รู้จักมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แม้จะมีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่รับนักศึกษาอย่างไม่จำกัดจำนวน ที่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในยุคเริ่มแรกก่อนที่ต่อมาจะได้เปลี่ยนมาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิด (จำกัดการรับนักศึกษา) แต่อย่างที่เราทราบกันดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่นที่ไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยแห่งอื่น นั่นก็คือรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียนตามปรกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไปนั่นเองค่ะ
ที่นี่ใช้ระบบการสอนแบบทางไกลโดยจัดการเรียนการสอน ที่เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสาร และสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะกับนักศึกษาที่มีความจำเป็น ผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนได้ อาทิ นักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัดห่างไกล ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงนักศึกษาที่ต้องทำงานระหว่างเรียนไปด้วย
ทั้งนี้ สาเหตุหลัก ที่ลักษณะการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีรูปแบบพิเศษอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ล้วนเนื่องมาจากปณิธานเริ่มแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้นั่นเองค่ะ
กล่าวคือในยุคแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุดโดยเปิดโอกาสให้กับทุกคนที่อยากศึกษา ไม่มีการแบ่งชั้นฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจ โดยในยุคแรก ๆ มีมหาวิทยาลัยเปิดจำนวนสองแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
อย่างไรก็ดี ในภายหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ได้เปลี่ยนจากระบบเปิดอย่างตลาดวิชา เป็นมหาวิทยาลัยปิด ที่จำกัดจำนวนของนักศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น แม้จะยังคงระบบเป็นมหาวิทยาลัยเปิด แต่ทว่ายังคงเน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน จึงต้องใช้ทุนทรัพย์จากรัฐค่อนข้างมากในการสนับสนุนโดยเฉพาะเรื่องการขยับขยายตัวอาคารเรียน การดำเนินการตามปณิธานให้สามารถขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงตามที่ตั้งใจไว้ จึงมีข้อจำกัดอยู่มาก
ดังนั้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงถูกจัดตั้งขึ้น และใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบทางไกล อันเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา และเป็นการดำเนินการที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดนั่นเองค่ะ
จุดเด่นของการเรียนปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำหรับปัจจุบัน ป.โท สุโขทัยธรรมาธิราช มีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโท หรือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้ผู้สนใจได้เลือกลงเรียน โดยมีหลักสูตรสำหรับให้เลือกลงเรียนมากถึง 12 สาขา
ทั้งนี้ การศึกษาระดับ สุโขทัยธรรมาธิราช ป.โท ก็ยังคงยึดหลักการการศึกษาทางไกลเช่นเดียวกับระดับปริญญาตรี ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้บริการ และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ
แม้ว่าจะเป็นการเรียนทางไกล แต่ในทุก ๆ หลักสูตรของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโท นักศึกษาล้วนต้องอยู่ภายใต้การให้คำปรึกษาแนะนำอย่างมีระบบของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และยังต้องเข้าสัมมนาตามกำหนดเพื่อพบปะเพื่อนร่วมชั้น และอาจารย์
ระบบการเรียนการสอน ที่เป็นการจัดผสมผสานร่วมกันระหว่างการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ ได้แก่ การเข้ารับการปฐมนิเทศเชิงปฏิบัติการ การเข้ารับการสัมมนาเสริม
ทั้งนี้สถานที่จัดกิจกรรมสัมมนาข้างต้นจะจัดที่ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. ที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ หรือ ศูนย์บริการบัณฑิตศึกษา ที่ตั้งอยู่ตามโรงเรียนประจำจังหวัดต่าง ๆ และจัดที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในส่วนกลาง
