ระบบต่อมไร้ท่อ กระบวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ

Reading Time: 2 minutes

ระบบต่อมไร้ท่อ หรือ endocrine system ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system

ระบบต่อมไร้ท่อ มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ การขนส่งสารเข้าออกภายในเซลล์ อันมีผลต่อการเจริญเติบโต การใช้พลังงานการสืบพันธุ์ ตลอดจนการตอบสนองทางด้านอารมณ์อีกด้วย

 

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทํางานระบบต่อมไร้ท่อ

1. ต่อมพาราไทรอยด์ มีลักษณะเป็นก้อนกลมเล็ก ฝังอยู่ด้านหลังของเนื้อเยื่อไทรอยด์ในคนมีทั้งพมด 4 ต่อม ข้างละ 2 ต่อม เป็นต่อมขนาดเล็ก ฮอร์โมนสำคัญที่สร้างจากต่อมนี้ คือ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาทของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา

2. ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นก้อนสีเหลือง ๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม ต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อ 2 ต่อม คือ

  • ต่อมหมวกไตส่วนนอก ฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ จากส่วนนี้คือ
    • Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส
    • Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ซึ่งฮอร์โมนสำคัญในกลุ่มนี้คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการด๔ดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต
    • Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
  • ต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla) สร้างฮอร์โมนอีพิเนฟฟริน (Epinephrine) และนอร์อีพิเนฟฟริน (Norepinephrine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน มีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลและกรดไขมันในเลือด เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม เพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มการบีบตัวของเส้นเลือด

3. ตับอ่อน ลักษณะจะเป็นต่อมขนาดใหญ่ อยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหารและใกล้กับลำไส้เล็กส่วนต้น (ส่วนดูโอดินัม) ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้

  • อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่านเข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
  • กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

4. ต่อมใต้สมอง เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดเล็กอยู่ใต้สมอง เป็นต่อมที่มีความสำคัญมากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ
    • Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
    • Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
    • Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
    • Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
    • Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เชลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น

5. ต่อทไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่กว่าต่อมไร้ท่ออื่นๆ มี 2 ข้าง อยู่บริเวณลูกกระเดือกข้างละต่อม ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการสร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกชินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

  1. ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
  2. ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  3. ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย

6. ต่อมเพศ ได้แก่ อัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่าง คือ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และสร้างฮอร์โมน โดยฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ส่วนฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

7. ต่อมไพเนียลหรือต่อมเหนือสมอง (Pineal gland) เป็นต่อมเล็ก ๆ ช่วยสร้างฮอร์โมนเมลาโตนิน ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศในช่วงระยะก่อนหนุ่มสาว แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาจมีผลต่อการตกไข่และประจำเดือนในเพศหญิง หากต่อมไพเนียลผลิตฮอร์โมนมากเกินไป จะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ แต่หากต่อมนี้ถูกทำลาย เช่น เกิดเนื้องอกในสมอง จะทำให้เป็นหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ เป็นต้น

8. ต่อมไทมัส (Thymus gland) อยู่บริเวณด้านหน้าทรวงอก มีขนาดเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ โดยถ้าเป้นเด็กระยะในครรภ์มารด าต่อมนี้จะโตมาก และจะมีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่ออายุ 6 ปี จากนั้นจะเจริญช้า ๆ และค่อย ๆ หายไป ซึ่งเชื่อว่าต่อมนี้ตามารถสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายได้

 

กระบวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ

การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน (Control of Hormone Secretion) จากต่อมไร้ท่อส่วนใหญ่เป็นกลไกแบบตอบสนองกลับ (Feedback mechanism) ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางบวก (กระตุ้น) เรียกว่า Positive feedback หรืออาจจะเป็นไปในทางลบ (ยับยั้ง) เรียกว่า Negative feedback แบ่งเป็น 3 แบบ

