การสร้าง “ปัญญาของแผ่นดิน” คือ ปณิธานอันใหญ่ของมหิดล
กว่า 120 ปี จาก ศิริราช สู่ “มหาวิทยาลัยมหิดล” สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติ ที่มีความหลายหลากของสาขาวิชาการทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ โดยมุ่งมั่นในการเป็นศูนย์รวม “ปัญญา” ดั่งปณิธานของมหาวิทยาลัยที่มีความหมายลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ “ปัญญาของแผ่นดิน” ที่เน้นการผลิตบุคลากรทางด้าน global professional เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ ม.มหิดล คงเป็นชื่อที่ใครๆ ก็รู้ดีว่าเชี่ยวชาญในการสร้างบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ และอยู่คู่กับชาวไทยมาเนิ่นนานดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้คือ มหิดลได้พัฒนาหลักสูตรออกมาให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งสายธุรกิจหรือสายศิลป์ รวมถึงมหาวิทยาลัยเองก็มีศูนย์วิจัยติดอันดับชาติ ซึ่งดึงให้ Ranking ของมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีหลักสูตรอีกมากมายหลากหลายสาขาที่ทางสถาบันได้ผลิตออกมาให้มีคุณภาพสูงเพื่อก้าวสู่การเป็น “World Class University” อย่างแท้จริง
ประวัติของม.มหิดล
ในอดีตม.มหิดลใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ซึ่งก็เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามชื่อเลย โดยมีวิทยาเขตอยู่หลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2550 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ และปี 2551 มีแผนแม่บทพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว นอกจากนี้มหิดลยังจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน โดยมี 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน
มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่ตั้งในหลายพื้นที่ ดังนี้
- พื้นที่ศาลายา
- พื้นที่บางกอกน้อย
- พื้นที่พญาไท
- พื้นที่ต่างจังหวัด ได้แก่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ วิทยาเขตกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ วิทยาเขตอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
ทำไมถึงต้องเรียน ป.เอก มหิดล
จากการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างเข้มข้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้นอกจากจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางการแพทย์แล้ว มหิดลยังมีชื่อเสียงและคุณภาพในระดับนานาชาติเลยทีเดียว มหิดลนั้นติดอันดับ Ranking ในด้านคุณภาพการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม ศูนย์วิจัย จากองค์กรสากลต่างๆ มากมาย อาทิเช่น QS Ranking จัดให้มหิดลอยู่ในอันดับที่ 380 ของโลก ส่วน Times Higher Education (THE) จัดอันดับ ให้มหิดลเป็นที่ 1 ของประเทศไทย โดยผ่านกฎเกณฑ์การชี้วัดที่สำคัญ คือ Teaching (the learning environment) 25%, Research (volume, income and reputation) 30%, Citation (research influence) 30%, International Outlook (staff, students and research) 7.5% และ Industry Income (knowledge transfer) 7.5% นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นตัวการันตีดีกรีความพร้อมทางด้านศูนย์วิจัยและฐานข้อมูล ส่วนภายในมหาวิทยาลัยเองก็ได้มีการสร้างระบบนิเวศที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่าง Mahidol Smart University ที่ประกอบด้วย ICT based, Co-working Space, Intelligent Library, Inter Campus Communication, International Center, Educational Management Information System โดยวันนี้ CU Tutor ขอหยิบยกคณะที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรนานาชาติ)/ Doctor Of Philosophy Program In Materials Science And Engineering (International Program)
หลักสูตร ป.เอก มหิดล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ จะเป็นหลักสูตรนานาชาติ ที่ถือว่าโด่งดังและน่าสนใจไม่แพ้คณะแพทยศาสตร์เลยทีเดียว ที่สำคัญมีทุนการศึกษาและทุนวิจัยให้เยอะมาก (ปริญญาโทและปริญญาเอก) โดยถ้าหากใครที่สนใจจะต่อยอดทางความรู้ในด้าน Material Science ในการเป็นอาจารย์หรือการทำงานในแง่นักวิจัยและ Consultant หลักสูตรนี้ถือว่าตอบโจทย์ โดยโครงสร้างหลักสูตรนั้นเน้นที่การศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุประเภทต่างๆ เช่น วัสดุสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ การแปรรูปวัสดุวัสดุขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรม โดยมีกลุ่มวิจัยหลักดังนี้
- Advance Technology for Energy and Sustainability
- Ultra Fast Laser & Nonlinear Microscopy
- Nanobiotechnology And Nanobiomaterial
- Center of Intelligent Materials and System
คุณสมบัติผู้สมัคร ป.เอก มหิดล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
แผน 1
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
- มีผลคะแนนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- มีประสบการณ์ด้านการวิจัยและต้องอยู่ในโครงการที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีบันทึกข้อตกลง (MOU)กับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันของผู้สมัคร
แผน 2
- จบปริญญาตรี วุฒิการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ
- จบปริญญาโท สาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลคะแนนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- ข้อยกเว้นอื่น ๆ อาจได้รับการพิจารณาจากผู้อำนวยการหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ทั้ง 2 แผนการเรียนต้องยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดดังนี้
เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร | เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา | เกณฑ์สำเร็จการศึกษา | ||||
ประเภทคะแนนทดสอบ | คะแนนรวม | การพูด | การเขียน | คะแนนรวม | การพูด | การเขียน |
IELTS | 3 | – | – | 6 | 6 | 6 |
TOEFL-iBT | 32 | – | – | 79 | 19 | 23 |
MU GRAD PLUS
MU GRAD TEST + SPEAKING |
40 | – | – | 90 | 12 | 12 |
MU GRAD TEST | 40 | – | – | – | – | – |
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรสาธารณะสุข
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)/ Doctor Of Public Health Program (International Program)
ในด้าน ป.เอก มหิดล หลักสูตรสาธารณะสุข นั้นถือเป็นหลักสูตรที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้แก่มหิดลมายาวนาน โดยคณะนี้ได้ผลิตบุคคลากรที่ทรงความรู้และออกไปช่วยพัฒนาระบบสาธารณะสุขเพื่อสังคมและประเทศชาติเป็นจำนวนมาก ทางหลักสูตรเน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างการยอมรับการเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์ชั้นนำด้านการศึกษา การวิจัยบูรณาการ และนวัตกรรมจัดการบริการวิชาการบนพื้นฐานระบบธรรมาภิบาล โดยหากใครกำลังมองหาหรือต่อยอดการเป็นนักพัฒนาและบริหารด้านสาธารณะสุข หลักสูตรนี้ตอบโจทย์มากๆ เพราะสามารถนำไปต่อยอดในการบริหารองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายสาธารณสุข ทั้งภายในประเทศต่างประเทศ โดยมีผลงานที่ได้รับการยอมรับมากมาย อาทิเช่น Health Policy, Strategic Planning, Health Evaluation, PMQA, R&D, R2R, Tobacco Control, การบริหารโรงพยาบาล, เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ฯลฯ เรามี Research Centre in Health Economics and Evaluation และ Academic Centre in New Public Health and System Management (NP&SM)
ที่สำคัญได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและงานวิจัยเป็นจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้มีการมอบทุนวิจัยและทุนการศึกษาในแขนงนี้อยู่ตลอดเวลา ภายในคณะสาธารณะสุขเองก็มีแหล่งเรียนรู้และศูนย์ข้อมูลเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถทุ่มเทกับการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยจะมีหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
- สำนักงานบริการเทคโนโลยีสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม (OPHETS) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งให้เป็นหน่วยบริการวิชาการของคณะฯ โดยรวมพลังอาจารย์ นักวิชาการผู้มีประสบการณ์ ผู้มีความสามารถและเชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากทุกภาควิชา ในการพัฒนาวิชาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บริการแก่สังคม
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิชาการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (Centre for Research and Development in Public Health and Environment Health Work : CRPHE) เน้นการวิจัยและพัฒนาการวิจัยพื้นที่และวิจัยประยุกต์ด้านสาธารณสุข โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขศาสตร์ และทำการให้การบริการวิชาการสู่สังคม
คุณสมบัติผู้สมัคร ป.เอก มหิดล หลักสูตรสาธารณะสุข
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) หรือเทียบเท่าจาก สถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับรอง โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50
- มีผลคะแนนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย
- มีประสบการณ์ทำงานด้านสาธารณสุขหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
- ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ อาจได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมโครงการโดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาการจัดการ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ)/ Doctor of Philosophy program in Management
ใครอยากเรียนสายการบริหารจัดการเพื่อที่จะออกไปเป็นผู้นำแห่งการบริหารระดับองค์กร หรือต่อยอดเป็นนักการศึกษาหรืออาจารย์หลักสูตร ป.เอก สาขาวิชาการจัดการ ที่มหิดลก็มีพร้อม ที่สำคัญยังเป็นหลักสูตรนานาชาติอีกด้วย ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้และความเข้าใจในระดับอินเตอร์เลยทีเดียว โดยองค์ความรู้ในสาขานี้สามารถช่วยในเรื่อง Career Path ได้อีกเยอะ ตัวโปรแกรมจะเน้นการจัดการและความเชี่ยวชาญในหลายสาขาวิชา โดยนักเรียนทุกคนจะได้อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อเข้าเรียนในหลักสูตนี้ ซึ่งทีมคณาจารย์แต่ละท่านนั้นจะเชี่ยวชาญในสายงานสาขาวิชาเฉพาะของนักศึกษาปริญญาเอกโดยเฉพาะ ทำให้มั่นใจได้ว่าการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติถูกพัฒนาไปอย่างถูกทิศทาง อาทิเช่น การจัดการเชิงกลยุทธ์ พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการระบบสารสนเทศ การจัดการข้ามวัฒนธรรมและระหว่างประเทศ การจัดการเชิงกลยุทธ์การตลาด การเงิน ความเป็นผู้นำ เศรษฐศาสตร์การจัดการ และเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาการจัดการ
- จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการหรือสาขาที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนที่แข็งแกร่งโดยมีเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ 3.50
- มีประสบการณ์การวิจัยมาก่อนและมีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยเพียงพอ
- ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากประธานโครงการ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมตามความจำเป็น
- มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษตรงตามข้อกำหนดของวิทยาลัยการจัดการและบัณฑิตวิทยาลัย คะแนน TOEFL Paper Based 575 ขึ้นไป (TOEFL iBT: 90+) หรือคะแนน IELTS 6.5 ขึ้นไป ผู้สมัครที่มีคะแนน TOEFL ระหว่าง 550 ถึง 575 สามารถได้รับการพิจารณาให้ยอมรับภายใต้เงื่อนไขในการปรับปรุงคะแนนภาษาอังกฤษเป็น 575 ภายในปีที่ 1 ของปริญญาเอก โปรแกรม
- ผู้สมัครที่ไม่มีคะแนนสอบ TOEFL หรือ IELTS สามารถทำแบบทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ITP ของ CMMU ได้
- คะแนน GMAT 600 ผู้สมัครที่ไม่มี GMAT สามารถทำแบบทดสอบวิเคราะห์ CMMU
- หลักฐานประสบการณ์การวิจัยและ / หรือความสามารถ
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาภาษาศาสตร์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์/ Doctor Of Philosophy Program in Linguistics
อย่างที่บอกว่ามหิดลไม่ได้มีดีแค่ทางด้านสายวิทย์หรือการแพทย์ ที่นี่ยังมีสายศิลปศาสตร์อย่างด้านภาษาศาสตร์ที่น่าสนใจและโดดเด่นเปิดสอนอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งแท้จริงแล้วภาควิชานี้แรกเริ่มเดิมทีคือ “โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเชียอาคเนย์” โดยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จากนั้นจึงได้รับการยกฐานะเป็น “สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท” ในปี พ.ศ. 2524 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย” เมื่อปี พ.ศ. 2552 ยิ่งเมื่อมีสถาบันภาษาเป็นของตนเองแล้ว ยิ่งสามารถสร้างความแข็งแกร่งในแง่การเรียนการสอน และงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยมหาวิทยาลัยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานทางด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาความรู้ให้ก้าวหน้าและกว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศต่างๆ และเผยแพร่วัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รวมไปถึงวัฒนธรรมอินเดียและจีนให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย
คุณสมบัติผู้สมัคร ป.เอก มหิดล สาขาวิชาภาษาศาสตร์
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรระดับเกียรตินิยมหรือ
- สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์ หรือปริญญาโท สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50
- มีประสบการณ์วิจัยด้านภาษาศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติ
- อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือ นำเสนอผลงานวิชาการเวทีระดับชาติ หรือนานาชาติ ที่มีการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการประชุมที่มีผู้ประเมิน (peer review proceedings) อย่างน้อย 1 ผลงาน
- ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย