GMAT คืออะไร
Graduate Management Admission Test หรือ ชื่อย่อ GMAT หรือ ถูกพัฒนาโดย The Graduate Management Admission Council (GMAC) คือ รูปแบบการทดสอบเพื่อวัดทักษะของคนที่วางแผนในการเรียนต่อระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ ของหลายสถาบันในสหรัฐอเมริกา รวมถึงใครที่อยากเข้าเรียนคณะ MBA ระดับปริญญาโทของเมืองไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นิด้าบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น ก็ต้องใช้คะแนนดังกล่าวเพื่อประเมินด้วย รวมถึงอีกหลายสถาบันทั้งในเมืองไทยและอีกหลายประเทศ
ข้อมูลเบื้องต้นของ GMAT Exam มีอายุการใช้คะแนน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสาร ค่าสอบ 250 USD ต่อการสอบ 1 ครั้ง ใช้รูปแบบการสอบโดยคอมพิวเตอร์ เฉลี่ยแต่ละปีจะมีผู้เข้าสอบจากทั่วโลกมากถึง 250,000 คน กันเลยทีเดียว
Menu
GMAT มีกี่พาร์ท ยากไหม แนวข้อสอบเป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับใครที่สงสัยว่า GMAT มีกี่พาร์ท ก็ต้องขอแบ่งรายละเอียดออกเป็น 3 พาร์ทใหญ่ ๆ และใช้งานกันทั่วโลก ซึ่ง GMAT แนวข้อสอบของแต่ละพาร์ท มีดังต่อไปนี้
1. Quantitative
ข้อสอบ มีทั้งหมด 38 ข้อ
เวลาสอบ 75 นาที
ข้อสอบมี 2 พาร์ท คือ
1. Problem Solving 24 ข้อ
2. Data Sufficiency 13 ข้อ
เนื้อหาข้อสอบพาร์ทแรกจะเน้นในเรื่องของการวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาในด้านของเลขคณิต, พีชคณิต และเรขาคณิต ทั้งนี้ต้องอธิบายว่าลักษณะข้อสอบจะไม่ใช่การคำนวณแบบคณิตศาสตร์ แต่เป็นการหาเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลว่ามีเพียงพอมากน้อยไหน และมีการแก้โจทย์ด้วย
2. Verbal Section
ข้อสอบ มี 41 ข้อ
เวลาสอบ 75 นาที
ข้อสอบมี 3 ส่วน คือ
1. Reading Comprehension 14 ข้อ
2. Critical Reading 14 ข้อ
3. Sentence Correction 13 ข้อ
ข้อสอบส่วนนี้จะวัดทักษะทางภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการอ่านและสร้างความเข้าใจของบทความ, การให้เหตุผลและการประเมินข้อโต้แย้ง, การเขียนเพื่อแก้ไขบทความสำหรับสื่อความหมายให้เกิดความสมบูรณ์
3. Analytical Writing Assessment
ข้อสอบ มี 12 ข้อ
เวลาสอบ 30 นาที
ข้อสอบมี 2 ส่วนคือ
1. การเขียนเชิงวิเคราะห์ (Analytical Writing) เพื่อประเมินทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสื่อสารความคิดเห็นของผู้สอบด้วยวิธีเขียน ต้องใช้การเขียน essay หรือเขียนเรียงความ 1 เรื่อง ให้เวลา 30 นาที
2. การให้เหตุผลเชิงบูรณาการ (Integrated Reasoning) เพื่อประเมินทักษะด้านการแปลพร้อมวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่โจทย์กำหนด ต้องเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมด้วย มี 12 ข้อ ให้เวลา 30 นาที
