โรคซึมเศร้า คืออะไร เมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้าจะเรียนอย่างไร

โรคซึมเศร้า คืออะไร
Reading Time: < 1 minute

โรคซึมเศร้า คืออะไร

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือพื้นฐานดั้งเดิม การมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีลักษณะนิสัยเป็นคนอ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ

สัญญาณเตือนอาการซึมเศร้าของวัยรุ่น

สัญญาณเตือนอาการซึมเศร้าของเด็กวัยรุ่น อาจแสดงออกมาเป็นอารมณ์เศร้า หรือ อารมณ์หงุดหงิด หรือไม่สนุกกับสิ่งต่างๆ เกือบทุกวัน นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ อาการร่วมอื่นๆ เช่น

– ใช้เวลากับเพื่อน หรือทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนน้อยลง

– ความอยากอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง

– นอนมาก หรือน้อยกว่าปกติ

– รู้สึกเหนื่อย หรือมีแรงน้อยลง

– รู้สึกว่าทุกอย่างเป็นความผิดของตน หรือว่าไม่เก่งอะไรเลย

– มีปัญหาในการจดจ่อมากขึ้น

– ใส่ใจโรงเรียนน้อยลง

– มีความคิดฆ่าตัวตาย หรืออยากตาย

กรณีซึมเศร้าในเด็กนอกจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว อาจแสดงออกเป็นอาการทางร่างกายมากขึ้น เช่น ปวดหัวหรือปวดท้องบ่อยๆ ได้

สาเหตุ โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น คือ ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า ความเครียดทางจิตสังคม ฮอร์โมนเพศที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น และภาวะซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่ แต่จากการศึกษาติดตามระยะยาวพบว่า อาการซึมเศร้าของวัยรุ่นช่วงแรก มักแสดงอาการซึมเศร้าไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้น

อาการ โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

วัยรุ่นอาจไม่สามารถบอกได้ว่ามีภาวะซึมเศร้า หรือมีอารมณ์เศร้า แต่ภาวะเศร้าในวัยรุ่นอาจแสดงออกมาในรูปแบบอาการอื่นๆ ได้แก่

– รู้สึกแย่ เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง

– รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง

– ไม่สนใจหรือไม่มีความสุขเวลาทำอะไร (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ)

– รู้สึกแย่กับตัวเอง

– นอนไม่หลับหรือหลับมากไป

– จดจ่อกับอะไรได้ยาก เช่น อ่านหนังสือ

– เบื่ออาหาร หรือ กนมากกว่าปกติ

– พูดหรือทำอะไรช้า หรือกระวนกระวายมาก

ควรทำอย่างไร? เมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมักจะส่งผลกระทบให้ไม่สามารถใช้ชีวิตในโรงเรียนได้ตามปกติ ดังนั้น ผู้ปกรองควรวางแผนการเรียนให้น้อง ๆ ได้เรียนในระบบที่มีความยืดหยุ่นได้สูง เช่น หากมีช่วงที่สุขภาพแย่ลง ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้ ก็สามารถดรอปไว้ชั่วคราวก่อนได้ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพก่อน เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจคือการเรียน Home School เป็นหลักสูตร GED ที่นักเรียนสามารถเข้สอบได้เมื่อพร้อม ไม่มีเรื่องระยะเวลาเข้ามาเป็นตัวกดดัน

ลูกเป็นโรคซึมเศร้า จะเรียนอย่างไร

ในปัจจุบันมีระบบการเรียนที่เทียบเท่า ม.6 ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนในระบบโรงเรียนปกติ หากน้อง ๆ เป็นโรคซึมเศร้าจนไม่สามารถใช้ชีวิตในโรงเรียนได้ แต่ก็ยังอยากเรียนจนจบ ม.ปลาย เพื่อจะได้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไปได้นั้น แนะนำให้เรียน Home School เป็นแบบตัวต่อตัว เพื่อจะได้ยืดหยุ่นได้ ซึ่งรูปแบบการเรียนตัวต่อตัวนี้ ติวได้ทั้งการสอบเทียบเท่า ม.6 หรือจะเรียนเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้เช่นกัน

เรียนตัวต่อตัว สำหรับ น้องๆที่เป็นโรคซึมเศร้า

เป็นคอร์สติวสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ยังมีภาวะซึมเศร้าอยู่ ทำให้ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนตามปกติได้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐบาลที่มักจะต้องสอบข้อสอบต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น A-Level, TGAT, IELTS, CU-TEP, SAT หรืออื่น ๆ โดยคอร์สเรียนจะเป็นแบบตัวต่อตัวที่สามารถปรับการสอนให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคนได้อย่างเฉพาะเจาะจง สามารถปรับให้สอนช้าหรือเร็วตามพื้นฐานของนักเรียนได้ และยังสามารถเลือกวัน เวลาเรียนได้อีกด้วย ถือว่าเป็นคอร์สที่มีความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี

private แนีพหำ
Related Posts