Menu
GED คืออะไร
GED ย่อมาจาก General Educational Development เป็นการสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของสหรัฐอเมริกา เปรียบเสมือนวุฒิ ม.6 ของอเมริกา ซึ่งได้รับการยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
ใครสามารถสอบ GED ได้บ้าง?
- ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
- ต้องการวุฒิเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
- ต้องการวุฒิเพื่อสมัครงาน
ข้อดี ของการสอบ GED
- จบ ม.ปลาย เร็วขึ้น : จากเรียน ม.ปลาย ปกติ 3 ปี เหลือเพียงแค่ไม่กี่เดือน
- ใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
- พัฒนาทักษะความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์: เนื้อหาการสอบ GED ครอบคลุมความรู้และทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน การทำงาน และการศึกษาต่อ
คอร์ส ติวสอบ GED รับรองผล จบ ภายใน 1 เดือน
ติว GED กลุ่มเล็ก 7-8 คน/ห้อง สอนสด รับรองผล สอนตั้งแต่พื้นฐาน ถึง ข้อสอบ GED รอบล่าสุด ครอบคลุม 4 วิชาที่ต้องสอบ Math , Science , RLA , Social
คอร์ส GED รูปแบบ Hybrid learning คือ เรียนสดที่สถาบัน แต่หากวันไหน น้องติดธุระ สามารถเรียนสดออนไลน์ พร้อม Tool ช่วยเรียนอีกมากมายๆ เช่น คลิปสรุปคำศัพท์ที่ออกสอบบ่อย , คลิปสรุป ประวัติศาสตร์อเมริกา us history
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
G021224 | 2 ธ.ค. - 10 ม.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
2 | เปิ้ล |
G161224 | 16 ธ.ค. - 24 ม.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
2 | เปิ้ล |
G060125 | 6 ม.ค. - 7 ก.พ. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
2 | เปิ้ล |
G200125 | 20 ม.ค. - 21 ก.พ. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
2 | เปิ้ล |
G030225 | 3 ก.พ. - 21 มี.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
G170225 | 17 ก.พ. - 4 เม.ย. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
G030325 | 3 มี.ค. - 25 เม.ย. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
G170325 | 17 มี.ค. - 9 พ.ค. | จ-ศ | 13:00-16:00 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
ข้อสอบ GED RLA (Reasoning Through Language Arts) ออกอะไรบ้าง
ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts หรือ GED RLA ที่น้องๆมักเรียก ข้อสอบมี 3 ส่วน ให้เวลาในการสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที ข้อสอบมี 3 ส่วน คือ 1. Reading 2.Extended Response 3.Reading & Standard English Convention รูปแบบข้อสอบมีทั้ง เขียนเรียงความ , แบบปรนัย , ลากตอบ
ข้อสอบสอบ GED Reasoning Through Language Arts หรือ RLA เป็นการพัฒนาข้อสอบให้เหมาะกับอาชีพและมาตรฐานของสถานศึกษา การทดสอบ GED วิชา RLA จึงเน้นการวัดทักษะหลักๆ ดังนี้
- ความสามารถในการอ่านได้อย่างเข้าใจ
- ความสามารถในการเขียนได้อย่างชัดเจน
- ความสามารถในการแก้ไขและเข้าใจการใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานเพื่อการเขียนในแต่ละบริบท
ข้อสอบประกอบไปด้วยบทความทั้งในบริบทของวิชาการและการทำงาน บทความเหล่านี้จะสะท้อนถึงระดับความซับซ้อนของภาษาในแง่มุมของโครงสร้างและลักษณะการเขียน
ในโจทย์การเขียน (เรียกว่า Extended Response (ER) items) นั้น ผู้เข้าสอบจะต้องเขียนวิเคราะห์บทความที่คัดมาให้และใช้หลักฐานจากบทความเพื่อประกอบการเขียนวิเคราะห์นั้น
สถิติ ข้อสอบ GED RLA ออกเรื่องอะไรบ้าง
ร้อยละ 75 ของบทความ ในข้อสอบจะมาจากบทความนานาชาติ (รวมถึงนวนิยายที่เขียนจากเรื่องวิทยาศาสตร์และสังคม รวมถึงบทความที่เกี่ยวกับบริบทการทำงานต่างๆ ด้วย)
ร้อยละ 25 จะเป็นบทความ วรรณคดีต่างๆ
