สำหรับผู้มีความฝันในการเข้ารับราชการทหาร การสอบเข้าก็เปรียบเหมือนกับสนามรบแรกที่ทุกคนต้องฝ่าฟันไปเพื่อให้เข้าใกล้ชัยชนะของตัวเองมากขึ้น สำหรับวันนี้เราจะมาเจาะลึกเส้นทางการก้าวเข้าสู่การเป็นเหล่ารั้วของชาติว่ากว่า จะได้ประดับยศบนบ่า พวกเขาต้องผ่านอะไรกันบ้าง
สอบทหารแบบไหนที่ใช่เรา?
การเข้ารับราชการทหารนั้นแบ่งได้เป็น 3 วิธีหลักคือ
- สมัครทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) เมื่อถึงปีเกณฑ์ทหาร หรือก็คือเข้ารับราชการทหารเมื่อถึงเกณฑ์ทหารนั่นเอง เป็นวิธีสำหรับสำหรับเพศชายเท่านั้น โดยหลังจากเข้ารับราชการจะได้รับการบรรจุเป็นพลทหารชั้นประทวน และสามารถสอบเพื่อเลื่อนเป็นชั้นสัญญาบัตรได้ในลำดับต่อไป (วิธีนี้มีเฉพาะกองทัพบกเท่านั้น)
- สอบเข้าเป็นนักเรียนทหารของแต่ละกองทัพ โดยสมัครสอบตามประกาศรับสมัครของแต่ละกองทัพโดยตรง หรือสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารและสอบเลือกเข้ากองทัพที่ต้องการสังกัด
- สมัครสอบบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการทหาร หรือสอบบรรจุเข้าเป็นข้าราชการทหารตามตำแหน่งงานที่ประกาศสอบ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ในกองทัพจะเป็นผู้ประกาศรับสมัครสอบโดยตรง
ในปัจจุบันเส้นทางที่ได้รับความนิยมสูงคือการเลือกการสอบบรรจุเข้ารับราชการเพื่อเข้าเป็นทหาร เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารแต่อยากสมัครเป็นทหาร โดยใช้วุฒิการศึกษาที่ตนจบมายื่นเพื่อเข้าสมัครสอบได้ และสามารถเข้าสมัครได้ทั้งเพศชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง วันนี้เรามีข้อมูลควรรู้สำหรับการสอบบรรจุทหารว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไรบ้างสำหรับการเข้าเป็นทหารด้วยเส้นทางนี้
การสอบทหารทั้ง 4 เหล่า
สำหรับข้อกำหนดต่างๆ ของการเข้าสอบทหารนั้น แต่ละกองทัพจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยแบ่งได้ตามกองทัพ 4 เหล่า ได้แก่ กองกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพไทย
กองทัพบก
คุณสมบัติผู้เข้าสอบทหารกองทัพบก
เพศชาย
- มีร่างกายสมบูรณ์ อายุ 22 – 35 ปี
- ต้องมีความสูง 160 ซม. รอบอก 76/79 ซม. โดยจะพิจารณาจากผลการวัดขนาดร่างกายในแบบ สด. 43 หรือผลการวัดขนาดร่างกายในวันตรวจการสอบโรครอบที่สอง
- ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหารปีที่ 3 (รด.ปี 3) เรียบร้อยแล้ว
ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีร่างการสมบูรณ์ อายุระหว่าง 22-35 ปี
- มีน้ำหนักตั้งแต่ 40 กก. มีความสูงตั้งแต่ 150 ซม. โดยจะพิจารณาจากผลการวัดขนาดร่างกายในวันตรวจโรคการสอบรอบที่สอง
คุณสมบัติเพิ่มเติมทั้งชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการบรรจุเข้าเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามบัญชีชื่อความพิการทุพพลภาพ หรือโรคตามกฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ.2540) และ ฉบับที่ 76 (พ.ศ.2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่อยู่ในสมณเพศ
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นแต่ความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดเพราะความผิดหรือถูกไล่ออกจากราชการ
- ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบ หรือการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทหาร หรือการสอบเข้ารับราชการมาก่อน
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ หรือมีประวัติคดีอาญาข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
สำหรับกองทัพบก การสมัครสอบเข้าเป็นทหารมีแค่ชั้นสัญญาบัตรเท่านั้น ส่วนการเข้าเป็นทหารชั้นประทวนสามารถทำได้ด้วยการสมัครทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์)
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี/โท/เอก และต้องมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
- วิชาพื้นฐาน 50 ข้อ 200 คะแนน แบ่งเป็น
- ภาษาไทย 80 คะแนน :: หลักภาษา การใช้ภาษา วรรณกรรมและวรรณคดีไทย
- ภาษาอังกฤษ 60 คะแนน :: ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเรื่องเกี่ยวกับข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญในอดีต และความรู้ทั่วไป
