ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Reading Time: 2 minutes

จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม

ต้องบอกว่าที่ มจร. ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งศาสนาระดับชาติเลยทีเดียว เพราะที่ มจร. นั้นมีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd) ไม่แพ้มหาวิทยาลัยรัฐชื่อดังในไทย โดยการเรียนการสอนจะเน้นการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติท ที่นี่ไม่ได้เด่นด้านศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเน้นงานวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน โดยหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก ผ่านการใช้วิธีสหวิทยาการ มีการประยุกต์องค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มาใช้ในการแก้ปัญหาสังคม ศีลธรรม รวมถึงจริยธรรม ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลอีกด้วย

 

ประวัติของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)

มจร. ได้รับการสถาปนาโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงโปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย และได้เปิดทำการสอนเป็นทางการในปี พ.ศ. 2432 ต่อมามีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อ วันที่ 13กันยายน พ.ศ. 2439 จากนั้นในปี พ.ศ 2490 จึงได้มีประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัย โดยทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก และด้วยความก้าวหน้าของทางสถาบัน ทำให้ มจร. นั้นได้พัฒนาการศึกษาและขยายไปสู่ระดับนานาชาติ โดยรับวิทยาลัยพุทธศาสนาดองกุก ชอนบอบ ประเทศเกาหลีใต้เข้าเป็นสถาบันสมทบเป็นแห่งแรก ปัจจุบันมีสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 7 แห่ง 6 ประเทศ นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ซึ่งถือเป็นการพัฒนา มจร. สู่การเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของการศึกษาพระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียน การพัฒนาในจุดนี้ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว

 

ทำไมถึงต้องเรียน ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)

ที่ มจร. นั้นมีบุคลากรและคณาจารย์ที่มีคุณภาพสูงทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากการเป็น HUB ด้านการศึกษาพุทธศาสนา และมีสถาบันสมทบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับนานาชาติ มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยได้มีการนำระบบไอที MIS เข้ามาใช้เพื่อช่วยในการส่งเสริมการเรียนการสอนได้อย่างฉับไวและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญยังมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างสากล นอกจากนี้ มจร. ยังมีการพัฒนา MCUTV มาเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตในส่วนภูมิภาคได้เรียนรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในส่วนกลาง โดยทาง มจร. ได้ทุ่มเททางด้านงบประมาณสำหรับระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อช่วยสนับสนุนการศึกษา และยังมีการพัฒนาอีบุ๊ค (E-Book) เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้รับความรู้อย่างเท่าเทียมกัน ในแง่การค้นคว้าวิจัยและการสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติม มจร. ก็มีระบบ UNI-Net มาช่วยในการบริการของห้องสมุดอีกด้วย ดังนั้นถือว่า มจร. เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ล้ำหน้าด้านเทคโนโลยี และพร้อมเปิดโอกาสในการเรียนรู้อย่างแท้จริง

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

Doctor of Philosophy Program in Buddhist Studies

ในหลักสูตรนี้จะมีให้เลือกเรียนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ โดยเป้าหมายของหลักสูตรนี้จะเน้นการผลิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ให้มีความรู้ความเข้าใจพระไตรปิฎกและคัมภีร์พระพุทธศาสนาอย่างละเอียดลึกซึ้ง ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติและสามารถบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยเน้นการจุดประกายทางด้านความคิด ให้สามารถพินิจและวิเคราะห์ ตัดสินใจในการศึกษาวิจัยหลักพุทธธรรมในเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อสังคมและส่วนรวม โดยในหลักสูตรนี้มีการนำแนวคิดใหม่ๆ ผสมผสานกับทฤษฎีและหลักปฏิบัติในอดีต โดยใช้ตัวช่วยอย่างเทคโนโลยี มาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพของหลักสูตร นอกจากนี้ในหลักสูตรยังส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านการนำเสนอทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย

คุณสมบัติของผู้สมัคร ป.เอก มจร. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และต้องมีคุณสมบัติอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • ได้รับค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.50 ยกเว้นผู้มีประสบการณ์ทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือมีผลงานทางวิชาการที่คณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัยเห็นชอบ
  • ต้องนำเสนอหัวข้อโครงการวิทยานิพนธ์ที่มีความเป็นไปได้ และมีรายละเอียดครอบคลุม
  • ผ่านการสอบข้อเขียนตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด
  • มีการสอบสัมภาษณ์ตามเนื้อหาโครงร่างวิทยานิพนธ์ และความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

Doctor of Philosophy in Philosophy

หลักสูตรนี้จะเป็นการเน้นในด้านปรัชญาโดยเฉพาะ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ส่วนในด้านการเรียนการสอนจะจัดเป็นทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยผู้เรียนจะต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษ และเลือกภาษาต่างประเทศอีก 1 ภาษา เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศส โดยในหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ ใช้ความคิดและวิเคราะห์ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเข้ากับโลกสมัยใหม่ได้ และเน้นการเรียนรู้ผ่านการทำงานวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านปรัชญาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์

Doctor of Philosophy Program in Pali Buddhist Studies

การเรียนการสอนในหลักสูตรนี้จะใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงภาษาบาลีด้วยเช่นกัน โดยในหลักสูตรนี้มีการเชิญอาจารย์พิเศษจากคณะพุทธศาสตร์ หรือจากบัณฑิตวิทยาลัย มาเป็นผู้สอนหรือผู้ร่วมสอนในบางรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาบาลีพระไตรปิฎกและหลักธรรมในพุทธศาสนา สำหรับเป้าหมายของหลักสูตรนี้ก็คือ การเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์บาลีพระไตรปิฎก ทำความเข้าใจได้อย่างท่องแถ้เพื่อต่อยอดไปสู่การจัดระบบองค์ความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงเผยแผ่พระสัทธรรมแก่สังคมโลก