หัวข้อของข้อสอบ GED RLA
- Reading for Meaning – การอ่านเพื่อหาความหมาย
- Identifying and Creating Arguments – การระบุและการสร้างข้อโต้แย้ง
- Grammar and Language – ไวยากรณ์และภาษา
เวลาในการทำข้อสอบ 150 นาที ซึ่งรวมเวลา 3 นาที สำหรับคำแนะนำในการทำข้อสอบและการทบทวน รวมเวลาการพักระหว่างการทำข้อสอบ Part 2 และ Part 3 10 นาที และรวมเวลา 45 นาทีสำหรับการเขียนบทความทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ การเขียนบทความ 1 บทความ (หรือเรียกว่า Extended Response คือ การฝึกต่อยอดจากข้อมูลที่โจทย์ให้)
ข้อสอบแบบตัวเลือก และ ประเภทคำถามอื่นๆ (ลากและวาง, เลือกข้อความตามพื้นที่, และตัวเลือกแบบ drop down list)
ข้อสอบ GED Science สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ Science มี 34 ข้อ เวลาในการสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที ข้อสอบจะมีหลายรูปแบบเช่น แบบปรนัย , เติมคำในช่องว่าง , การลาก
เนื้อหาที่ Science ออกสอบ เช่น Using Numbers and Graphics in Science , Designing and Interpreting Science Experiments , Reading for Meaning in Science
ข้อสอบ GED Science จะครอบคลุมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
- การเข้าใจบทความทางวิทยาศาสตร์
- การตีความข้อมูลและงานศึกษาวิจัยต่างๆ
- การประเมินการทดลองและการศึกษาวิจัยต่างๆ
- การสรุปความจากข้อมูล
- การประเมินหลักฐานจากข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
- การเปรียบเทียบผลการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
- การใช้ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ วลี และสัญลักษณ์ต่างๆ
- การเข้าใจและใช้ทฤษฎีและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ถ้าผู้เข้าสอบมุ่งเน้นศึกษาทักษะต่างๆ เหล่านี้ ผู้เข้าสอบสามารถทำข้อสอบวิทยาศาสตร์ของ GED ได้แน่นอน
สถิติ ข้อสอบ GED Science ออกเรื่องอะไรบ้าง
1. Life Science หรือ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ร้อยละ 40, ประมาณ 16 ข้อ จาก 40 ข้อ) เรื่องที่ออก
- ร่างกายและสุขภาพของมนุษย์
- ชีวิตและพลังงาน (เช่น อาหาร แคลอรี่ และการสังเคราะห์แสง)
- การไหลเวียนของพลังงานในระบบนิเวศน์ (เช่น ห่วงโซ่อาหาร ผู้ล่าและเหยื่อ)
- องค์ประกอบของชีวิต (เช่น เซลล์ อวัยวะ และระบบต่างๆ ของร่างกาย)
- การถ่ายทอดโมเลกุลทางพันธุกรรม (เช่น ดีเอ็นเอ และ ยีนส์ต่างๆ)
- วิวัฒนาการ
เราจะเห็นได้ว่า วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประกอบไปด้วยข้อมูลจำนวนมาก แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เราไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดทั้งหมด สิ่งที่เราจะเป็นต้องทำให้ได้คือ การอ่านข้อมูล เข้าใจมัน และตอบคำถามให้ได้
2. Physical Science หรือ ฟิสิกส์ (ร้อยละ 40, จำนวน 16 ข้อ จาก 40 ข้อ) เรื่องที่ออก
- ความร้อน อุณหภูมิ และการไหลเวียนของความร้อน
- ปฏิกิริยาทางเคมี และกระบวนการทางชีวภาพที่ก่อให้เกิดหรือใช้ความร้อน
- ประเภทของพลังงานและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน
- แหล่งพลังงาน เช่น แสงอาทิตย์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล
- คลื่นและแสง
- ความเร็ว อัตราความเร็ว การเร่งความเร็ว การเคลื่อนที่ และการชน
- แรงและแรงโน้มถ่วง
- การเดินเครื่องและเครื่องจักรพื้นฐาน
- โครงสร้างของสสาร รวมถึงอะตอมและโมเลกุล
- คุณสมบัติของสสาร เช่น สภาวะ (ของเหลว, ก๊าซ) และความหนาแน่น
- เคมีและสมการทางเคมี
- สารละลายต่างๆ เช่น การละลายเกลือในน้ำ