- ความรู้ทั่วไป 60 คะแนน :: ข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหตุการณ์สำคัญในอดีต ประวัติศาสตร์
- สอบวิชาเฉพาะเชิงลึกตามตำแหน่งที่สมัคร
กองทัพเรือ
คุณสมบัติผู้เข้าสอบทหารกองทัพเรือ
เพศชาย
- ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. รอบอก 76/79 ซม.
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เป็นผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นสัญญาบัตร)
- ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18-30 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร)
- ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหารปีที่ 3 (รด.ปี 3) เรียบร้อยแล้ว
ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม.
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เป็นผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นสัญญาบัตร)
- ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18-30 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร)
คุณสมบัติเพิ่มเติมทั้งชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้หรือไม่เป็นบุคคลพวกที่ 2, 3 และ 4 ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม
- ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกจากราชการ เพราะมีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมอง
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างพักราชการ หรือสำรองราชการอันเนื่องมาจากความผิดหรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจำคุก ตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ
- ไม่เคยทุจริตในการสมัคร หรือการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทหาร หรือนักเรียนอื่นใดของกองทัพเรือมาก่อน
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ หรือมีประวัติคดีอาญาในข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด
- ไม่เป็นผู้ที่ตาบอดสี (ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าตาบอดสีในภายหลัง จะถูกตัดสิทธิ์โดยไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้)
- ไม่อยู่ในสมณเพศ
- ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ (ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ในภายหลัง จะถูกตัดสิทธิ์โดยไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้)
- ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ที่จะสมัครสอบ จะต้องได้รับอนุญาตและรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชาตันสังกัด
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 / ปวช. /หรือ ปวส. ที่มีวุฒิตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี และมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
- วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- วิชาชีพตามคุณวุฒิ 300 คะแนน (ยกเว้นวิชาอังกฤษและดุริยางค์ คะแนนเต็ม 200 และ 100 คะแนนตามลำดับ)
กองทัพอากาศ
คุณสมบัติผู้เข้าสอบทหารกองทัพอากาศ
- มีสัญชาติไทย โดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
- มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกลาโหม ฉบับที่ 74 (พ.ศ.2540) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตามความ ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 และระเบียบกองทัพอากาศวาาด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการเป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ พ.ศ. 2518
- มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร ยกเว้นรหัสตำแหน่งที่กำหนด
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
- ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้น ความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหวาางพักราชการ หรือสำรองราชการอันเนื่องมาจาก ความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
- ไม่เป็นผู้ที่ตาบอดสี
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- ไม่เป็นผู้ที่ขัดกับข้อกำหนดเกี่ยวกับรอยสักบนร่างกาย
- คุณสมบัติตามข้อ 1, 3 และ 9 – 12 ให้ยึดถือผลการตรวจราางกายของคณะกรรมการตรวจราางกายทางแพทย์กรมแพทย์ทหารอากาศ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ยุติ ซึ่งจะมีการตรวจเพียงครั้งเดียวไม่มีการตรวจซ้ำอีกไม่ว่าขั้นตอนใด
และจะไม่พิจารณาผลการตรวจร่างกาย โดยแพทย์จากสถานพยาบาลอื่น - พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองทัพอากาศไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบ คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 / ปวช. /หรือ ปวส. ที่มีวุฒิตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี/ปริญญาโท และมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
ระดับชั้นที่ต่ำกว่าสัญญาบัตร
- ข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไป 40 ข้อ
- วิชาความรู้วิชาชีพพื้นฐาน 30 ข้อ
- ข้อสอบวิชาพื้นฐานความรู้เฉพาะตำแหน่ง 30 ข้อ
ระดับชั้นสัญญาบัตร
มีข้อสอบ 100 ข้อ 100 คะแนน
- ข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไป 40 ข้อ 40 คะแนน (ต้องสอบทุกตำแหน่ง)
- คณิตศาสตร์ 8 ข้อ
- ภาษาไทย 8 ข้อ
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 8 ข้อ
- คอมพิวเตอร์พื้นฐาน 8 ข้อ
- ความรู้ทั่วไป 8 ข้อ
- ข้อสอบวิชาพื้นฐานความรู้เฉพาะตำแหน่ง 60 ข้อ 60 คะแนน (จำแนกตามตำแหน่ง)
ผู้เข้าสอบเข้ากองทัพไทย
เพศชาย
- จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 155 เซนติเมตร
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรจะต้องมีอายุ 18 – 35 ปี
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารประทวน จะต้องมีอายุ 18 – 30 ปี ยกเว้นผู้ที่สมัครในกลุ่มตำแหน่งพลขับรถ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 – 30 ปี
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างรับราชการเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์)
- สำหรับบุคคลพลเรือนชายต้องไม่เป็นผู้เข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ หรือผู้ที่ขอผ่อนผันเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ
ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร
- ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ไม่เกิน 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ไม่เป็นโรคเท้าแบนยึดติด (Rigid type) และไม่เป็นโรคตาบอดสี (Color Blindness)
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรจะต้องมีอายุ 18 – 35 ปี
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารประทวน จะต้องมีอายุ 18 – 30 ปี
คุณสมบัติเพิ่มเติมทั้งชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือการกระทำโดยประมาท
- ไม่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือสำรองราชการเนื่องจากกระทำความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะมีความผิดหรือมีมลทินมัวหมอง หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
- มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารและไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
- ไม่เป็นผู้ที่มีรอยสักบนร่างกายที่เห็นเด่นชัด
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- คุณสมบัติตามข้อ 10-14 ให้ใช้ผลการตรวจร่างกายของคณะกรรมการแพทย์ถือเป็นยุติ ซึ่งจะมีการตรวจเพียงครั้งเดียว โดยไม่ตรวจซ้ำอีกไม่ว่ากรณีใด ๆ และจะไม่พิจารณาผลการตรวจร่างกายโดยแพทย์จากสถานพยาบาลอื่น
- พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองบัญชาการกองทัพไทยไม่รับสมัครสอบ และไม่อาจให้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้
- สำหรับนายทหารประทวน ลูกจ้าง พลอาสาสมัคร หรือพนักงานราชการในสังกัดของส่วนราชการกระทรวงกลาโหม ที่สมัครสอบจะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติ และได้รับอนุญาตจากหน่วยต้นสังกัด ในระดับกองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไป
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 / ปวช. /หรือ ปวส. ที่มีวุฒิตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี และมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร
วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป ทุกตำแหน่งสอบเหมือนกัน ข้อสอบปรนัย
- คณิตศาสตร์ ระดับ ม.1
- ภาษาไทย ระดับ ม.1-ม.3
