CFP คืออะไร

Certified Financial Planner
Reading Time: 2 minutes

CFP คืออะไร ?

Certified Financial Planner (CFP) เป็นคุณวุฒิสำหรับผู้ที่สนใจเส้นทางอาชีพ “นักวางแผนทางการเงิน (CFP) และ ที่ปรึกษาการเงิน (Associate Financial Planner Thai: AFPT)” ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในระดับสากลและในประเทศ โดยเทียบเท่าได้กับ CFA ซึ่งเป็นคุณวุฒิด้านการวิเคราะห์และการบริหารการลงทุน โดยในปัจจุบัน สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หรือ Thai Financial Planner Association (TFPA) เป็นผู้จัดทำหลักสูตรและจัดสอบร่วมกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยนักวางแผนทางการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคำแนะนำและการวางแผนการเงินส่วนบุคคล จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากล ซึ่งได้แก่ การผ่านการอบหลักสูตรอบรมหลักสูตรการวางแผนทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานความรู้ทั้งหมด 6 ชุดวิชา ได้แก่

ชุดวิชาที่ 1: พื้นฐานการวางแผนทางการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ

ชุดวิชาที่ 2: การวางแผนการลงทุน

ชุดวิชาที่ 3:การวางแผนการประกันภัย

ชุดวิชาที่ 4:การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ชุดวิชาที่ 5: การวางแผนภาษีและมรดก

ชุดวิชาที่ 6: การจัดทำแผนทางการเงิน

และเมื่อผ่านการอบรมแล้วนักวางแผนทางการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อทดสอบความสามารถพื้นฐานในการวางแผนการเงินในแต่ละด้าน โดยการสอบ CFP นั้นแบ่งออกเป็นข้อสอบจำนวน 4 ฉบับด้วยกัน ได้แก่

ข้อสอบฉบับที่ 1: พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ

ข้อสอบฉบับที่ 2: การวางแผนการลงทุน

ข้อสอบฉบับที่ 3: การวางแผนการประกันภัยและวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ข้อสอบฉบับที่ 4: การวางแผนภาษีและมรดก และแผนการเงิน ซึ่งแบ่งออกเป็นข้อสอบย่อยอีก 2 ส่วน ได้แก่

ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1: การวางแผนภาษีและมรดก

ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2: ข้อสอบแผนการเงิน

ทั้งนี้ ในการสมัครสอบข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ผู้สมัครสอบสามารถเลือกสอบฉบับใดฉบับหนึ่งก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับของฉบับข้อสอบ แต่สำหรับข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 ผู้สมัครสอบจำต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 และต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 5 ก่อน และสำหรับข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ผู้สมัครสอบจำต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 และต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 6 ก่อน ซึ่งเกณฑ์การสอบผ่านข้อเขียนต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มในแต่ละฉบับ

คะแนน CFP เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ?

การสอบหลักสูตร CFP เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ผู้สนใจวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จำเป็นต้องผ่านตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หรือ Thai Financial Planner Association (TFPA) และจะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP กล่าวคือ หลักสูตร CFP เป็นการสอบเพื่อให้ได้คุณวุฒิหรือใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพนักวางแผนทางการเงินนั่นเอง อย่างไรก็ตาม หลักสูตร CFP ยังมีข้อกำหนดด้านประสบการณ์การทำงานของที่แตกต่างกันระหว่างนักวางแผนทางการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT อีกด้วย เนื่องจาก 2 ตำแหน่งหน้าที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนกัน

CFP จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมเป้าหมายทางการเงินของลูกค้าในทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก ตลอดจนการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ ส่วนที่ปรึกษาการเงิน

AFPT มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางการเงินแก่ลูกค้า โดยครอบคลุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณเท่านั้น

ดังนั้น ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP นั้นนอกจากจะต้องสอบหลักสูตร CFP ผ่านทั้ง 4 ฉบับแล้วยังจำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมการเงินเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยวิชาชีพที่เกี่ยวข้องที่สามารถนับเป็นประสบการณ์ทำงานได้แก่ สำนักงานบัญชี สำนักงานกฎหมาย สถาบันการเงิน บริษัทที่ให้บริการวางแผนการเงิน หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน และหน่วยงานกำกับดูแล ขณะที่ที่ปรึกษาการเงิน AFPT ซึ่งเป็นคุณวุฒินักวางแผนการเงินเบื้องต้นนั้นจะมีเงื่อนไขของคุณวุฒิที่รองลงมา โดยต้องสอบ CFP ผ่านเพียงข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 หรือ ข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 3 เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสอบ CFP ให้ผ่านทั้งหมด 4 ฉบับ นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานมาก่อนอีกด้วย

ตารางสอบ CFP ?

หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เปิดให้สอบตามช่วงเวลาที่ต่างกันขึ้นอยู่กับข้อสอบแต่ละฉบับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

(1) ข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 เปิดสอบ 5 ครั้งต่อปี ในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายนของทุกปี โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนสมัครสอบประมาณ 2 เดือนก่อนหน้าวันสอบ

(2) ข้อสอบฉบับที่ 3 และข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 เปิดสอบ 3 ครั้งต่อปี ในเดือนมีนาคม กรกฎาคม และพฤศจิกายน โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนสมัครสอบประมาณ 2 เดือนก่อนหน้าวันสอบและ

(3) ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 เปิดสอบ 2 ครั้งต่อปี ในเดือนเมษายน และสิงหารม โดยมีช่วงเวลาประมาณ 3 เดือนก่อนหน้าในการลงทะเบียนสมัครสอบ

โดยสามารตรวจสอบช่วงเวลารับสมัครและวันสอบของหลักสูตร CFP แต่ละฉบับได้ที่เว็บไซต์ http://www.tfpa.or.th/

สมัครสอบ CFP ?

ผู้ที่สนใจสมัครอบรม หรือลงทะเบียนสอบหลักสูตร CFP สามารถสมัครสมาชิกสมาคมนักวางแผนการเงินไทยได้ที่เว็บไซต์ http://www.tfpa.or.th/ โดยกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลที่อยู่ในการออกใบเสร็จค่าธรรมเนียมในการสอบ โดยก่อนที่ผู้สมัครสอบจะสามารถลงทะเบียนสอบ CFP ได้นั้นจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงินตามชุดวิชาที่ได้กำหนดไว้ก่อนจึงจะสามารถสมัครสอบได้

ศูนย์สอบ CFP ?

ศูนย์สอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ทุกฉบับมีแห่งเดียว โดยจัดสอบที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

แนะนำหนังสือ เตรียมสอบ CFP ?

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หรือ Thai Financial Planner Association (TFPA) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้จัดทำหนังสือประกอบการอ่านสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ซึ่งแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยต่างๆ ตามข้อสอบ CFP แต่ละฉบับ ได้แก่

ข้อสอบ CFP ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ

ข้อสอบ CFP ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน

ข้อสอบ CFP ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ข้อสอบ CFP ฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก และข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 การวางแผนการเงินแบบองค์รวม

โดยหนังสือเตรียมสอบดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ที่ INVESTORY Shop อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ และศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สเรียนรับรองผล CFP ?

หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เป็นคุณวุฒิที่มีมาตรฐานในการสอบสูงซึ่งต้องใช้ความพยายาม ความตั้งใจ และกำลังใจในการสอบอย่างมาก เนื่องจากเนื้อหาของข้อสอบครอบคลุมความรู้ความเข้าใจทางการเงินในหลายด้าน แต่คอร์สเรียนรับรองผล CFP ของ Chulatutor จะช่วยให้ความท้าทายของเนื้อหาข้อสอบ CFP

Related Posts