เปรียบเทียบ CU-TEP คืออะไร VS TU-GET คืออะไร
CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) คือ ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ออกโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ และใช้ประกอบการยื่นสมัครในระดับปริญญา ตรี โท เอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
TU-GET ( Thammasat University General English Test) คือ ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระดับปริญญา ตรี โท และเอก ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบการสอบทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์
เปรียบเทียบโครงสร้างข้อสอบ CU-TEP VS TU-GET
โครงสร้างข้อสอบ CU-TEP
1. ข้อสอบ LISTENING มีจำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาการทำ 30 นาที แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
บทสนทนาสั้นระหว่างผู้พูด 2 คน จำนวน 15 ข้อ
บทสนทนาที่ผู้พูดโต้ตอบกัน จำนวน 3 บท บทละ 3 ข้อ รวม จำนวน 9 ข้อ
บทพูดคนเดียว (Monologue) 200-250 คำ จำนวน 2 บท บทละ 3 ข้อ รวม จำนวน 6 ข้อ
2. ข้อสอบ READING มีจำนวน 60 ข้อ ระยะเวลาการทำ 70 นาที แบ่งข้อสอบออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
Cloze reading เป็นบทความภาษาอังกฤษ ที่มีการเว้นช่องว่าง 15 ช่อง จำนวน 15 ข้อ
บทความสั้น เป็นบทความสั้นประมาณ 1 ย่อหน้า มักเป็นรูปแบบจดหมาย จำนวน 5 ข้อ
บทความยาว เป็นบทความที่มีความยาวประมาณ 1 หน้า A4 จำนวน 4บทความ จำนวน 40 ข้อ
3. ข้อสอบ WRITING มีจำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที เฉลี่ยข้อละ 1 นาทีเท่านั้น
ข้อสอบส่วนนี้จะออกมาในรูปแบบของ Error Identification จำนวน 30 ข้อ
รวม 130 นาที จำนวน 120 ข้อ
โครงสร้างข้อสอบ TU-GET
ข้อสอบ TU-GET Paperr-based (PBT) จะแบ่งออกเป็น 4 พาร์ทข้อสอบด้วยกัน ดังนี้
1. Grammar and Structure เป็นพาร์ทที่วัดความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีจำนวนคำถามทั้งหมด 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
Error identification การหาจุดผิดทางไวยากรณ์ จำนวน 13 ข้อ
Sentence completion การเติมคำหรือโครงสร้างลงในช่องว่าง จำนวน 12 ข้อ
2. Vocabulary เป็นพาร์ทวัดความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
Cloze-test การเติมคำศัพท์ลงในช่องว่าง จำนวน 15 ข้อ
Vocabulary คำศัพท์ จำนวน 10 ข้อ
3. Reading comprehension มี 6 passages จำนวน 50 ข้อ
รวม เวลา 3 ชั่วโมง จำนวน 100 ข้อ
ข้อสอบ TU-GET Computer-based (CBT) จะแบ่งออกเป็น 4 พาร์ทข้อสอบด้วยกัน ดังนี้
พาร์ทที่ 1 Reading ข้อสอบในพาร์ทนี้ มีทั้งหมด 30 ข้อ 30 คะแนน
พาร์ทที่ 2 Listening จำนวนข้อสอบจะมีทั้งหมด 30 ข้อ 30 คะแนน
พาร์ทที่ 3 Speaking การพูดภาษาอังกฤษ เพื่อตอบคำถาม โดยมีคำถาม 1 ข้อ คะแนน 30 คะแนน
