IB คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง สอบดีไหม
IB หรือ บางคนจะเรียก IB Diploma ก็ได้เช่นกัน นับเป็นอีกรูปแบบการเรียนและการสอบที่น่าสนใจมาก สำหรับน้อง ๆ รวมถึงผู้ปกครองที่วางแผนอนาคตเอาไว้ว่าอยากให้บุตรหลานของตนเองได้เรียนต่อในระดับปริญญาตรีกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ดังนั้นการศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจอย่างละเอียดจะช่วยเรื่องการตัดสินใจเลือกเรียนง่ายขึ้น
Table of Contents
สอบ IB คืออะไร
การสอบ IB คือ รูปแบบของหลักสูตรการเรียนเทียบได้กับเกรด High School หรือระดับมัธยมปลายตามลักษณะการศึกษาในเมืองไทย ผ่านการยอมรับจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศจำนวนมาก นั่นเท่ากับหากสามารถทำคะแนน IB Diploma สอบออกมาได้ดีเยี่ยมเท่ากับโอกาสเข้าเรียนสถาบันที่คาดหวังเอาไว้หลายแห่งก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม อย่างไรก็ตามจะต้องเข้าเรียนตามหลักสูตร IB Programme ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ
– IB Primary Years Programme หรือ PYP เป็นรูปแบบการเรียนระดับต้น ผู้เรียนอายุตั้งแต่ 3-12 ปี
– IB Middle Years Programme หรือ MYP เป็นรูปแบบการเรียนระดับกลาง ผู้เรียนอายุตั้งแต่ 11-16 ปี
– IB Diploma Programme หรือ IBDP เป็นรูปแบบการเรียนระดับประกาศนียบัตรนานาชาติ ผู้เรียนอายุตั้งแต่ 16-19 ปี
โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB เป็นอย่างไรบ้าง
เพื่อการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องอยากให้ทุกคนศึกษาข้อมูลนี้กันสักเล็กน้อย โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB เมื่อเข้าไปเรียนแล้วจะมีการจัดหมวดหมู่รายวิชาเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
– Language A1 (Studies in Language and Literature)
– Second Language (Language Acquisition หรือ Language B เป็นวิชาภาษาหลักที่ 2 เช่น Spain, Italian, German, French
– Individuals and Societies เช่น Philosophy, Economics, Business and Management
– Experimental Sciences เช่น Physics, Chemistry and Biology
– Mathematics เช่น Mathematics (SL, HL), Further Mathematics
– Arts and Electives เช่น Visual Arts, Film, Music, Dance, Theatre Arts
IB Diploma สอบยุ่งยากไหม มีเงื่อนไขอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
สำหรับการเลือกเรียน IB Diploma สอบ สอบมีความยุ่งยากแค่ไหน ขั้นพื้นฐานในการสอบต้องเลือกเรียนพร้อมสอบ 6 กลุ่มวิชา ซึ่งกลุ่ม 1-5 ถือเป็นกลุ่มวิชาบังคับ ต้องเลือกเรียนอย่างน้อย 1 รายวิชา ขณะที่กลุ่ม 6 ก็เลือกเพิ่มเติมว่าต้องการสอบวิชาใด
ตัวคะแนนจะแบ่งเป็นวิชาละ 7 คะแนน รวม 42 คะแนน ขณะที่อีก 3 คะแนน เป็นการทำกิจกรรมเพิ่มเติมตามหลักสูตร ประกอบไปด้วย
– Creativity, Action, Service (CAS) ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนไม่ต่ำกว่า 50 ชม. ต่อกิจกรรม ซึ่งตัวกิจกรรมเองจะเป็นอีกเกณฑ์ที่บอกด้วยว่าผ่านหรือไม่
– Theory of Knowledge (ToK) ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 100 ชม. อีกทั้งต้องมีการเขียน Essay ให้ได้ 1,200-1,600 คำ
– Extended Essay (EE) เป็นการเขียน Essay โดยต้องมีจำนวนคำไม่ต่ำกว่า 4,000 คำ
ทั้งนี้ยังมีการแบ่งระดับการสอบออกเป็น 2 ระดับด้วย นั่นคือ
– Standard Level (SL) ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 150 ชม. รูปแบบการเรียนเป็นไปตามเนื้อหาพื้นฐาน การประเมินคะแนนแบ่งเป็น 1-7 ต่อรายวิชา
– Higher Level (HL) ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 240 ชม. รูปแบบการเรียนเจาะลึกมาก ทำให้บางวิชาสามารถโอนหน่วยกิตได้หากเข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยที่มีรายวิชาเดียวกัน (ต้องเลือกสอบในระดับนี้อย่างน้อย 3 วิชา)