MED RAMA คืออะไร ?
MED RAMA หรือที่เรารู้จักกันในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเน้นให้มีจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้หลายสาขาวิชา โดยให้ผู้เรียนสามารถคิดและวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของความเป็นแพทย์ ที่ต้องมีการติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในวิชาชีพแพทย์ได้ตลอดชีวิต
MED RAMA รูปแบบการเรียนเป็นอย่างไร ?
สำหรับการเรียนในหลักสูตร MED RAMA ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี แบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็น 3 ช่วง และเสริมด้วยวิชาเลือก ดังนี้
- ชั้นปีที่1 เรียนวิชาความรู้พื้นฐานที่จะนำไปใช้ต่อในชั้นพรีคลินิกและคลินิก รวมไปถึงวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง
- ชั้นปีที่ 2–3 (ชั้นปรีคลินิก) ศึกษาการทำงานของร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติและเมื่อเป็นโรคต่างๆ โดยบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์พื้นฐาน
- ชั้นปีที่ 4-6 (ชั้นคลินิก) เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาล เป็นหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วย รวมถึงศึกษาอาการและการรักษาโรคผ่านการฝึกทักษะกับอาจารย์แพทย์สาขาต่างๆ การพูดคุยกับผู้ป่วย ฝึกงานใน ห้องคลอดและห้องผ่าตัด เข้าค่ายทักษะชีวิต เพื่อเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น และฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในเขตชุมชนและต่างจังหวัด
- วิชาเลือกเสรี เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ และด้านอื่นๆ
- วิชาเลือกคลินิก เพื่อเสริมประสบการณ์ในสาขาวิชาที่ตนเองสนใจ
ซึ่งในหลักสูตรนี้จะมีโครงการพิเศษคือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งจะมีการคัดเลือกนักศึกษาผู้จบการศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีผลการเรียนดี และมีศักยภาพ แยกไปศึกษาจนสำเร็จระดับปริญญาเอก แล้วจึงกลับมาเรียนต่อชั้นคลินิกที่คณะแพทย์ต้นสังกัดจนสำเร็จเป็นบัณฑิตแพทย์
หลักสูตร MED RAMA ต้องเรียนที่ไหนบ้าง ?
อยากรู้กันใช่ไหมคะ ว่าตลอดระยะเวลา 6 ปีที่เราเรียนในหลักสูตร MED RAMA ต้องเรียนกันที่ไหน ? เรามาดูกำหนดการคร่าวๆ ได้ดังนี้เลยค่ะ
- ชั้นปีที่ 1 เรียนวิชาศึกษาทั่วไป ที่วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม
- ชั้นปีที่ 2 และ 3 เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
- ปลายชั้นปีที่ 3 จนถึงชั้นปีที่ 6 เรียนและฝึกปฏิบัติงานใน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลชุมชนในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดนครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี ขอนแก่น ระยอง ฉะเชิงเทรา และ กาญจนบุรี
- ชั้นปีที่ 6 ฝึกเวชปฏิบัติทางคลินิก ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาและโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
อยากเข้า MED RAMA ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?
ในการรับสมัครการคัดเลือกเข้าศึกษา MED RAMA จะแบ่งออกเป็น 2 รอบด้วยกัน ดังนี้
- รอบที่ 1 Portfolio
- รอบที่ 3 รับตรงร่วมกับ กสพท.
คุณสมบัติของผู้สมัคร | รอบที่ 1 Portfolio | รอบที่ 3 โครงการรับตรง ร่วมกับกสพท. |
ระดับการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า | มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า |
คะแนนภาษาอังกฤษ | TOEFL iBT หรือ IELTS | GPAX O-NET วิชาเฉพาะ (กสพท.) วิชาสามัญ (ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย และสังคมศึกษา) |
คะแนนกลุ่มวิทยาศาสตร์ | GPAX / A-Level / IB (Biology: Molecular, Chemistry และ Math level 2 หรือ Physics) |
|
แบบทดสอบเฉพาะ | BMAT | |
Portfolio | Personal statement กิจกรรมทางวิชาการ, กิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์และความสามารถพิเศษ หนังสือรับรองจากอาจารย์ 2 ท่าน |
– |
เมื่อผ่านการคัดเลือกคะแนนเบื้องต้นแล้วในหลักสูตรนี้เป็นอีก 1 โครงการที่ใช้ในส่วนของการสัมภาษณ์แบบ Multiple Mini Interview (MMIs) มีความสำคัญในการตัดสินการคัดเลือกถึง 70% เลยล่ะค่ะ ซึ่งน้องๆ คนใดที่ยังไม่ได้เริ่มเตรียมตัวก็ลองเช็คลิสต์สำหรับการวางแผนล่วงหน้ากันได้แล้วนะคะ ทางสถาบันจุฬาติวเตอร์นั้นมีคอร์สเรียนที่สามารถช่วยเสริมพื้นฐานและความมั่นใจในการทำข้อสอบเพื่อให้เป็นไปตามที่หวัง กับรูปแบบการสอนสไตล์ easy to be expert ไม่เก่งก็สามารถเรียนได้ หรือต้องการคำแนะนำ การปรึกษาเพิ่มเติมก็ติดต่อมาที่ Line ID : @chulatutor ได้เลยนะคะ