เด็กพิเศษ คืออะไร
เด็กพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเนื่องจากความบกพร่องหรือข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ประสาทสัมผัส อารมณ์ และสังคม รวมถึงการได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อม อันเป็นเหตุให้เด็กมีข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต หรือการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคมให้สำเร็จตามบทบาทปกติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของความบกพร่องหรือข้อจำกัดนั้น ๆ
เด็กพิเศษมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท โดย ICF (International Classification of Functioning, Disability and Health) ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ WHO ได้แบ่งความพิการไว้ ดังนี้
1. ความพิการทางการเห็น
2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก
5. ความพิการทางสติปัญญา
6. ความพิการทางการเรียนรู้
เด็กสมาธิสั้น คืออะไร
คือ เด็กที่มีภาวะบกพร่องในการทำงานของสมองที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ 3 ด้าน ได้แก่
1. ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง
2. ซนมากกว่าปกติหรือไม่อยู่นิ่ง
3. ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น
โดยอาการเหล่านี้มักพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง และส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อหน้าที่ต่างๆ เช่น ทำให้เรียนไม่ดี ไม่มีสมาธิในการเรียนรู้ ชนมากจนเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทำกิจวัตรประจำวันช้าหรือไม่เรียบร้อย เป็นต้น
เด็ก LD คืออะไร
คือ โรคการเรียนรู้บกพร่อง โดย LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder ซึ่งเป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี
โรคซึมเศร้าในเด็ก คืออะไร
โรคซึมเศร้าในเด็ก คือ การที่เด็ก ๆ มีภาวะทางอารมณ์ที่อาจทำให้รู้สึกเศร้า หงุดหงิดง่าย สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะคงอยู่ยาวนานมากกว่าปกติ จึงอาจส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งอาจนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และปัญหาสุขภาพได้ โดยโรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น อาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ อย่างโรคมะเร็งในเด็กและโรคลมชัก การสูญเสียอวัยวะ การเผชิญเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีหรือมีปัญหาครอบครัว คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน การถูกกลั่นแกล้ง การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติด
เด็กออทิสติกเทียม คืออะไร
คือ ภาวะที่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม (ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติของสมอง) อย่างไรก็ตาม คำว่า ‘ออทิสติกเทียม’ นั้น ไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์ แต่เป็นคำที่ใช้สื่อความหมายถึงเด็กที่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก โดยเป็นไปในเชิงที่เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยจากการขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม
เด็กปกติกับเด็กพิเศษ ต่างกันยังไง ?
อย่างที่ทราบแล้วว่า เด็กพิเศษนั้น คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษในการดูแลและส่งเสริมด้านต่างๆ เป็นพิเศษมากกว่าเด็กปกติทั่วไป โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต่างจากเด็กปกติทั่วไป
1.ความพิการทางการเห็น
1.1 ตาบอด หมายถึง มีความบกพร่องในการมองเห็น ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้ โดยเมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่า เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า 3 ส่วน 60 เมตร (3/60) หรือ 20 ส่วน 400 ฟุต (20/400) ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาแคบกว่า 10 องศา
1.2 ตาเห็นเลือนราง หมายถึง มีความบกพร่องในการมองเห็น ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้ โดยเมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่า เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้วอยู่ในระดับตั้งแต่ 3 ส่วน 60 เมตร (3/60) หรือ 20 ส่วน 400 ฟุต (20/400) ไปจนถึงแย่กว่า 6 ส่วน 18 เมตร (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 ฟุต (20/70) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
2.ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
2.1 หูหนวก หมายถึง มีความบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตซ์ 1,000 เฮิรตซ์ และ 2,000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง 90 เดซิเบลขึ้นไป
2.2 หูตึง หมายถึง มีความบกพร่องในการได้ยิน โดยเมื่อตรวจวัดการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตซ์ 1,000 เฮิรตซ์ และ 2,000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล
2.3 ความพิการทางการสื่อความหมาย หมายถึง มีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูด ไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ เป็นต้น
3.ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
3.1 ความพิการทางการเคลื่อนไหว หมายถึง มีความบกพร่องหรือการสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจ มาจากสาเหตุอัมพาต แขน ขา อ่อนแรง แขน ขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทํางานของมือ เท้า แขน ขา
3.2 ความพิการทางร่างกาย หมายถึง มีความบกพร่องหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลําตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน
4.ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หมายถึง มีความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด
5.ความพิการทางสติปัญญา หมายถึง มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาตํ่ากว่าบุคคลทั่วไป
6.ความพิการทางการเรียนรู้ หมายถึง มีความบกพร่องทางสมอง ทําให้เกิดความบกพร่องในด้านการอ่านการเขียน การคิดคํานวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่นในระดับความสามารถที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุ และระดับสติปัญญา
7.ความพิการทางออทิสติก หมายถึง มีความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้อารมณ์หรือความคิด
เรียนรวม คืออะไร ?
