pharmacycouncil

เภสัชกรรม
Reading Time: < 1 minute

ความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการเภสัชกรรม

สำหรับอาชีพเภสัชกรนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน จึงต้องมีการควบคุมทั้งความรู้ความสามารถ และคุณภาพของบัณฑิตทุกคนที่จบการศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีความต้องการประกอบอาชีพนี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ ความสามารถในระหว่างที่ได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 5 ขึ้นไป มีการสอบผ่านเกณฑ์ครบทั้งหมดเมื่อสำเร็จการศึกษาจึงจะได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากทางสภาเภสัชกรรมที่ได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติ

 

สภาเภสัชกรรม คืออะไร

สภาเภสัชกรรมได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ที่ประกอบอาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่เพื่อรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในหลักสูตรวิชาเภสัชศาสตร์ของสถาบันต่าง ๆ รวมถึงขั้นตอนในการขอรับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ที่ต้องการประกอบในอาชีพนี้ ให้อยู่ภายใต้การควบคุมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณและการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางสภาเภสัชกรรม

 

ผู้มีสิทธิ์สมัครสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ที่กําลังศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตร์ของสถาบันในประเทศไทยที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรองปริญญา
  • เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตร์ของสถาบันในประเทศไทยที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรองปริญญา
  • เป็นผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศที่สภาเภสัชกรรมรับรองและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สภาเภสัชกรรมได้กําหนดอย่างครบถ้วนแล้ว

นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาแล้ว ยังได้กำหนดไว้ด้วยว่า ต้องศึกษาให้ครบทุกวิชาตามหลักสูตรของชั้นปีที่ 4 ตามแผนการศึกษาของแต่ละหลักสูตรโดยจะต้องลงทะเบียนให้ครบและมีผลการประเมินทุกวิชา รวมถึงผ่านการฝึกปฏิบัติวิชาชีพภาคบังคับมาไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง ซึ่งหากมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่แสดงไว้ การสมัครเข้าระบบของการสอบและผลสอบจะเป็นโมฆะทันที

 

ตารางสอบทั้งหมดเป็นอย่างไร และต้องสอบตัวใดบ้าง ?

สำหรับตารางสอบนั้นจะมีกำหนดการสอบประกาศออกมาทั้งปีผ่านทางเว็บไซต์ https://plecenter.org โดยจะมีการแจ้งทั้งประเภทการสอบ และกำหนดการตารางวัน-เวลาต่างๆของแต่ละประเภท โดยจะมีทั้งการสอบ PLE-CC1, PLE-PC2, PLE-CC1, PLE-CC2, OSPE และ MCQ ซึ่งตารางนั้นจะมีตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนมีนาคม เมษายน และธันวาคม ผลสอบจะประกาศหลังช่วงสอบประมาณ 1-2 เดือนหลังจากการทดสอบ

 

การสมัครสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

การสมัครสอบนั้น ทางคณะเภสัชศาสตร์จะเป็นผู้ส่งเอกสารการสมัครเข้าระบบของนิสิตหรือนักศึกษาที่คาดว่าจะจบการศึกษาตามหลักสูตร (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสมัครสอบมาก่อน) หลังจากนั้นทางเว็บไซต์จะประกาศรหัสประจำตัวของนิสิตหรือนักศึกษาในการสอบ ซึ่งจะเปิดการลงทะเบียนทางหน้าเว็บไซต์ https://plecenter.org/ เพื่อสมัครให้สอบประเภทต่าง ๆ ในวันที่กำหนดไว้เท่านั้น และจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบให้ตรวจสอบจากในระบบอีกครั้ง

สำหรับการกรอกข้อมูลในระบบนั้นจะให้กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและรหัสประจำตัวผู้สอบจากนั้นให้เข้าสู่การลงทะเบียนซึ่งจะมีให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ซึ่งให้ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยันการบันทึกข้อมูล หากผ่านขั้นตอนนี้แล้วจะเป็นการลงทะเบียนการสอบและให้ยืนยันรอบสอบดังกล่าวเพื่อพิมพ์เอกสารสำหรับการชำระเงินกับทางธนาคารภายในระยะที่กำหนด

ส่วนการยืนยันการชำระเงินนั้น จะต้องดำเนินการภายใน 1 วันทำการหลังจากการชำระเงินเรียบร้อย หากกรณีที่มีปัญหาให้เข้าระบบอีกครั้งแล้วอัพโหลดหลักฐานการชำระเงินให้เรียบร้อย และจากนั้นก็สามารถพิมพ์ใบแสดงสิทธิ์เข้าสอบได้อย่างเรียบร้อยนั่นเองค่ะ

 

ศูนย์สอบมีที่ใดบ้าง

สำหรับสนามสอบในการสอบแต่ละประเภทนั้นจะมีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งจะมีประกาศออกมาพร้อมรายชื่อของนิสิตหรือนักศึกษาในรอบนั้น ๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยตรงผ่านทางระบบการลงทะเบียนของตนเองที่ได้สมัครสอบ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสอบภายในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับรองจากทางสภาเภสัชกรรม ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มมหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยพะเยา

 

คอร์สเรียนรับรองผลสำหรับการเตรียมตัวสอบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

หากใครที่ยังอยู่ในช่วงเตรียมการสอบของทั้งการสอบทักษะวิชาชีพแบบข้อเขียนและการปฏิบัติ แต่ยังมีความกังวลในส่วนของเนื้อหาของการออกข้อสอบว่าเป็นอย่างไร หรือการไม่คุ้นชินกับลักษณะการทำข้อสอบ ให้ทางสถาบันจุฬาติวเตอร์ได้เป็นผู้ช่วยกับการสอบครั้งนี้ ด้วยลักษณะการเรียนที่เข้าใจง่าย ครอบคลุมทุกเนื้อหา และยังมีความยืดหยุ่นได้ตามผู้เรียน ด้วยสไตล์การสอนแบบ easy to be expert จึงช่วยให้คุณมีความพร้อมและมีความมั่นใจในการทำข้อสอบได้ไม่ยาก

 

Related Posts