โดยส่วนมากแล้ว ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องรู้ไอเดียกว้างๆ เกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การกักเก็บพลังงานและสมการทางเคมีที่ทั้งสองด้านของสมการเคมีจะมีจำนวนอะตอมที่เท่ากัน ผู้เข้าสอบจะใช้ความรู้หลักๆ ของฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ในการตอบคำถามต่างๆ
3. Earth and Space Science หรือ โลกและอวกาศ (ร้อยละ 20, 16 ข้อ จาก 40 ข้อ) คำถามเกี่ยวกับโลกและอวกาศรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้ :
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชิวิตและสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น วัฏจักรของคาร์บอน วัฏจักรของน้ำ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล
- ภัยอันตรายจากธรรมชาติ เช่น พายุ หรือ แผ่นดินไหว – แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น น้ำ เชื้อเพลิง ที่ดิน และ อาหาร
- ชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร
- ระบบของโลก เช่น การกัดเซาะ
- โครงสร้างของโลก เช่น แกนโลก ผิวโลก และ เปลือกโลก
- จักรวาล กาแล็กซี่ ดวงดาว และระบบสุริยะ
- ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ รวมถึง โลก และการเคลื่อนที่ของระบบสุริยะ
- ยุคต่างๆ ของโลก รวมถึง ซากฟอสซิล ธรณีสัณฐาน และการนับอายุของหิน
ถ้าผู้เข้าสอบเข้าใจวิธีการอ่านบทความวิทยาศาสตร์และข้อมูลกว้างๆ ว่า กลไกการทำงานของวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร ก็น่าจะตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้ได้
ข้อสอบ GED Social Studies สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ Social Studies มี 30 ข้อ เวลาในในการสอบ 1 ชั่วโมง 10 นาที รูปแบบข้อสอบมีทั้ง เลือกตอบ เติมคำลงในช่องว่าง ลากคำตอบ
เนื้อหาที่สอบ Social : การอ่านเพื่อเข้าใจความหมายในสังคมศึกษา , การวิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการโต้แย้งในสังคมศึกษา โดยใช้ตัวเลขและกราฟในสังคมศึกษา
สถิติข้อสอบ GED Social Studies
ร้อยละ 50 เรื่องการเมืองการปกครอง (Civic and government)
ร้อยละ 20 เรื่องประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา (U.S. History)
ร้อยละ 15 เรื่องเศรษฐศาสตร์ (Economics)
ร้อยละ 15 เรื่องภูมิศาสตร์และโลก (Geography and the world)
สิ่งสำคัญของข้อสอบสังคมศึกษาคือ ตัวข้อสอบจะครอบคลุมหัวข้อทักษะกว้างๆ 3 ทักษะด้วยกัน
- การอ่านเพื่อหาวัตถุประสงค์ในเรื่องสังคมศึกษา
- การวิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และข้อโต้แย้งในเรื่องสังคมศึกษา
- การใช้ตัวเลขและกราฟในวิชาสังคมศึกษา
ในแต่ละหัวข้อสอบ Social Studies สามารถแยกเป็นหัวข้อย่อยได้ ดังนี้
การอ่านเพื่อหาวัตถุประสงค์ในเรื่องสังคมศึกษา
- ระบุและหาใจความสำคัญและรายละเอียดต่างๆ ในการอ่านเรื่องสังคมศึกษา
- เข้าใจคำศัพท์ทางสังคมศึกษา
- ระบุได้ว่าผู้เขียนใช้ภาษาอย่างไรในเรื่องสังคมนั้นๆ
- ตัดสินข้อเท็จจริงจากข้อคิดเห็นได้
- ประเมินคำกล่าวอ้างและหลักฐานทางสังคมศึกษาได้
การวิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และข้อโต้แย้งในเรื่องสังคมศึกษา
- สรุปความโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากหลักฐานในการอ่านเรื่องสังคมต่างๆ
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคน เหตุการณ์ สถานที่ และกระบวนการต่างๆ ที่บรรยายไว้ในเนื้อหาสังคมศึกษา
- ลงความเห็นเกี่ยวกับมุมมองของผู้เขียน เช่น เหตุการณ์อะไรที่ทำให้เกิดมุมมองนั้นๆ และมุมมองแต่ละมุมมองนั้นมีหลักฐานสนับสนุนหรือไม่
- พิสูจน์อคติและการโฆษณาชวนเชื่อจากการอ่านเรื่องสังคมศึกษาได้
การใช้ตัวเลขและกราฟในวิชาสังคมศึกษา
- ใช้ข้อมูลที่นำเสนออยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย เช่น แผนที่ แผนภูมิ กราฟ และ ตาราง
- เข้าใจเรื่องตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
- จำแนกความแตกต่างระหว่างสหสัมพันธ์และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้
- ใช้สถิติในสังคมศึกษา เช่น การหาค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม
ข้อสอบ GED Math สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ Math GED จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ใช้เวลาทั้งหมด 115 นาที โดยส่วนแรกจะมีคำถามทั้งหมด 5 คำถาม และส่วนที่ 2 จะประกอบไปด้วยคำถาม 41 คำถาม คำถาม Math GED จะมีระดับความหลากหลายของคำถาม ดังนี้
คำถามแบบตัวเลือก : คำถามประเภทนี้เป็นข้อสอบที่พบได้ทั่วไปในประเภทคำถามวัดประเมินต่างๆ ข้อสอบแบบตัวเลือกจะให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 1 คำตอบ จากตัวเลือก 4-5 ตัวเลือก
คำถามแบบตัวเลือกหลายข้อ : คำถามประเภทนี้จะแตกต่างจากข้อสอบแบบตัวเลือกเพียงเล็กน้อย โดยข้อสอบแบบตัวเลือกหลายข้อจะให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดจากตัวเลือกหลายๆ ข้อ ซึ่งแทนที่จะเลือกเพียงคำตอบเดียว ก็อาจจะมีคำตอบได้ถึง 2 คำตอบหรือมากกว่าก็ได้
คำถามแบบเติมคำลงในช่องว่าง : คำถามประเภทแบบเติมคำลงในช่องว่างนี้จะให้นักเรียนพิมพ์คำตอบลงในกล่องข้อความหลังคำถาม หรือกล่องข้อความที่เป็นส่วนหนึ่งของประโยค สำหรับวิชาเลข คำตอบมักจะเป็นตัวเลข แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นการเติมคำหรือวลีสั้นๆ ได้เช่นกัน
คำถามประเภทลากและวาง : คำถามประเภทนี้จะมีคำตอบที่สามารถลากคำตอบได้ เมื่อนักเรียนคลิกและค้างที่คำตอบที่เลือกแต่ละคำไว้ จะสามารถลากไปวางตรงตำแหน่งที่ต้องการจะตอบ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง บางครั้งก็อาจจะมีให้ลากไปตอบ 2 ตำแหน่งหรือมากกว่านั้น
คำถามแบบจับคู่ : คำถามประเภทนี้จะให้นักเรียนเลือกติ๊กที่กล่องที่ข้อมูลในแต่ละคอลัมน์นั้นๆ ตรงกับข้อมูลในอีกฝั่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในคอลัมน์อาจจะมีคำตอบว่า “ถูก” หรือ “ผิด” นักเรียนจะต้องอ่านข้อมูลในแถวอีกฝั่งนึงเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลในแถวฝั่งนั้นถูกหรือผิด
คำถามแบบใส่ข้อมูลในตาราง : คำถามประเภทนี้มักใช้ตารางที่คำนวณค่าตัวเลขได้ที่มี 2 คอลัมน์ ในแต่ละเซลล์จะมีกล่องข้อความที่ให้นักเรียนพิมพ์จำนวนตัวเลขที่จะทำให้ค่าในตารางนั้นถูกต้อง
เรื่องที่ออกสอบ GED Math
คณิตศาสตร์นั้นเป็นวิชาที่แพร่หลายที่รวบรวมเอาศาสตร์ของคณิตศาสตร์แขนงต่างๆ แต่ว่าเราจะเจอศาสตร์ไหนของเลขในข้อสอบกันล่ะ ดังนั้น เราเลยรวบรวมเอาคำถาม GED พร้อมคำตอบมาให้ค่ะ
คณิตศาสตร์พื้นฐาน Basic Math
จำนวนและวิธีคิดทั้ง 4 รูปแบบ – การบวก การลบ การคูณ และการหาร คือเรื่องพื้นฐานของคณิตศาสตร์ สิ่งนี้แหละที่เราเรียกว่า คณิตศาสตร์พื้นฐาน และยังมีเรื่องประเภทของจำนวนอีกหลากหลายประเภท เช่น จำนวนเต็ม เลขทศนิยม จำนวนร้อยละ และเศษส่วน คณิตศาสตร์พื้นฐานยังรวมถึง เลขยำกำลังและการหารากกำลังสองด้วย
เรขาคณิต Geometry
รูปร่างต่างๆ เป็นส่วนที่สำคัญของคณิตศาสตร์ ข้อสอบ GED จะถามคำถามเกี่ยวกับรูปร่างชนิดต่างๆ และจำนวนที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างเหล่านั้น เราจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ก้อนลูกบาศก์ แท่งปริซึ่ม ปีระมิด และแท่งทรงกรวย คำถามจะถามเราเกี่ยวกับพื้นที่ เส้นรอบวงของรูปร่างสองมิติ และปริมาตรและพื้นผิวของรูปร่างสามมิติ
พีชคณิตพื้นฐาน Basic Algebra
พีชคณิตเป็นส่วนขยายของกรอบคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร และเลขยกกำลัง สิ่งเดียวที่พีชคณิตแตกต่างออกไปคือ พีชคณิตจะใช้ตัวอักษร ที่เรียกว่า ตัวแปร ใช้แทนที่ตัวเลขบางตัว เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้น เราจะได้นิพจน์เชิงพีชคณิตและสมการพีชคณิต (algebraic expressions and equations)