คือ การจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสเรียนรู้และดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติ และมีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่เหมาะสม
เรียนร่วม คืออะไร ?
คือ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ ในช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน โดยคำนึงถึงความสามารถของเด็กเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสเรียนรู้และดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติ และมีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่เหมาะสม
เรียนรวม เรียนร่วม ต่างกันอย่างไร ?
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
เด็กพิเศษสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ไหม ?
เรียนได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาและความพร้อมบางด้านที่จำเป็น ซึ่งโดยทั่วไปเด็กสามารถเรียนรวมได้ หากผ่านการฝึกฝนปรับพฤติกรรมแบบเข้มข้นตั้งแต่เล็ก และทำมาอย่างต่อเนื่อง
เด็กพิเศษ สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ไหม ?
สามารถเข้าเรียนได้ ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กพิเศษที่สามารถสอบติดมหาวิทยาลัยได้ และสามารถเรียนจบมหาวิทยาลัยได้ไม่ต่างจากนักเรียนปกติทั่วไป นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีศูนย์ DSS (มาจากชื่อเต็มว่า Disability Support Services มีชื่อภาษาไทยว่า “ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ”) เช่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเด็กพิเศษเข้าศึกษาได้ตามเกณฑ์แต่ละมหาวิทยาลัย
จุฬาติวเตอร์ ผู้มีความชำนาญ ติวเด็กพิเศษ
ที่จุฬาติวเตอร์ เรามีครอ์สเรียนสำหรับน้อง ๆ เด็กพิเศษที่ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนตามปกติได้ แต่ต้องการเรียนเนื้อหาในระดับชั้น ม.ต้น-ม.ปลาย สอนโดยติวเตอร์ที่มีประสบการณ์ในการสอนเด็กพิเศษมาก่อน โดยคอร์สตัวต่อตัวนั้นสามารถเลือกวัน เวลาเรียนที่สะดวกได้ เลือกได้ว่าต้องการเรียนครั้งละ กี่ ชม. เพื่อให้เหมาะกับศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละคน
คอร์สสอบเทียบ ม.ปลาย สำหรับ เด็กพิเศษ
เป็นคอร์สเรียนสำหรับการสอบเทียบเท่า ม.6 (หลักสูตร GED) โดยเป็นคอร์สกลุ่มที่น้อง ๆ เด็กพิเศษจะได้เรียนรวมกับนักเรียนปกติในคลาส โดยคอร์สเรียน GED จะเป็นคอร์สที่มีความยืดหยุ่น รับรองผลการสอบผ่าน อีกทั้งยังสามารถเรียนทบทวนซ้ำได้ไม่จำกัดจนกว่าจะสอบผ่าน อีกทั้ยังมีคนดูแลเรื่องการสมัครสอบและการขอวุฒิ (เมื่อสอบผ่านทั้งหมดแล้ว) ให้ด้วย น้อง ๆ คนไหนที่รู้สึกว่าการเรียนในโรงเรียนนั้นมีอุปสรรค ไม่สามารถไปโรงเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ คอร์ส GED ก็นับเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้การจบ ม.6 กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น
คอร์สติวตัวต่อตัว สำหรับ เด็กพิเศษ
เป็นคอร์สติวสำหรับน้อง ๆ เด็กพิเศษที่ต้องการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐบาลที่มักจะต้องสอบข้อสอบต่าง ๆ เพิ่มเติม แล้วนำคะแนนสอบเหล่านั้นไปใช้ในการสมัครเรียนต่อ เช่น A-Level, TGAT, IELTS, CU-TEP, SAT หรืออื่น ๆ โดยคอร์สเรียนจะเป็นแบบตัวต่อตัวที่สามารถปรับการสอนให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคนได้อย่างเฉพาะเจาะจง สามารถปรับให้สอนช้าหรือเร็วตามพื้นฐานของนักเรียนได้ และยังสามารถเลือกวัน เวลาเรียนได้อีกด้วย