ศ.ร.ว

วิชาชีพเวชกรรม
Reading Time: < 1 minute

ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีความสำคัญต่อวิชาชีพแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นการประกันคุณภาพวิชาชีพแพทย์ ให้มาตรฐานนักศึกษาแพทย์ทุกคนทั้งจากสถาบันผลิตแพทย์ในประเทศไทย หรือในต่างประเทศมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งแพทยสภาได้มีการกำหนดให้นิสิตหรือนักศึกษาแพทย์ทุกคนต้องผ่านการสอบเพื่อรับการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามเกณฑ์ที่ ศ.ร.ว ได้กำหนดไว้ จนนำไปสู่การขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อไป

 

ศ.ร.ว คืออะไร ?

ศ.ร.ว หรือเรียกชื่อเต็มว่า ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อประเมินและรับรองความรู้ความสามารถของบัณฑิตแพทย์จากทุกสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความต้องการประกอบอาชีพทางด้านเวชกรรม ซึ่งได้ดำเนินการจัดสอบด้วยกันทั้งหมด 3 ขั้นตอน ในแต่ละขั้นตอนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปและผู้ที่มีสิทธิ์สมัครสอบจะต้องมีลักษณะที่เป็นไปตามกำหนด สามารถสรุปออกมาได้ตามตารางดังนี้

ขั้นตอนในการสอบ คุณสมบัติของผู้สอบ
ขั้นตอนที่ 1 สอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
(Basic Medical Sciences)
เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบข้อเดียว จำนวน 300 ข้อผลสอบมีอายุ 7 ปี
ประเภทที่ 1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณทิต ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง โดยต้องมีใบรับรองจากสถาบันการศึกษาว่า ได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (ระดับปรีคลินิก) หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา จนถึงวันกำหนดสอบ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรระดับปรีคลินิกของสถาบันการศึกษาที่แพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 2 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณทิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่แพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 3 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง
ขั้นตอนที่ 2 : สอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
(Clinical Sciences)
เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบข้อเดียว จำนวน 300 ข้อผลสอบมีอายุ 7 ปี
ประเภทที่ 1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณทิต ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง โดยต้องมีใบรับรองจากสถาบันการศึกษาว่า ได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ระดับคลินิก) มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษานับถึงวันกำหนดสอบ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาของ 2 ชั้นปีนั้นตามหลักสูตรระดับคลินิกของสถาบันการศึกษาที่แพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 2 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณทิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่แพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 3 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง
ขั้นตอนที่ 3 : สอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก ประกอบด้วย OSCE,MEQ และ Long Case ผลสอบมีอายุ 3 ปี ประเภทที่ 1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ระดับคลินิก) มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ภาคการศึกษาหรือเทียบเท่า นับถึงวันสอบ โดยได้ศึกษารายวิชาในระดับคลินิกในชั้นปีที่ 6 ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 6 ของสถาบันการศึกษาที่แพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 2 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณทิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่แพทยสภารับรอง หรือ
ประเภทที่ 3 เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบอาชีพเวชกรรมในต่างประเทศซึ่งทางแพทยสภารับรอง (หากเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตฯ ดังกล่าวแต่ต่องมีเอกสารรับรองการปฏิบัติงานหลังจบการศึกษาในฐานะแพทย์ฝึกหัดหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 1 ปี ในสถาบันแพทย์ต่างประเทศหรือในไทย ที่สภาฯรับรอง ซึ่่งการปฏิบัติงานนี้จะต้องจบก่อนสมัครสอบ)
หมายเหตุ : การสอบในขั้นตอนที่ 3 นี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบประเภทใดก็ตามจะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้ว ไม่เกิน 7 ปี (นับจากวันที่แพทยสภาอนุมัติผลการสอบจนถึงวันยื่นใบสมัครสอบ) หากผลสอบจากขั้นตอนใดเกิน 7 ปี จะต้องสอบขั้นตอนนั้นใหม่ให้ผ่านก่อน

ในการสอบ ศ.ร.ว นั้นไม่ได้มีการจำกัดจำนวนครั้งในการสอบ สามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องสอบสำหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้ผ่านก่อน ถึงจะสามารถมีสิทธิ์ในการสอบขั้นตอนที่ 3 ได้ ส่วนผลคะแนนนั้นจะประกาศหลังจากวันที่สอบประมาณ 2 สัปดาห์

สำหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เฉพาะทาง ในส่วนของขั้นตอนที่ 3 เป็นการสอบภาคปฏิบัติ จึงต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเป็นหลัก

 

ตารางสอบ ศ.ร.ว เป็นอย่างไรบ้าง ?

โดยมากตารางสอบนั้นจะออกมาต่อเนื่องกันทั้งในปีนี้และปีถัดไป โดยจะมีการกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจน รวมถึงมีการแจ้งวันที่ต้องสอบไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะประกาศไว้ทางเว็บไซต์ www.cmathai.org ปกติแล้วการสอบขั้นที่ 1 และ 2 นั้นจะจัดในช่วงเดือนเมษายน และ พฤศจิกายน ส่วนขั้นตอนที่ 3 จะจัดช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม แต่ทั้งนี้กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปีแนะนำให้ติดตามประกาศของแต่ละปีจะอัพเดตมากที่สุด

 

สมัครสอบ ศ.ร.ว สามารถสมัครผ่านทางใดได้บ้าง ?

จะเป็นการสมัครผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น สามารถสมัครได้ที่ www.cmathai.org โดยเมื่อกรอกข้อมูลทั้งหมดเสร็จสิ้น ระบบจะให้พิมพ์แบบฟอร์มสำหรับการชำระเงินแล้วนำไปชำระได้ที่ธนาคารตามที่ระบุไว้ในวันและเวลาที่กำหนด การสมัครจึงจะเสร็จสมบูรณ์

 

ศูนย์สอบของ ศ.ร.ว มีที่ใดบ้าง ?

สำหรับศูนย์สอบนั้นจะมีทั้งสนามสอบทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยทางผู้สมัครสามารถเลือกสนามสอบที่ตนเองสะดวกได้ตั้งแต่สมัครสอบในครั้งแรก ทั้งนี้สนามสอบในแต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามที่ ศ.ร.ว ได้กำหนด สามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.cmathai.org ได้โดยตรงซึ่งสนามสอบส่วนใหญ่มักจะเป็นการสอบในคณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยที่ได้เปิดสอบในครั้งนั้น ๆ

 

คอร์สเรียนรับรองผลสำหรับการสอบ ศ.ร.ว

สำหรับการเรียนเพื่อเตรียมตัวกับการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น หลายๆคนอาจจะยังมีความกังวลในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษที่เฉพาะด้านมากขึ้น หรือความรู้ทางด้านพื้นฐานที่มักจะหลงลืมไปบ้างจึงจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนเพื่อใช้ในการสอบครั้งนี้ ให้ทางสถาบันจุฬาติวเตอร์เป็นผู้ช่วยสำหรับการเตรียมตัวในครั้งนี้ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำและแนวทางการปฏิบัติที่จะให้ความมั่นใจกับทางผู้เรียน ซึ่งหาที่ไหนไม่ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีการช่วยเสริมพื้นฐานในการทำข้อสอบพร้อมกับการฝึกทำข้อสอบในการเตรียมความพร้อมให้คุณอย่างเต็มที่

 

Related Posts