ข้อสอบส่วนนี้จะเป็นการทดสอบด้านความถนัดเกี่ยวกับการเขียนวิเคราะห์
ข้อสอบ GMAT ยากไหม
สำหรับหลายคนที่กำลังจะสอบอาจจะมีข้อสงสัยว่าข้อสอบยากไหม แล้วอะไรที่เป็นปัจจัยให้คนส่วนมากทำคะแนนสอบได้ไม่ค่อยดี วันนี้ทาง จุฬาติวเตอร์ จะสรุปให้
1. ข้อสอบมีเวลาจำกัด
ข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่แข่งกับเวลา โดยพาร์ทคณิตศาสตร์ จะมีให้ทำเฉลี่ย 1ข้อ/2นาที ,พาร์ท Verbal Section เวลาทำข้อสอบเฉลี่ย 1ข้อ/1.45 วินาที ซึ่งถือว่าเวลาค่อนข้างน้อย ผู้เข้าสอบควรฝึกทำข้อสอบเก่า แบบจับเวลาจะช่วยให้เวลาสอบจริง สามารถบริหารเวลาได้
2. ข้อสอบปรับความยากง่ายตามผู้สอบ
ข้อสอบเป็นระบบ Computer Adjusted Testing (CAT) คือ ข้อสอบจะปรับความยาก ง่าย ตามผู้สอบ โดย 10 ข้อแรกถือว่าสำคัญที่สุด หากผู้เข้าสอบสามารถตอบถูก ข้อถัดไปก็จะยากแต่ผู้เข้าสอบก็จะมีโอกาสได้คะแนนที่สูงขึ้น กลับกันหาก 10 ข้อแรก มีข้อที่ตอบผิด จำนวนมาก ข้อถัดไปจะง่าย แต่ผู้เข้าสอบก็จะได้คะแนนน้อย
3. ข้อความวัดความสามารถทักษะที่หลากหลาย
ข้อสอบวัดทักษะต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ การบริหารจัดการเวลา การบริหารความกดดันจากการทำข้อสอบ วัดทักษะการอ่านแบบจับใจความ การคิดแบบตรรกะ และทักษะอื่นๆ เพราะฉะนั้นผู้เข้าสอบไม่ควร เตรียมสอบเป็นแยกรายวิชา แต่ควรฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ แล้วจับเวลา
4. ความกดดันในการทำข้อสอบ
เนื่องจากข้อสอบมีทั้งการจับเวลา และ เงื่อนไขอื่นๆ เช่น ปีหนึ่งห้ามสอบเกิน 5 ครั้ง , สอบได้แค่ 8 ครั้งตลอดชีวิต จึงทำให้ผู้สอบหลายคนกดดัน คาดสมาธิในการสอบ
GMAT สมัครสอบยังไง
เมื่อเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบอย่างครบถ้วนแล้ว หากวางแผนอยากเรียนต่อตามสถาบันที่คาดหวังและต้องใช้คะแนนตัวนี้คงเกิดคำถามตามมาอีกว่า GMAT สมัครสอบยังไง ทุกคนสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลย ไม่ยากอย่างที่คิด
1. คลิกเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ https://www.mba.com/ จากนั้นเลือก Register for the GMAT
2. เลือก Register Now แล้วทำการกรอกข้อมูลของตนเองให้ครบถ้วนเป็นภาษาอังกฤษ และยังสามารถเลือกสนามสอบที่ต้องการได้ด้วย
3. เลือกช่องทางในการชำระเงิน พร้อมใส่ข้อมูลเพื่อจัดส่งใบเสร็จ และข้อมูลชำระเงินของตนเองให้ครบถ้วน หากดำเนินการทุกอย่างเรียบร้อยก็จะรับอีเมลเพื่อยืนยันสิทธิ์ของตนเอง
ค่าสมัครสอบ GMAT
ค่าสอบ $250 ดอลลาร์
ตารางสอบ GMAT
GMAT มีสอบทุกเดือน แต่มีรายละเอียดเงื่อนไขในการสอบดังนี้
สอบได้ 5 ครั้งต่อปี : โดยนับจากเดือนที่แรกสอบ ไม่ได้นับจากรอบปีปฎิทิน เช่น หากสอบ เดือน เมษายน , ตุลาคม , ธันวาคม , มกราคม ผู้เข้าสอบจะมีโอกาสสอบอีก 1 ครั้ง ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม
สอบครั้งต่อไปต้องเว้นระยะสอบ 16 วัน : ผู้เข้าสอบแต่ละครั้งต้องเว้นระยะสอบ 16 วันถึงจะสอบรอบใหม่ได้
สอบได้ 8 ครั้งตลอดชีวิต
คะแนน GMAT Scores มีความหมายอย่างไร
550 คะแนนขึ้นไป คือ Average GMAT Score
700 คะแนนขึ้นไป คือ Good GMAT score
740 คะแนนขึ้นไป คือ Excellent GMAT score
ควรได้ คะแนน GMAT เท่าไร
สำหรับคนที่จะอยู่เข้าศึกษาต่อ Business Schools หรือ Business Programs ควรได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน หากเป็นมหาลัยชั้นนำระดับโลก ควรได้คะแนน GMAT 650 – 700 คะแนนขึ้นไป
GMAT สอบทีไหน
สำหรับการสอบ GMAT จะมี 2 แบบคือ สอบแบบ Online และ สอบแบบ On Site
ศูนย์สอบ GMAT
สำหรับคนที่ต้องสอบแบบ On-Site สามารถเลือกศูนย์สอบได้ โดย ศูนย์สอบจะมี 2 แห่งคือ
ศูนย์สอบ GMAT กรุงเทพ
อยู่ที่ Pearson Professional Centers ชั้น 10 อาคาร Bangkok Business (ตึก BB / Emirates) ที่อยู่ Bangkok Business Building ชั้น 10 เลขที่ 54 สุขุมวิท21 กรุงเทพ 10110 เบอร์โทรศัพท์ 02-664-356
ศูนย์สอบ GMAT เชียงใหม่
อยู่ที่ A&A Neo Technology ที่อยู่ 248/55-56 ถนนมณีนพรัตน์ ศรีภูมิ อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50200 เบอร์โทรศัพท์ 053 227 500-2
🔥คอร์ส GMAT สอนสด รับรองผล
คอร์สติวสอบแบบสด ๆ โดยติวเตอร์จากสถาบัน ทุกห้องมีผู้เรียนไม่เกิน 10 คน การสอนเป็นแบบ Hybrid Learning เนื้อหาที่เรียนจึงครบถ้วน กรณีไม่สะดวกเข้าเรียนสามารถเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ได้ทันที เรียนตามคนอื่นทันแน่นอน หรือถ้ามีข้อสงสัยสามารถสอบถามติวเตอร์ได้ทันที เพิ่มโอกาสในการสอบผ่านมากขึ้น
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
IN110125 | 11 ม.ค. - 26 ม.ค. | ส-อา | 10:15-16:15 | [เต็มแล้ว] |
-1 | เปิ้ล |
IN080225 | 8 ก.พ. - 23 ก.พ. | ส-อา | 10:15-16:15 | จองที่นั่ง
|
5 | เปิ้ล |
เรียน GMAT ตัวต่อตัว
อร์สติวแบบตัวต่อตัวกับติวเตอร์ มั่นใจว่าจะได้เทคนิคสำหรับการสอบเพิ่มเติมแน่นอน จะเลือกเข้าเรียนกับสถาบันก็มีห้องเรียนแยกต่างหาก ได้ความเป็นส่วนตัว หรือถ้าใครเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ก็ทำได้เช่นกัน คอร์สเรียนดี ๆ ที่พร้อมทำให้ทุกคนมีคะแนนตามเป้าหมายคาดหวังเอาไว้ อยากรู้รายละเอียดใดเพิ่มเติมสอบถามได้ทันที
ข้อสอบ GMAT VS GRE ต่างกันอย่างไร เลือกสอบตัวไหนดี
ข้อสอบ GMAT
ใช้สำหรับสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะธุรกิจ เช่น การตลาด , การเงิน , MBA
ข้อสอบ GRE
ใช้สำหรับเข้าศึกษาต่อ ปริญญาโท , ปริญญาเอก คณะทั่วไป และบ้างคณะธุรกิจ
สรุป หากต้องการเข้า ปริญญาโท คณะธุรกิจ โดยตรงควรสอบ GMAT แต่หากเข้าคณะอื่นควรสอบ GRE
ความแตกต่างของข้อสอบ GMAT VS GRE
GMAT Math จะเน้นตรรกะ Logic ในการคิด
GRE จะเน้นการใช้ภาษาและความเข้าใจระดับสูง ส่วน Math จะไม่ยาก