A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 คืออะไร
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 คือ ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน + เพิ่มเติม ที่จะเข้ามาแทนที่การสอบคณิตศาสตร์วิชาสามัญ ซึ่งเนื้อหาของการสอบจะเน้นไปทางเพิ่มเติมมากกว่าพื้นฐาน และย้ำว่าจะออกไม่เกินหลักสูตรการเรียนอย่างแน่นอน A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ให้เวลาทำข้อสอบ 1.5 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน
Table of Contents
ข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ออกเรื่องอะไรบ้าง
สถิติ
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– ค่ากลางของข้อมูล
– การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล (ควอร์ไทล์ เปอร์เซ็นไทล์)
– การแจกแจงปกติมาตรฐาน (ค่า z)
ความน่าจะเป็น
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– วิธีเรียงสับเปลี่ยน และวิธีจัดหมู่
– ทฤษฎีบททวินาม
– ความน่าจะเป็น
– กฎพื้นฐานที่สำคัญ
แคลคูลัส
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– สูตรการหาอนุพันธ์ (สูตรดิฟ)
– ความชันของเส้นโค้ง
– การหาค่าสูงสุด/ต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน
– การหาพื้นที่ใต้กราฟ
ตรรกศาสตร์
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– ตัวเชื่อมประพจน์
– ตารางค่าความจริง
– ค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ
จำนวนจริง
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– พหุนาม และทฤษฎีบทเศษเหลือ
– การแก้สมการและอสมการของพหุนาม เศษส่วนพหุนาม และค่าสัมบูรณ์
เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– สมบัติของ log
– การแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล
– การแก้สมการ log
เซต
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– การดำเนินการของเซต (อินเตอร์เซก ยูเนียน ผลต่าง คอมพลีเมนต์)
– แผนภาพเวนน์
– สูตรจำนวนสมาชิกของเซต
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– การหาโดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชัน
– การหาค่าฟังก์ชัน (การบวก ลบ คูณ หารของฟังก์ชัน/ ฟังก์ชันประกอบ/ อินเวอร์ส ของฟังก์ชัน)
เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– วงกลม วงรี พาราโบลา และไฮเพอร์โบลา โดยข้อสอบส่วนใหญ่จะออกแค่เนื้อหาเรื่องเดียว
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
– ฟังก์ชันผกผัน
– สมการตรีโกณมิติ
– กฎของโคไซน์ และไซน์
เวกเตอร์
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– เวกเตอร์ใน 2 และ 3 มิติ
– การบวก ลบ การคูณเชิงสเกลาร์
– การคูณเชิงเวกเตอร์
จำนวนเชิงซ้อน
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– พีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
– พหุนาม, การหารพหุนาม และทฤษฎีบทเศษเหลือ
– สังยุคของจำนวนเชิงซ้อน
– ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
– Polar Form
เมทริกซ์
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– สมบัติของเมทริกซ์ และดีเทอร์มิแนนต์
– การดำเนินการตามแถว
– การหาตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์และการแก้ระบบสมการ
ความน่าจะเป็น
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– การเลือก
– ความน่าจะเป็น
ลำดับและอนุกรม
เรื่องที่ออกสอบประจำ ได้แก่
– ลำดับ – อนุกรมเลขคณิต
– ลำดับ – อนุกรมเรขาคณิต
– ผลบวกของอนุกรมอนันต์
– อนุกรม Telescopic
สถิติ เปอร์เซ็นต์เรื่องที่ออกสอบ A-Level คณิตศาสตร์ 1
เรื่องที่ออกสอบ A-Level คณิตศาสตร์ 1 มากที่สุด คือ สถิติ , ความน่าจะเป็น , ลำดับและอนุกรม และ แคลคูลัสเบื้องต้น
บท | เปอร์เซ็นต์เรื่องที่ออกสอบ |
สถิติ | 11.67% |
ความน่าจะเป็น | 11.67% |
ลำดับและอนุกรม | 10% |
แคลคูลัสเบื้องต้น | 10% |
ตรรกศาสตร์ | 6.67% |
จำนวนจริง | 6.67% |
เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม | 6.67% |
เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย | 6.67% |
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ | 6.67% |
เวกเตอร์ | 6.67% |
จำนวนเชิงซ้อน | 6.67% |
เซต | 3.33% |
เมทริกซ์ | 3.33% |
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน | 3.33% |
A-Level คณิต สอบเมื่อไหร่
A-Level คณิต จะจัดสอบรอบแรกในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยจะสอบเพียงรูปแบบเดียว คือ การสอบด้วยกระดาษ (PBT) สามารถเลือกสนามสอบได้ไม่เกิน 5 แห่ง โดยให้เรียงลำดับตามความต้องการ ต้องการที่ไหนมากสุดให้เลือกไว้ลำดับที่ 1
A-Level คณิตศาสตร์ ค่าสมัครสอบเท่าไหร่
การสอบ A-Level อัตราค่าสมัครสอบ วิชาละ 100 บาท
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เปิดให้สมัครสอบเมื่อไหร่
ปฏิทินการสมัครสอบ A-Level ได้กำหนดช่วงที่รับสมัครสอบตั้งแต่ 1 – 10 ก.พ. ของทุกปี
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ใช้ยื่นรอบไหนได้บ้าง
สามารถใช้ยื่นได้ทั้งรอบ Quota, รอบ Admission, รอบ Direct Admission ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับสมัครของแต่ละมหาวิทยาลัย
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ 2 ต่างกันอย่างไร ?
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เรื่องที่ออกสอบจะมี 16 บท ประกอบด้วย เซต ,ตรรกศาสตร์ ,จำนวนจริง ,ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ,เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ,เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ,ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ,เมทริกซ์ ,เวกเตอร์ ,จำนวนเชิงซ้อน ,หลักการนับเบื้องต้น ,ความน่าจะเป็น ,ลำดับและอนุกรม ,แคลคูลัสเบื้องต้น ,สถิติ และการแจกแจงความน่าจะเป็น
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เรื่องที่ออกสอบจะมี 8 บท ประกอบด้วย เซต ,ตรรกศาสตร์ , ฟังก์ชัน , เลขยกกำลัง , หลักการนับเบื้องต้น , ความน่าจะเป็น , ลำดับและอนุกรม และ สถิติ