พาร์ทที่ 4 Writing การ เขียน Essay Writing เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีคำถาม 1 ข้อ คะแนน 30 คะแนน
เปรียบเทียบ ค่าสอบ CU-TEP VS TU-GET
ค่าสอบ CU-TEP เท่ากับ 900 บาท หากสอบ Speaking test ด้วยจะเป็น 2,900 บาท
ค่าสอบ TU-GET เท่ากับ 500 บาท แต่หากเป็น TU-GET Computer-based (CBT) 1,000 บาท
เปรียบเทียบ คะแนน CU-TEP VS TU-GET
คะแนน CU-TEP คะแนนเต็ม 120 คะแนน ข้อสอบ 120 ข้อ
คะแนน TU-GET คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน ข้อสอบ 100 ข้อ
เปรียบเทียบ ตารางสอบ CU-TEP VS TU-GET
ตารางสอบ CU-TEP มีการจัดสอบทุกเดือน เฉลี่ยเดือนละ 2-3 ครั้ง เวลาสอบจะเป็น 8.30-11.30 น. ในทุกรอบการสอบ และการสอบ speaking test มีแค่ในบางเดือน
ตารางสอบ TU-GET มีการสอบทั้งรอบออนไลน์ และออนไซต์ โดยมีการจัดสอบทุกเดือน เฉลี่ยเดือนละ 1-2 ครั้ง ผู้เข้าสอบต้องตรวจสอบตารางสอบล่วงหน้า เพราะในบางเดือนไม่มีการจัดสอบออนไซต์ เวลาสอบจะเป็น 9.00-12.00 น หรือ 13.00-16.00 น แล้วแต่รอบสอบ
สรุป เปรียบเทียบ CU-TEP VS TU-GET เหมือนกัน หรือ ต่างกัน อย่างไร?
หัวข้อ | CU-TEP | TU-GET |
รายวิชาที่สอบ | ภาษาอังกฤษ | ภาษาอังกฤษ |
การสมัคร | สมัครสอบแบบออนไลน์ | สมัครสอบแบบออนไลน์ |
อายุผลสอบ | ผลสอบมีอายุ 2 ปี | ผลสอบมีอายุ 2 ปี |
ลักษณะข้อสอบที่เหมือนกัน | Grammar: Error identification Reading comprehension | Grammar: Error identification Reading comprehension |
โครงสร้างข้อสอบ | Listening 30 ข้อ Reading 60 ข้อ Writing 30 ข้อ | Grammar and Structure 25 ข้อ Vocabulary 25 ข้อ Reading comprehension 50ข้อ |
เวลาสอบ | 130 นาที | 3 ชั่วโมง |
สถาบันผู้ออกสอบ | สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | สถาบันภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ค่าสอบ | 900 บาท หากสอบ speaking test ด้วยจะเป็น 2,900 บาท | 500 บาท |
การจัดสอบ | เดือนละ 2-3 ครั้ง เวลาสอบจะเป็น 8.30-11.30 น | เดือนละ 1-2 ครั้ง เวลาสอบจะเป็น 9.00-12.00 น หรือ 13.00-16.00 น แล้วแต่รอบสอบ |
รูปแบบการสอบ | Onsite เท่านั้น | มีทั้งแบบออนไลน์และ Onsite |
ควรเลือกสอบอะไรระหว่าง CU-TEP VS TU-GET
ข้อสอบทั้ง 2 วิชามีความยากง่ายใกล้เคียงกัน และเป็นวิชาภาษาอังกฤษเหมือนกันด้วย แต่หากพิจารณาเรื่องของเวลาสอบ CU-TEP จะมีเวลาสอบที่น้อยกว่า TU-GET
หากใครที่กังวลเรื่อง speed test ให้เลือกสอบ TU-GET ดีกว่า แต่ TU-GET จะทดสอบเรื่องคำศัพท์และการอ่านมากกว่า CU-TEP ฉะนั้นต้องเป็นคนที่อ่านได้เร็วและรู้คำศัพท์จำนวนมาก
แต่หากใครถนัดการฟังและการพูดสามารถเลือกสอบได้ทั้ง 2 วิชา หากพิจารณาเรื่องความสะดวก TU-GET มีสอบแบบออนไลน์ให้เลือกด้วย ในส่วนของการยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัย CU-TEP ใช้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ TU-GET ใช้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์