- หลักภาษา ความรู้เกี่ยวกับ หน่วยเสีย งรูปลักษณ์ของคำ หน้าที่ของคำ การสะกดคำ การอ่านคำ ความหมายของคำ และลักษณะประโยคเพื่อการสื่อสาร
- การใช้ภาษา ความรู้เกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม ระดับภาษา ราชาศัพท์ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ข้อบกพร่องในการใช้ประโยค โวหารการเขียน การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ
- ความเข้าใจภาษาความรู้เกี่ยวกับ การอ่านจับใจความ การอ่านตีความ การอ่านสรุปความและการเขียนเรียงความ/บทความ
- ภาษาอังกฤษ เนื้อหาระดับ ม.1-ม.3 ความรู้เกี่ยวกับ คำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์พื้นฐาน ความเข้าใจประโยคและเนื้อเรื่องที่อ่าน การจับประเด็นและใจความของเรื่อง และบทสนทนาระดับเบื้องต้น
- ความรู้ทั่วไป ความรู้ด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พลังงานสิ่งแวดล้อม ประชาคมอาเซียน และค่านิยมคนไทย
ระดับชั้นสัญญาบัตร
วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป ทุกตำแหน่งสอบเหมือนกัน 60 ข้อ 60 คะแนน ดังนี้1
- คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ความรู้เกี่ยวกับ เซต ตรรกศาสตร์ ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น ระบบจำนวนจริง ความน่าจะเป็น สถิติ ลำดับและอนุกรม
- ภาษาไทย ระดับปริญญาตรี
- หลักภาษา ความรู้เกี่ยวกับ หน่วยเสียง รูปลักษณ์ของคำ หน้าที่ของคำ การสะกดคำ การอ่านคำ ความหมายของคำ และลักษณะประโยคเพื่อการสื่อสาร
- การใช้ภาษา ความรู้เกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม ระดับภาษา ราชาศัพท์ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ข้อบกพร่องในการใช้ประโยค โวหารการเขียน การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ
- ความเข้าใจภาษา ความรู้เกี่ยวกับ การอ่านจับใจความ การอ่านตีความ การอ่านสรุปความ การเขียนเรียงความ/บทความ
- ภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี ความรู้เกี่ยวกับ ด้านคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ ความเข้าใจประโยคและเนื้อเรื่องที่อ่าน การจับประเด็นและใจความสำคัญของเรื่องและบทสนทนาทั่วไป
- รู้ทั่วไป ความรู้ด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พลังงานสิ่งแวดล้อม ประชาคมอาเซียน และค่านิยมคนไทย
ตารางสรุปความแตกต่างของข้อสอบทหารทั้ง 4 เหล่า
กองทัพไทย | วิชาที่ใช้สอบวัดความรู้พื้นฐาน | ||||
ภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ | คณิตศาสตร์ | ความรู้ทั่วไป | คอมพิวเตอร์พื้นฐาน | |
กองบัญชาการกองทัพไทย | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✖ |
กองทัพบก | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✖ |
กองทัพเรือ | ✓ | ✓ | ✖ | ✖ | ✖ |
กองทัพอากาศ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
สำหรับวันและเวลาการเปิดรับสมัคร จะขึ้นอยู่กับการเปิดรับตามปีงบประมาณของแต่ละกองทัพ ผู้สมัครสอบควรติดตามประกาศและข่าวสารจากเว็บไซต์และแฟนเพจของหน่วยงานในแต่ละกองทัพอย่างใกล้ชิด
คอร์สติวสอบทหาร
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
M10121 | 2 มี.ค. 67 – 30 มี.ค. 67 | จ. พ. ศ. | 13.00-15:00 | เต็ม | 0 | พี่แนน |
อัตราค่าเรียน : 10,500 บาท
Download ข้อสอบ คณิตศาสตร์ สอบเข้า เตรียมทหาร
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิว และ ปริมาตร
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกำลัง
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฏีบทพีทาโกรัส
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ
Download ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ สอบเข้า เตรียมทหาร
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ธาตุและสารประกอบ
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง มวลแรง และ การเคลื่อนที่ กฎของนิวตัน
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระแสไฟฟ้า
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเคลื่อนที่
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสง
ข้อสอบคัดเลือกสอบเข้า เตรียมทหาร วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เลนส์ และ กระจก