มีการจัดการสอบไล่ ประจำภาค ณ สนามสอบทั่วประเทศ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 80 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาทั่วประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถเลือกสอบจาก ต่างประเทศได้อีกด้วยค่ะ โดยนักศึกษา สุโขทัยธรรมาธิราช ป.โท สามารถทำหนังสือขอให้จัดสอบไล่ที่ต่างประเทศได้ โดยดำเนินการล่วงหน้า ก่อนกำหนดวันสอบ ไม่น้อยกว่า 45 วัน มหาวิทยาลัยจะจัดสอบให้ที่ สถานทูตไทย หรือ สถานกงศุลไทย ประจำประเทศที่นักศึกษาร้องขอ ค่าธรรมเนียมการจัดสอบต่างประเทศ
หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาโท มสธ. ได้ผ่านความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงาน กพ. รับรองวุฒิการศึกษาทุกหลักสูตรเรียบร้อยแล้วก่อนดำเนินการเปิดรับสมัครเข้าศึกษา ดังนั้นจึงเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่า ระบบและรูปแบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในระบบปิดโดยทั่วไป
มีรูปแผนการเรียนให้เลือก 2 รูปแบบ ตามความถนัดได้แก่
โครงสร้างหลักสูตร ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แผน ก (เลือกทำวิทยานิพนธ์):
เป็นหลักสูตรการทำวิทยานิพนธ์ โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเต็มรูป ซึ่งผู้เข้าเรียนจะต้องส่งวิทยานิพนธ์ จึงถือว่าสอบผ่านค่ะ เป็นหลักสูตรเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลการวิจัย ที่ได้จากการทำวิทยานิพนธ์นั้น ไปใช้ในหน้าที่การงาน และถือเป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อในระดับสูงหรือปริญญาเอกในอนาคต
โครงสร้างหลักสูตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโท แผน ข (เลือกค้นคว้าอิสระ):
เป็นหลักสูตร ป.โท สุโขทัยธรรมาธิราช ที่นักศึกษาไม่ต้องจัดทำวิทยานิพนธ์ แต่อาจมีต้องศึกษางานวิจัยในขั้นพื้นฐานค่ะ เหมาะที่จะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง ทั้งนี้ ผู้ที่เลือกเรียนแผน ข ทุกคนจะต้องลงทะเบียนสอบประมวลความรู้ ควบคู่ไปกับการทำงานวิจัยเพื่อมีสิทธิสำเร็จการศึกษา
ขั้นตอนการสมัครเรียน ปริญญาโท มสธ.
มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
ช่วงเดือนตุลาคม — มกราคม โดยผู้สนใจสามารถซื้อ ระเบียบการสมัคร ได้ที่
— ศูนย์หนังสือ มสธ.
— สำนักบัณฑิตศึกษา
— ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. ทั่วประเทศ 10 แห่ง
— ศูนย์บริการการศึกษา (โรงเรียนประจำจังหวัด ทุกจังหวัด) หรือ สั่งซื้อทางไปรษณีย์ , Download จาก www.stou.ac.th เลือก บัณฑิตศึกษา
การส่งใบสมัคร สามารถส่งได้ด้วยตนเองที่สำนักบัณฑิตศึกษา (ชำระเป็นเงินสด), ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. ทั่วประเทศ 10 แห่ง และส่งทางไปรษณีย์ (Pay at Post)
การสมัครและเกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาระดับ ป.โท มสธ.
ไม่มีการสอบคัดเลือกและการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งการคัดเลือกนั้นจะพิจารณาจากใบสมัครเป็นหลักค่ะ สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาที่ใช้เป็นวุฒิในการสมัคร ประสบการณ์ในการทำงาน โครงการที่เสนอเพื่อรับการคัดเลือก บางสาขาวิชาได้กำหนดเกณฑ์เพิ่มเติม เช่น ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
คะแนนภาษาอังกฤษ
สำหรับสาขาวิชาที่กำหนดให้ผู้สมัครต้องมีหลักฐานความรู้ภาษา อังกฤษ ผู้สมัครจะต้องส่งหลักฐานมาแสดงด้วย แต่ถ้าไม่มีหลักฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สาขาวิชาจะพิจารณาคัดเลือก แต่คะแนนในส่วนนี้จะถูกตัดไป หากสาขาวิชาไม่ได้กำหนดว่าต้องมีหลักฐานแสดงความรู้ภาษาอังกฤษ ผู้สมัครจะส่งหรือไม่ส่งหลักฐานแสดงความรู้ภาษาอังกฤษประกอบหรือไม่ก็ได้ โดย สามารถใช้ผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันอื่นได้ เช่น
CU-TEP ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RU-TEST ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
TU-GET ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค่าใช้จ่าย ป.โท มสธ.