คำถามของข้อสอบ GED จะตั้งโจทย์ถามให้เราแก้สมการพีชคณิตและการทำให้นิพจน์พีชคณิตเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งการทำให้นิพจน์พีชคณิตและการแก้สมการพีชคณิตและการทำอสมการนั้น จะใช้สูตรพีชคณิตศึกษา
กราฟและฟังค์ชั่น Graphs and function
ฟังค์ชั่นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการป้อนและการแสดงผลข้อมูลตัวเลข เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าผู้เข้าสอบมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องฟังค์ชั่น เราจะต้องรู้เรื่องของระนาบพิกัดฉาก (คู่อันดับ) กราฟพื้นฐาน รูปแบบของฟังค์ชั่น และการจำแนกประเภทของฟังค์ชั่น ข้อสอบ GED จะถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เหล่านี้ของฟังค์ชั่น
การระบุพิกัดในระนาบ เส้นกราฟ และการแก้อสมการในเส้นระนาบนั้น และสามารถนำมาระบุตำแหน่งในระนาบ ตีความกราฟ และประเมินค่าฟังค์ชั่นได้
ข้อสอบ GED ยากไหม
ข้อสอบ GED ไม่ยาก สำหรับวิชาที่ง่ายที่สุด GED Science และวิชาที่น้องๆ หลายคนบ่นว่ายากที่สุด คือ GED RLA
วิธีสมัครสอบ GED.com Login
- ไปที่หน้า GED Login https://app.ged.com/signup
- สมัครโดยใช้ E-mail ของน้องคนที่จะสอบ และ ตั้ง Password
- กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดยอมรับเงื่อนไข
- กรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของน้อง
- เลือกประเทศที่จะสอบ ที่นี่เลือก ประเทศไทย
- จากนั้นให้เลือก I plan to study on my own (Self-study) แปลว่า เลือกที่จะเตรียมตัวสอบด้วยตนเอง แล้วกด continue
- เสร็จก่อนสร้าง ID สำหรับ Login
ค่าใช้จ่ายในการสอบ GED
ค่าสอบ ต่อ วิชา (ประมาณ 2,700 บาท ต่อวิชา)
ค่าสอบ Ready 6.99 USD / วิชา (ประมาณ 240 บาท ต่อวิชา)
ค่าใบ Diploma และ Transcript 15 USD / ใบ (ประมาณ 500 บาท ต่อใบ) โดยแบบการจัดส่งจะจัดส่งแบบเร่งด่วน (FEDEX) ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
สอบ GED ออนไลน์ ได้ไหม ?
การสอบ GED จะสอบออนไลน์ทั้งหมด โดยหาก น้องสอบ GED Ready สามารถสอบออนไลน์ได้จากที่บ้าน แต่สำหรับการสอบเทียบ GED เพื่อขอวุฒิจะต้องสอบออนไลน์ ที่ศูนย์สอบเท่านั้น
มหาลัยที่รับผลการเรียน GED เข้าคณะไหนได้บ้าง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับวุฒิ General Educational Develop ในการยื่นสมัครเข้า ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรอินเตอร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับ General Educational Develop ในการยื่นสมัครเข้า ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรอินเตอร์
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ( MUIC) รับวุฒิ General Educational Develop ในการยื่นสมัครเข้า ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรอินเตอร์ ทั้งนี้ คะแนนสอบเทียบนี้ ยังสามารถใช้ยื่นเข้าคณะอินเตอร์ ต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย
วิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ (ภายในประเทศ)
วิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ (ต่างในประเทศ)
วุฒิสอบเทียบนี้ ยังสามารถใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ น้องๆ ต้องมีคะแนน IELTS และ คะแนน SAT ประกอบการยื่นสมัครเข้าเรียนต่อ หรือในบ้างมหาวิทยาลัย หากน้องมีคะแนน GED ในระดับ College ready + Credit score คือคะแนนอยู่ที่ 175-200 คะแนน น้องอาจะมีสิทธิ์เข้าเรียนต่อได้เลย โดยไม่ต้องสอบ ทั้งนี้อยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัย