MED CU คืออะไร ?
MED CU หรือที่เรารู้จักกันในนามของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Medicine) ประกอบไปด้วย 21 ภาควิชา ซึ่งมีการบูรณาการในทุกด้านให้เหมาะสมกับนิสิต ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางคลินิก การปฏิบัติทางคลินิก โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาตรี 3 รูปแบบ ดังนี้
MED หรือ Doctor of Medicine แพทยศาสตรบัณฑิต
เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียน 6 ปี และนิสิตแพทย์ในระดับชั้นปีที่ 1, 3 และ 6 จะได้รับโอกาสในการวิจัยขั้นพื้นฐานและทางคลินิกเฉพาะทางทั้งในโรงพยาบาลชุมชนหรือโครงการด้านการแพทย์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีเปิดรับสมัคร 3 รอบด้วยกัน คือ
รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความนัดทางภาษาอังกฤษ)
รอบที่ 2 โควตา แบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อย
- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน
- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ
- โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา)
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกับ กสพท
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
CU-MEDi (Doctor of Medicine – International Program) – หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 4 ปี ซึ่งในหลักสูตรนี้อยู่ในขั้นตอนการประเมินจากแพทยสภาเพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานของ World Federation of Medical Education ผู้ที่จบหลักสูตรนี้จะเป็นแพทย์ที่มีความรู้ระดับนานาชาติ และความเป็นผู้นำจากทักษะเดิมที่มีอยู่มาช่วยพัฒนาให้เพียบพร้อมมากขึ้น โดยแบ่งการเรียนเป็น 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
- ช่วงที่ 1 Pre-clerkship เรียนพื้นฐานทางการแพทย์จนถึงการเรียนรู้ปัญหาของผู้ป่วย ซึ่งเน้นการเรียนแบบกลุ่มย่อย ศึกษาด้วยตนเอง และการปฏิบัติในสถานการณ์จำลองในการดูแลใกล้ชิดโดยอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงมีรายวิชาเน้นการเริ่มทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางแพทย์
- ช่วงที่ 2 Clerkship เริ่มฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย โดยมีอาจารย์ชาวต่างชาติร่วมในการเรียนการสอนด้วย
- ช่วงที่ 3 Externship เป็นการฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยทั้งในประเทศและต่างประเทศระยะเวลา 2 เดือน รวมถึงสามารถศึกษาวิจัยในสาขาที่สนใจเพิ่มเติมระยะเวลา 4 เดือน
MDCU Dual Degree Programs
หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (หลักสูตร 2 ปริญญา) เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาเรียน 6 ปี โดยมุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการแพทย์ และวิศวกรรมชีวเวช ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวิชาการต่างๆ รวมถึงนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการในระดับสากล
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ MED CU มีอะไรบ้าง ?
ทางสถาบันของเราได้สรุปคร่าวๆ มาเป็นตารางดังนี้ว่าคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ MED CU ต้องมีคะแนนอะไรบ้างมาดูกันเลย
คุณสมบัติของผู้สมัคร | MED | MEDi |
ระดับการศึกษา |
|
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายของปริญญาตรี หรือ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี |
คะแนนที่ใช้สมัคร | ||
รอบแฟ้มสะสมผลงาน |
|
|
รอบโควตา |
|
|
รอบรับตรงร่วมกับ กสพท. |
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ดูในส่วนของรายวิชาและคะแนนที่ต้องใช้เตรียมตัวสอบแล้วอย่าเพิ่งเริ่มท้อกันนะคะ ทางสถาบันจุฬาติวเตอร์ของเราก็มีเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งสามารถออกแบบคอร์สเรียนได้เอง มีความยืดหยุ่นสูง ด้วยการสอนสไตล์ easy to be expert ไม่เก่งก็สามารถเรียนได้ หรือหากต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถทักไลน์มาได้นะค่าที่ LINE ID : @chulatutor (มี @ ด้านหน้าด้วยนะ )