สอบ ก.พ. คือ ?
สำนักงาน ก.พ. มีชื่อเต็มๆคือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการสอบ ก.พ. นั้นคือการคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่าง เพื่อเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ หรือเรียกได้ว่า เป็นระบบกลาง ระหว่างผู้ที่ต้องการเข้าทำงานในระบบราชการ กับ หน่วยงานราชการที่ขาดแคลนบุคคลในการทำงานนั่นเองค่ะ
ระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบ ก.พ.
สำนักงาน ก.พ. จะรับสมัครสอบ จำนวน 4 ระดับ ดังนี้ค่ะ
– ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
– ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
– ระดับวุฒิปริญญาตรี
– ระดับวุฒิปริญญาโท
การรับสมัครสอบ ก.พ.
การสมัครสอบ ก.พ. จะมีการจัดสอบเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะรับสมัครทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว และผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย โดยจะประกาศรับสมัครสอบประมาณเดือน ก.พ. – มี.ค. ของทุกปี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://job.ocsc.go.th เมื่อสอบผ่านแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะส่งหนังสือรับรองการสอบผ่านให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ในใบสมัครสอบเลยค่ะ
ขั้นตอนและวิธีสมัครสอบ ก.พ.
- สมัครผ่านทางเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th แล้วเลือกหัวข้อ “สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี ๒๕๖๔” หลังจากนั้นคลิก “สมัครสอบ”
- กรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ
- เลือกรอบสอบและศูนย์สอบที่สะดวกในการสอบ ก.พ. หลังจากนั้นระบบจะกำหนดแบบฟอร์มสำหรับชำระเงินอัตโนมัติ
- ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ 330 บาท “ภายในวันที่แบบฟอร์มชำระเงิน ระบุ” มิเช่นนั้นจะถือเป็นการสละสิทธิ์สอบ
- การสมัครสอบจะเรียบร้อยต่อเมื่อมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
- หลังจากชำระเงินแล้ว 1 วัน ให้ผู้สมัครเข้าตรวจสอบเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th หากยังไม่มีรูปถ่ายของผู้สมัคร จะต้องอัพโหลดรูปก่อน
หมายเหตุ : ผู้สมัครสอบจะต้อง upload รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1*1.5 นิ้ว ขนาดไฟล์ 40-100 kb ประเภทไฟล์ .JPG ก่อน - พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อ ให้เรียบร้อยแล้วนำไปในวันสอบ ก.พ.
แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก
การสอบ ภาค ก. จะแบ่งเป็น 3 วิชา คือ
– ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป : ด้านการคิดคำนวณ และด้านการให้เหตุผล (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
– ทดสอบวิชาภาษาไทย : ด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งจะทดสอบโดยการการอ่านและการทำความเข้าใจบทความ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวน 40 ข้อ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– ทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ : ทดสอบความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยแยกเป็นระดับ ปวช-ปวส / ปริญญาตรี-ปริญญาโท (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
