เช่น
die → dying
lie → lying
5. คำกริยา 2 พยางค์ มี 2 กรณี คือ
5.1 ถ้าเน้นเสียงหนักที่พยางค์หลังให้เพิ่มตัวสะกดอีกหนึ่งตัว แล้วเติม –ing เช่น
admit → admitting
defer → deferring
3.2 ถ้าเน้นเสียงหนักที่พยางค์หน้า ให้เติม –ing ได้เลย เช่น
suffer → suffering
offer → offering
edit → editing