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 100,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนชุดวิชาที่ลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษานั่นเองค่ะ
ตัวอย่างหลักสูตรระดับ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่น่าสนใจ
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปัจจุบันมีเปิดสอนทั้งสิ้น 12 สาขาวิชาค่ะ ซึ่งแต่ละสาขาวิชาล้วนกำหนดหลักสูตรและแขนงวิชาที่น่าสนใจและน่ามีประโยชน์เอาไว้ อาทิ
ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์: กำหนดคุณสมบัติว่าต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขาวิชา และต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.30 ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยกำหนดว่าการศึกษาระดับปริญญาโทข้างต้น มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษานับแต่วันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน: ประกอบไปด้วย 6 กลุ่มวิชา โดยผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับรอง มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 เป็นครูหรือบุคลากรประจำการทางการศึกษาที่ทำหน้าที่สอน อบรม เผยแพร่ความรู้ แนะแนวหรือให้บริการทางการศึกษา และ มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ป.โท สุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (STOUMBA) :
กำหนดคุณสมบัติว่าต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาใดก็ได้จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 จากระบบ 4 ระดับคะแนน ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถศึกษาเอกสารทางวิชาการได้โดยมีหลักฐานแสดง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ: กำหนดคุณสมบัติใกล้เคียงกับหลักสูตร STOU MBA
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: คุณสมบัติผู้เข้าสมัครถูกกำหนดไว้ใกล้เคียงกับหลักสูตร STOU MBA ค่ะ แต่เพิ่มเติมว่า จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 1 ปี
ป.โท สุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิชา ได้แก่
– กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ
-กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน
– กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
สุโขทัยธรรมาธิราช ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: ประกอบด้วย 2 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาบริหารสาธารณสุข และกลุ่มวิชาบริหารโรงพยาบาล
โดยต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีด้านบริหาร หรือปริญญาตรีด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 และ
มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานหรือทำงานเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในภาครัฐ เอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากจบปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัครนอกจากนี้ยังมีกำหนดให้
มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดอีกด้วยค่ะ
สุโขทัยธรรมาธิราช ป.โท สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต: วิชาเอก เศรษฐศาสตร์ และเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ: คุณสมบัติต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาด้านอาหารและโภชนาการ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ หรือสาขาวิชาอื่นๆ จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง
และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
นอกจากนี้ต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันทดสอบภาษาที่ได้มาตรฐาน หรือผลการทดสอบ STOU-EPT
อย่างไรก็ดี กรณีไม่มีผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษจากสถาบันทดสอบภาษาที่ได้มาตรฐาน หรือผลการทดสอบ STOU-EPT ผู้สมัครสามารถเลือกเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ หรือเข้ารับการอบรมเข้มพิเศษภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นผู้จัด (Intensive Training English Course) แทนได้ค่ะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต: ประกอบด้วย 2 วิชาเอก ได้แก่ เอกการเมืองการปกครอง และเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโท สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
- หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
- หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร
- หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร
ปริญญาโท มสธ. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
- หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร, แขนงวิชาการบริหารกิจการสื่อสาร และแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
- หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชานิเทศศาสตร์อาเซียน (หลักสูตรนานาชาติ)
ปริญญาโท มสธ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และแขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ทั้งนี้ คุณสมบัติผู้เข้าเรียนนอกจากจะต้อง สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองแล้วนั้น ยังต้องมีประสบการณ์การทำงานภายหลังจบชั้นปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 1 ปี และต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
ป.โท มสธ. สาขาวิขาพยาบาลศาสตร์
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน