ศ.ป.ท.

ทันตกรรม
Reading Time: < 1 minute

ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม

ตามที่พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม ได้กำหนดให้ทันตแพทยสภาจัดตั้ง ศ.ป.ท. ขึ้นมา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและรับรองความรู้ให้นิสิตหรือนักศึกษาที่ได้ศึกษาในคณะทันตแพทศาสตร์ ซึ่งต้องได้รับการเข้าสอบประเมินทุกคนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพทันตกรรม นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้การประกอบอาชีพเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงเป็นการควบคุมบุคคลในวิชาชีพดังกล่าวให้ประกอบอาชีพได้อย่างเป็นระเบียบและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ตามที่ ศ.ป.ท. กำหนดไว้

 

ศ.ป.ท. คืออะไร ?

ศ.ป.ท. ย่อมาจาก ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม จัดตั้งเพื่อประเมินและรับรองความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพทันตกรรมของบัณฑิตทันตแพทย์จากทุกสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความต้องการประกอบวิชาชีพในประเทศไทยตาม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของทางทันตแพทยสภา หน้าที่หลักของ ศ.ป.ท. คือ รับรองความรู้ ความสามารถของผู้ที่กำลังศึกษาและบัณฑิตที่จบการศึกษาในสาขาวิชาทันตแพทศาสตร์ ทำการบริหารจัดการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งการสอบนั้นแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาควิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐาน, ภาควิทยาคลินิกทันตกรรม และคลินิกทันตกรรม

 

รายละเอียดการสอบ คุณสมบัติ และความถี่ในการจัดสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม

การสอบ คุณสมบัติ / คุณสมบัติเฉพาะ กำหนดการสอบ
ภาคที่ 1

สอบวิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐาน สำหรับนิสิตหรือนักศึกษาที่ฝานการสอบชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป มีจำนวนทั้งหมด 300 ข้อ

ประเภทที่ 1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในสถาบันการศึกษาในประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง และต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐานมาแล้วครบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดนับถึงวันกำหนดสอบ หรือ ประมาณ 1-2 ครั้ง/ปี
ประเภทที่ 2 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในไทยที่ทันตแพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 3 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง
ภาคที่ 2

สอบภาควิทยาคลินิกทันตกรรม สำหรับนิสิตหรือนักศึกษาที่ผ่านการชั้นปีที่ 6 ภาคที่ 1 เป็นต้นไป มีจำนวนทั้งหมด 300 ข้อ

ประเภทที่ 1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในสถาบันการศึกษาในประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง และต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐานมาแล้วครบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดนับถึงวันกำหนดสอบ หรือ ประมาณ 1-2 ครั้ง/ปี
ประเภทที่ 2 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในไทยที่ทันตแพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 3 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง
หมายเหตุ : ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบที่มีคุณสมบัติใดก็ตามจะต้องผ่านการสอบภาคที่ 1 มาแล้ว
ภาคที่ 3

สอบเพื่อประเมินความสามารถทางด้านทักษะคลินิกทันตกรรม สำหรับนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 6 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการสอบแบบภาคปฏิบัติ

จะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 พร้อมกับมีคุณสมบัติ ดังนี้

ประเภทที่ 2 จบการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในไทยที่ทันตแพทยสภารับรอง หรือ

ประเภทที่ 3 จบการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง

ปีละ 1 ครั้ง

หมายเหตุ : สามารถตรวจสอบกำหนดการสอบอย่างละเอียดได้ที่ http://cda.or.th

 

การสมัครสอบมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

สำหรับการสมัครสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลในเว็บไซต์ http://cda.or.th และแนบไฟล์ รูปถ่าย รวมถึงเอกสารที่ทางศูนย์สอบฯ ได้กำหนดไว้ โดยต้องเซ็นต์สำเนาถูกต้องด้วยทุกแผ่น เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ก่อนที่จะบันทึกข้อมูลเพื่อส่งไปให้กับทาง ศ.ป.ท. โดยตรง

ขั้นตอนที่ 2 หลังจากบันทึกข้อมูลจากทางเว็บไซต์แล้ว ให้สั่งพิมพ์เอกสาร โดยต้องลงชื่อและวันที่ในใบสมัครด้วย จากนั้นพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินค่าสมัครสอบ เพื่อนำไปชำระที่ธนาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อชำระค่าสมัครสอบเสร็จสิ้น ให้ส่งเอกสารทั้งหมดรวมถึงหลักฐานการชำระเงิน ไปยังสํานักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา ตามที่อยู่ระบุไว้ทางหน้าประกาศการรับสมัคร

โดยการสมัครจะเสร็จสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวและส่งเอกสารให้ครบและถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่ได้กำหนดเท่านั้น

 

ศูนย์สอบมีที่ใดบ้าง

สำหรับสถานที่สอบนั้น โดยมากจะเป็นการสอบในคณะทันตแพทยศาสตร์ตามที่ได้ระบุไว้ในประกาศการรับสมัครของแต่ละรอบ ซึ่งจะมีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยทางผู้สมัครสามารถเลือกได้ 3 อันดับที่ต้องการ ทั้งนี้ สนามสอบในแต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามที่ ศ.ป.ท ได้กำหนด สามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ http://cda.or.th

 

คอร์สเรียนรับรองผลในการสอบ ศ.ป.ท.

สำหรับการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมกับการสอบในครั้งนี้ หลายๆคนมักมีความกังวลใจและต้องการความมั่นใจ ทั้งในเรื่องของพื้นฐานหรือการทบทวนข้อมูลในกรอบเนื้อหาที่ทางข้อสอบนั้นได้กำหนดมา ให้สถาบันจุฬาติวเตอร์เป็นผู้ช่วยในการสอบครั้งนี้ ซึ่งทางเรานั้นมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถให้คำแนะนำในส่วนของการทำข้อสอบ และช่วยในเรื่องของการจัดการเวลาให้ได้มีความพร้อมที่มากขึ้นอีกด้วยค่ะ

Related Posts