  1. ฮอร์โมนควบคุมการหลั่งของโทรฟิกฮอร์โมน
  2. การเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายควบคุมการหลั่งฮอร์โมน
  3. สารเคมี ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน

ฮอร์โมนควบคุมการหลั่งของโทรฟิกฮอร์โมน (Hormonal control of tropic hormone secretion) ลักษณะการหลั่ง tropic hormones มีต่อมไร้ท่อเป็นอวัยวะเป้าหมายซึ่งจะสร้างฮอร์โมนกลับไปควบคุมการหลั่งของ tropic hormones

ในเพศหญิง ฮอร์โมน FSH, LH เป็น tropic hormones การหลั่งของฮอร์โมนในกลุ่มนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน estrogen และ progesterone ที่สร้างมาจากรังไข่

ในเพศชายฮอร์โมน FSH, LH (ICSH) เป็น gonadotropic hormones หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า การหลั่งของฮอร์โมนกลุ่มนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน testosterone ที่สร้างมาจาก Leydig cells ที่อยู่ในลูกอัณฑะ การทำงานของ testosterone จะเป็นแบบ feedback mechanism เพื่อควบคุมการสร้างอสุจิและสร้างฮอร์โมน FSH, LH

 

ต่อมไร้ท่อมีกี่ประเภท

ต่อมไร้ท่อสามารถจำแนกตามความสำคัญของฮอร์โมนที่ต่อมสร้างได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อชีวิต (essential endocrine gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ถ้าร่างกายขาดหรือต่อมถูกทำลายอาจจะทำให้ตายได้ ได้แก่ ต่อมพาราไทรอย ต่อมหมวกไตชั้นนอก ไอส์เลตของตับอ่อน

2.ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต (non-essential endocrine gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายหรือต่อมไร้ท่ออื่นๆ น้อย ถ้าร่างกายขาดจะไม่ถึงตายแต่จะแสดงลักษณะผิดปกติบางประการ ได้แก่ ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไตชั้นนอก ต่อมไพเนียล ต่อมไทมัส อินเตอร์สติเชียลเซลล์ ฟอลลิเคิล คอร์พัสลูเทียม

 

ตัวอย่างข้อสอบเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ

1. ถ้าร่างกายขาดโกรทฮอร์โมนในขณะที่เป็นเด็ก ทำให้ร่างกายผิดปกติส่งผลต่อการเกิดโรคใด

ก. cretinism
ข. dwarfism
ค. giganism
ง. acromegaly

2. ข้อใดเป็นผลของฮอร์โมนเมลาโทนิน

ก. ทำให้การย่อยอาหารดียิ่งขึ้นและย่อยสารต่างๆได้สมบูรณ์
ข. ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดถูกกระตุ้นหัวใจทำงานเพิ่มมากขึ้น
ค. ทำให้การหายใจถี่ขึ้นร่างกายมีการเตรียมพร้อม
ง. ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง

3. เนื้อเยื่อในต่อมใดที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับต่อมใต้สมองและต่อมไทรอยด์

ก. ต่อมน้ำตา
ข. ต่อมน้ำลาย
ค. ต่อมน้ำเหลือง
ง. เนื้อเยื่อบางส่วนของตับอ่อน

4. ในขณะที่ไฟไหม้สามารถแบกของหนักๆ ได้แต่ในภาวะปกติไม่สามารถทำได้เกิดจากสาเหตุในข้อใด

ก. เมทาบอลิซึมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก adrenal medulla หลั่ง noradrenalin
ข. เมทาบอลิซึมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก adrenal medulla หลั่ง adrenalin
ค. Islets of Langerhan หลั่ง insulin จากเบตาเซลล์
ง. Islets of Langerhan หลั่ง insulin จากอัลฟาเชลล์

5. ฮอร์โมนที่มีผลต่อการพัฒนาของร่างกายและพัฒนาการของสมอง คือข้อใด

ก. secretin
ข. adrenalin
ค. thyroxin
ง. glucagon

Related Posts