สอบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง อัปเดตสำหรับน้อง ๆ ทุกคนกันเลย
คงเป็นคำถามที่น้อง ๆ หลายคนสงสัยอย่างมากว่าสอบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง เหตุเพราะนี่คือการสอบเทียบวุฒิการศึกษาของอเมริกาสำหรับคนที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หากไม่ต้องการเสียเวลาเรียนต่อในระดับ ม.ปลาย หากมีคะแนนสอบตามเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ก็สามารถเรียนในมหาวิทยาลัยที่เปิดรับสมัครจากคณะต่าง ๆ ได้เลย จึงอยากพามาอัปเดตข้อมูลให้เข้าใจเพื่อนำไปใช้วางแผนให้กับตนเอง
สอบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง อัปเดตล่าสุด
ต้องขอทำความเข้าใจกันให้ชัดสำหรับคนที่มีข้อสงสัยว่าสอบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง ปกติสำหรับเมืองไทยของเราหากไม่นับคณะแพทยศาสตร์ที่ต้องการคนเรียนตรงแนวทาง คือ เรียนสายวิทย์-คณิต จบการศึกษาระดับ ม.ปลาย ตามหลักสูตร หากสอบ GED คะแนนดี ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ก็สามารถเลือกเพื่อเข้าเรียนได้เกือบทุกคณธที่ของมหาวิทยาลัยในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคไทยปกติ หรือภาคอินเตอร์ก็ตาม ด้วยความที่ข้อสอบ GED มีความน่าเชื่อถือ บ่งบอกถึงประสิทธิภาพผู้สอบได้คะแนนดีว่ามีทักษะทั้งด้านการเรียน ด้านภาษาครบถ้วน ดังนั้นสบายใจไร้กังวลแบบไม่ต้องคิดมาก ขอแค่ทำคะแนนให้ดีก็พอ
สอบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง ตัวอย่าง 3 มหาวิทยาลัยดังที่ขอแนะนำ
1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคไทย
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์เฉพาะสาขาเทคโนโลยียานยนต์ : V-TECH และซอฟต์แวร์ : SOFT-EN
- คณะศิลปศาสตร์ยกเว้นสาขาเยอรมัน รัสเซีย และภาษาไทย
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาลัยนวัตกรรม
- วิทยาลัยสหวิทยาการ
- วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ้งภากรณ์
- คณะสหเวชศาสตร์ สาขาการจัดการกีฬาและการฝึกสอนกีฬา
- คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาการเรียนรู้
- คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA)
- คณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BE)
- คณะนิติศาสตร์ กฎหมายธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (LL.B.)
- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาสื่อมวลชนศึกษา หลักสูตรนานาชาติ (B.J.M.)
- คณะศิลปศาสตร์ โครงการวิเทศคดีศึกษา (อาเซียน-จีน) หลักสูตรนานาชาติ (IAC)
- คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรนวัตกรรมการบริการ หลักสูตรนานาชาติ (BSI)
- วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ หลักสูตรนานาชาติ (PBIC)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การออกแบบเชิงดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ (IDD)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ หลักสูตรนานาชาติ (CDT)
- คณะสังคมสงเคราะห์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา หลักสูตรนานาชาติ (SPD)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง หลักสูตรนานาชาติ (UDDI)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
- คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BNS)
- คณะศิลปศาสตร์ โลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม หลักสูตรนานาชาติ (GSSE) คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)
- คณะศิลปศาสตร์ ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (BEC)
- คณะศิลปศาสตร์ อังกฤษ-อเมริกันศึกษา หลักสูตรนานาชาติ (BAS)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (DBTM)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคไทย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคอินเตอร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA)
- คณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BALAC)
- คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (COMMARTS)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ (COMMDE)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ (INDA)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (ISE)
- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BBTech)
- หลักสูตรศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ หลักสูตรนานาชาติ (BAScii)
- คณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (EBA)
- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BSAC)
3. มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคไทย
- คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- คณะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคอินเตอร์
- คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ (BBA)
- คณะการจัดการบัณฑิต สาขาการจัดการบริการนานาชาติ (BM)
- คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ (BA)
- คณะศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศ หลักสูตรนานาชาติ (BFA)
- คณะนิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาสื่อและการสื่อสาร หลักสูตรนานาชาติ (B.Com.Arts.)
- คณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ (B.Sc.)