เกณฑ์การผ่านคะแนนทุกวิชาจะต้องผ่านเกณฑ์ที่ 60 % และต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 50 % ผู้สอบสามารถยื่นคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐานต่อไปนี้ แทนได้ IELTS , TOEIC , TU-GET , CU-TEP ที่ยังไม่หมดอายุ และได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 % ของการทดสอบที่จะยื่นแทนนั่นเองค่ะ
** ซึ่งทุกคนที่ต้องการจะสอบบรรจุข้าราชการจำเป็นจะต้องสอบภาค ก **
แนวข้อสอบ สอบ ก.พ. ภาค ข
การสมัครสอบรอบนี้ ทางผู้เข้าสมัครจะต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าตนได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงสามารถสมัครได้ และการสอบในภาค ข. นี้ จะเป็นการสอบวิชาเฉพาะในแต่ตำแหน่งนั้นๆ และเป็นการสอบข้อเขียน โดยเปิดสอบในหน่วยงานที่เราต้องการสมัครค่ะ เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
แนวข้อสอบ สอบ ก.พ. ภาค ค
เป็นรอบของการสอบสัมภาษณ์ การจะสอบภาค ค. ได้นั้น ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องผ่านการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. มาก่อน และในการสอบ ภาค ค. จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ หรืออาจมีการทดสอบอย่างอื่นเพิ่มก็ได้เช่นเดียวกัน อาทิเช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบจิตวิทยา
ความแตกต่างข้อสอบ สอบ ก.พ. ภาค ก , ภาค ข , ภาค ค
สำหรับความแตกต่างจะเป็นในส่วนของความเฉพาะด้านที่มากขึ้นในแต่ละรอบที่เราจะต้องผ่านเข้ามาเพื่อที่จะได้สอบรอบถัดไปนั่นเองค่ะ หากมีการเตรียมตัวและความพร้อมที่ดี ก็สามารถที่จะมีโอกาสที่มากขึ้นนั่นเองค่ะ เพราะในรอบแรกหรือภาค ก. นั้นจะเป็นการสมัครสอบโดยทั่วไปที่ผู้สอบจะต้องเจอกันทุกคน ถ้าหากผ่านแล้วจึงจะสอบในรอบของภาค ข.ได้ ซึ่งเป็นในส่วนของข้อเขียนในแต่ละตำแหน่งที่มีหลากหลายเฉพาะจึงไม่ใช่ข้อสอบชุดเดียวกันหรือสามารถใช้ร่วมกันได้นั่นเองค่ะ ส่วนสำหรับภาค ค. จะเป็นในส่วนของการสัมภาษณ์และการพิจารณาของทางหน่วยงานต้นสังกัดเราเป็นหลัก ถ้าหากผ่านทุกรอบแล้วจะก็เตรียมตัวบรรจุเข้ารับข้าราชการได้เลยนั่นเองค่ะ
กำหนดการสอบ สำหรับผู้ที่สมัครสอบ ก.พ. 64
กิจกรรม | กำหนด วัน-เวลา | สถานที่ |
1. ประกาศข่าวรับสมัครสอบ | ม.ค. 64 | https://www.ocsc.go.th |
2. กรอกใบสมัคร เลือกวันสอบ และเลือกศูนย์สอบ | 8 ม.ค. 64 – 28 ม.ค. 64 | http://job2.ocsc.go.th |
3. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสอบ | ชำระเงินภายใน 22.00 น. ของวันถัดจากวันที่ยืนยันการสมัคร | – ที่ เคาน์เตอร์ ของธนาคารกรุงไทย – ที่เครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทย – ที่ http://job2.ocsc.go.th เมนู NETBANK |
4. อัพโหลดรูปถ่าย | 10 ก.พ. 64- 2 เม.ย. 64 | http://job2.ocsc.go.th |
5 ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ | 10 ก.พ. 64 | http://job2.ocsc.go.th |
6. สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ | ระดับปริญญาโท รอบที่1 ส.3 เม.ย. 64ระดับปริญญาตรี รอบที่2 อา.4 เม.ย. 64 รอบที่3 จ.5 เม.ย. 64 รอบที่4 อ.6 เม.ย. 64 รอบที่5 พ.7 เม.ย. 64 รอบที่6 พฤ.8 เม.ย. 64 |
1. สำนักงาน ก.พ. 2. มรภ. พระนคร 3. ม.เกษตรศาสตร์ 4. มรภ.สวนสุนันทา 5. ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต 6.ม.แม่ฟ้าหลวง 7.มรภ.พิบูลสงคราม 8.ม.อุบลราชธานี 9.มรภ.บุรีรัมย์ 10.มรภ.สุราษฎร์ธานี 11.ม.วลัยลักษณ์ 12.ม.ทักษิณ |
7.ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน | 28 พ.ค. 64 | http://job2.ocsc.go.th |
8. พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน | 8 มิ.ย. 64 | http://job2.ocsc.go.th |