คุณสมบัติของผู้สมัคร ป.เอก มจร. สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ ที่แตกต่างจากสาขาอื่นคือ

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือเปรียญธรรมเก้าประโยค ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษ
  • ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.25 ยกเว้น ผู้มีประสบการณ์การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่สำเร็จการศึกษา

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดุษฎีบัณฑิต สาขาสูตรสันติศึกษา

Doctor in Philosophy of Peace Studies

หลักสูตรนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ IBSC หรือหน่วยการศึกษานานาชาติ ซึ่งออกแบบมาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านสันติภาพ และสามารถทำการวิจัยที่บูรณาการระหว่างพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์แห่งการสร้างสันติภาพ ในระหว่างหลักสูตรจะมีการประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ เช่น ความเป็นผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดองผ่านกิจกรรมการศึกษา โดยในหลักสูตรยังเน้นในเรื่องของการพัฒนาจิตใจ การมีคุณธรรม ความเคารพต่อตนเองและผู้อื่นเป็นหลัก ส่วนระยะเวลาเรียนนั้น ไม่ควรน้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติและไม่เกิน 10 ภาคการศึกษาปกติ นอกจากนั้นในหลักสูตรยังให้ความสำคัญกับการวิจัย โดยมีข้อกำหนดด้านทักษะการวิจัยอย่างน้อย 12 ชั่วโมงอีกด้วย

คุณสมบัติของผู้สมัคร ป.เอก มจร. สาขาสูตรสันติศึกษา ที่แตกต่างจากสาขาอื่นคือ

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าโดยมีเกรดเฉลี่ยอย่างน้อย 3.5 ในระดับ 4.0
  • มีจดหมายแนะนำจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือ Recommendation Letter
  • มีจดหมายแสดงความประสงค์และเหตุผลของการศึกษาต่อ หรือ statement of career goals
  • มีประวัติการทำงานหรือ CV แนบมาด้วย
  • มีคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งคือ TOELF(iBT) ขั้นต่ำ 82 หรือ IELTS ขั้นต่ำ 6.5

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะครุศาสตร์

หลักสูตร ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา

Doctor of Philosophy Program in Buddhist Educational Administration

เป็นหลักสูตรแบบ 3 ปี โดยการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หลักสูตรนี้เน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการบริหารศึกษาที่มีคุณภาพ โดยนำความรู้ในวิชาการทางพระพุทธศาสนา ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา ผ่านทางการวิเคราะห์ และการทำวิจัย จัดระบบเพื่อนำไปใช้ในการบริหารงานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตร ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา Doctor of Philosophy in Buddhist Psychology

เป็นหลักสูตรแบบ 3 ปี เน้นการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ในหลักสูตรนี้จะเน้นการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านจิตวิทยาในพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพ เพื่อสามารถนำไปต่อยอดในการช่วยเหลือสังคมได้อย่างเต็มที่

 

หลักสูตร ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร Doctor of Philosophy Program in Linguistics

สำหรับหลักสูตรภาษาศาสตร์นั้นใช้ระยะเวลา 3 ปี โดยใช้การเรียนการสอน รวมถึงตำราทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในหลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ และความสามารถทางด้านภาษาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ภาษาและสร้างองค์ความรู้ไหม่ ๆ ด้านภาษาได้ เพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ รวมถึงเผยแพร่พระพุทธศาสนาในฐานะพระธรรมทูตทั้งในและต่างประเทศ

 

ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์

หลักสูตร ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ Doctor of Philosophy Program in Buddhist Management

หลักนี้เป็นหลักสูตรแบบ 4 ภาคการศึกษา ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน โดยจะเน้นการทำความเข้าใจในทฤษฎีและองค์ความรู้ของพุทธศาสนา ซึ่งผู้เรียนสามารนำไปใช้ต่อยอดในด้านการจัดการเชิงพุทธได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หลักสูตร ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม/Doctor of Philosophy Program in Social Development

เป็นหลักสูตรแบบ 3 ปี โดยใช้การเรียนการสอน รวมถึงตำราทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรนี้จะเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้อย่างลึกซึ้งในด้านสังคมศาสตร์ เพื่อนำไปใช้พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตซึ่งทำให้เกิดสังคมคุณภาพ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในการใช้หลักธรรมคำสอนจากศาสนาพุทธไปประยุกต์ใช้กับความรู้สมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน

 

เกณฑ์พิเศษ ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์

ในส่วนของการสมัครเรียนคณะนี้ จะมีเกณฑ์พิเศษเพิ่มอีกอย่างคือ เรื่องของการสอบภาษาอังกฤษ โดยจะมีเกณฑ์ในการทดสอบ การฟัง พูด อ่าน เขียน รวมเป็น 400 คะแนน และผู้สมัครต้องสอบให้ได้ขั้นต่ำ 60% ถึงจะผ่านเกณฑ์การรับสมัคร

 

คุณสมบัติของผู้เข้าสมัคร ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และต้องมีคุณสมบัติอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • ผ่านการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด
  • มีคะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกําหนด
  • รายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ตามที่ คณะ ป.เอก มจร. กำหนด

 

หลักเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาต่อ ป.เอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผลคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

  • ผลสอบ TOEFL Paper Based ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน
  • ผลสอบ TOEFL Computer Based ไม่ต่ำกว่า 213 คะแนน
  • ผลสอบ TOEFL Internet Based ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน
  • ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.5 คะแนน
  • ผลสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 70 คะแนน
  • ผลสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน
  • ผลสอบ MCU-GET ไม่ต่ำกว่า 240 คะแนน
Related Posts