Portfolio คืออะไร
Portfolio แปลว่า แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่ง Portfolio คือ สิ่งที่เรารวบรวมหรือจัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถ และผลงานต่าง ๆของบุคคลนั้น ๆ โดยบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จัก Portfolio กันในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็น Portfolio มีอะไรบ้าง โปรแกรมทำ Portfolio และอื่น ๆ อีกมากมาย
Portfolio สำคัญอย่างไร
Portfolio มีความสำคัญอย่างมากสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ได้สำคัญแค่เฉพาะกับน้อง ม. 6 เท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้ว เราควรทยอยเก็บผลงานเพื่อรวบรวมเป็น Portfolio ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะเริ่มประมาณช่วง ม. 4 เพื่อให้คณะกรรมการที่สัมภาษณ์เรานั้น ได้เห็นความสามารถของเราที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรับสมัครของระบบ Admission ในรอบแรก ๆ จะค่อนข้างเน้นเรื่อง Portfolio เป็นอย่างมาก แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีการกำหนดรูปแบบหรือเกณฑ์ของ Portfolio ที่แตกต่างกันออกไป
Portfolio มีอะไรบ้าง
อย่างที่บอกไปแล้วว่า Portfolio นั้นจะมีการกำหนดรูปแบบหรือเงื่อนไขแตกต่างกันไปในแต่ละคณะ ดังนั้น ก่อนอื่นเลยเราต้องศึกษาเงื่อนไขดังกล่าวของคณะที่เราสนใจ เพื่อให้ Portfolio ของเรานั้นมีข้อมูลตามที่คณะต้องการอย่างครบถ้วน ซึ่งจุดนี้แหละค่ะที่เป็นจุดสำคัญที่จะทำให้ Portfolio ของเราตอบโจทย์คณะที่เรายื่นได้เป็นอย่างดี โดยปกติแล้วที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้ทำการกำหนดจำนวนหน้าของ Portfolio ของผู้สมัครว่าจะต้องไม่เกิน 10 หน้า (โดย 10 หน้านั้นจะไม่รวมปก) ส่วนเนื้อหาใน 10 หน้านั้นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มหาวิทยาลัยและคณะสามารถกำหนดได้เองตามความเหมาะสม แต่นั่นก็เป็นเพียงการขอความร่วมมือเท่านั้น จึงอาจจะมีบางมหาวิทยาลัยหรือบางคณะที่อาจจะไม่กำหนดจำนวนหน้าดังกล่าวก็ได้
ก่อนอื่นเราจะพูดถึงกรณีที่คณะที่เราสนใจมีการกำหนดเงื่อนไขมาแค่เพียงเรื่องจำนวนหน้า ว่าจะต้องเป็นไปตามที่ ทปอ. นั่นก็คือ 10 หน้า โดยที่ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าใน Portfolio นั้นต้องมีอะไรบ้าง แนะนำให้น้อง ๆ เรียงลำดับและใส่ข้อมูล ดังต่อไปนี้ค่ะ
- หน้าปก
- ประวัติส่วนตัว (หน้าที่ 1)
- ประวัติ/ข้อมูลการศึกษา (หน้าที่ 2)
- เหตุผลที่เลือกเรียนคณะนั้น ๆ (หน้าที่ 3)
- ผลงาน รางวัล รวมไปถึงเกียรติบัตรต่าง ๆ (หน้าที่ 4-7)
- กิจกรรมที่เข้าร่วม (หน้าที่ 8-10)
เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า แต่ละหัวข้อต้องทำอย่างไรบ้าง
หน้าปก : ในส่วนนี้ควรทำให้ดูโดดเด่นและดึงดูดความสนใจ ดูปุ๊บก็รู้เลยว่าเราอยากเรียนเกี่ยวกับอะไร และรายละเอียดสำคัญ ๆ ต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชื่อ สกุล โรงเรียน รวมไปถึงคณะหรือหลักสูตรที่เราจะยื่น
ประวัติส่วนตัว (หน้าที่ 1) : ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่บ่งบอกถึงข้อมูลของตัวเราอย่างรอบด้าน ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ต้องครบถ้วน และที่สำคัญคือ “ความสามารถพิเศษ” ที่อยากแนะนำให้นำเสนออกมาให้คณะกรรมการรู้สึกได้ว่า ความสามารถพิเศษของเรานั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนคณะหรือหลักสูตรนี้ได้เป็นอย่างดี และรูปภาพของเราต้องชัดด้วยนะคะ
ประวัติ/ข้อมูลการศึกษา (หน้าที่ 2) : หัวข้อนี้จะค่อนข้างชัดอยู่แล้ว นั่นก็คือ เป็นส่วนที่เราต้องรวบรวมข้อมูลประวัติการศึกษาของเราโดยแนะนำว่าให้แยกช่วงม.ต้น กับ ม.ปลาย บอกถึงผลการศึกษา หรือเกรดเฉลี่ย อาจจะทำให้อยู่ในรูปแบบตารางเพื่อให้ดูง่ายขึ้นก็ได้
เหตุผลที่เลือกเรียนคณะนั้น ๆ (หน้าที่ 3) : สำหรับส่วนนี้แนะนำเป็นการเขียนเรียงความ แต่ไม่ต้องยาวมากก็ได้ค่ะ เพราะคณะกรรมการที่ดูอาจจะไม่มีเวลามากนัก โดยสิ่งที่เราจะเขียนลงไป พยายามเน้นไปที่ความสนใจ ความตั้งใจ และมุมมองเชิงบวกต่อคณะหรือหลักสูตรที่เรายื่น แต่ถ้าดีหน่อยคือ อาจมีบางคณะที่จะให้หัวข้อในการเขียนมา อันนี้ก็จะง่ายขึ้นหน่อยค่ะ
ผลงาน รางวัล รวมไปถึงเกียรติบัตรต่าง ๆ (หน้าที่ 4-7) : พยายามเน้นผลงานที่โดดเด่นที่สุด หรือมีความเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่เราสนใจมากที่สุดมาค่ะ โดยเฉพาะน้อง ๆ สายกิจกรรม เป็นนักล่าเกียรติบัตรตัวโยง ซึ่งจะมีเกียรติบัตรหรือรางวัลอะไรต่าง ๆ ค่อนข้างเยอะ ไม่ต้องนำมาใส่ทั้งหมดนะคะ แต่หากใครที่ไม่ค่อยได้มีผลงานหรือเกียรติบัตรเท่าไหร่ แนะนำให้เรียงลำดับ ให้สิ่งที่โดดเด่นและเกี่ยวข้องที่สุดมาก่อนค่ะ
กิจกรรมที่เข้าร่วม (หน้าที่ 8-10) : ในส่วนนี้ สิ่งที่เป็นหลักฐานได้ชัดเจนที่สุด นอกเหนือจากเกียรติบัตร ก็คือรูปถ่ายหรือเอกสารรับรองต่าง ๆ หากเราไปร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานใหญ่ ๆ โดยแนะนำให้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือหลักสูตรที่เราจะยื่น จะดีมาก ๆ ค่ะ
แต่อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า อาจจะมีหลาย ๆ คณะหรือหลักสูตรที่อาจจะไม่กำหนดจำนวนหน้าตามที่ ทปอ. กำหนดก็ได้ ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรค่ะ ที่เราจะเห็นคณะต่าง ๆ มีการกำหนดรูปแบบของ Portfolio ไว้ละเอียดยิบ ในหัวข้อต่อไปเราจะยกตัวอย่างมาให้น้อง ๆ ดูกันค่ะว่า ที่บอกละเอียดยิบนั้น มันจะขนาดไหนกันเชียว
ตัวอย่างการกำหนดรูปแบบ Portfolio ของคณะต่าง ๆ ในระบบ Admission รอบ Portfolio
คณะ / หลักสูตร / โครงการ | ระบบการเรียน | รายละเอียด Portfolio |
หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ภาคปกติ |
– รูปเล่มมีความหนาไม่เกิน 10 หน้า A4 (ไม่รวมปก)
– หน้าปกติดรูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว 1 รูป และระบุชื่อ นามสกุล พร้อมระบุโครงการที่ทำการสมัคร – เนื้อหาใน Portfolio ต้องแสดงถึงความรู้ ความสามารถ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านศิลปะการออกแบบ หรือสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย – ประวัติการอบรวม หรือการเข้าร่วมกิจกรรม – รางวัลในการเข้าร่วมการแข่งขันที่เกี่ยวข้อง – ภาพผลงานด้านศิลปะ การออกแบบ และสถาปัตยกรรม |
วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง |
ภาคปกติ |
– จัดทำในรูปแบบไฟล์เอกสาร PDF จำนวน 1 ไฟล์ ไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวมปกหน้า-หลัง)
– ไม่ต้องมีคำนำ-สารบัญ – ขนาดไฟล์ไม่เกิน 20 MB – ใน 10 หน้านั้น ต้องประกอบและเรียงลำดับ ดังนี้ – หน้า 1 : ข้อมูลส่วนตัว ความสนใจ ความสามารถพิเศษ – หน้า 2 : ประวัติการศึกษา – หน้า 3 : จดหมายแนะนำตัวที่บอกถึงเหตุผลในการสมัครเรียนหลักสูตรนี้ – หน้า 4 : ประกาศนียบัตรต่าง ๆ (ถ้ามี) – หน้า 5 : ระเบียนแสดงผลการเรียน – หน้า 6 : ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (ถ้ามี) – หน้า 7 : หลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ (ถ้ามี) – หน้า 8-10 : ผลงานนวัตกรรม กิจกรรม หรือรางวัลการแข่งขันระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่สมัคร |
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นานาชาติ |
– จัดทำผลงาน 12 ชิ้นงาน แล้วบันทึกผลงานลงใน USB Flash drive พร้อมติดชื่อ นามสกุลของผู้สมัครเป็นภาษาอังกฤษ ติดลงบน USB Flash drive
– บันทึกตามรูปแบบที่กำหนด คือ – บันทึกเป็นไฟล์ PDF จำนวน 1 ไฟล์ รวม 12 หน้า (1 ชิ้นงานต่อ 1 หน้า) ขนาดไฟล์ไม่เกิน 25 MB – บันทึกเป็นไฟล์ JPEG จำนวน 12 ไฟล์ ( 1 หน้าต่อ 1 ไฟล์) โดยให้รวมทั้ง 12 ไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน พร้อมตั้งชื่อเป็นชื่อและนามสกุลของผู้สมัครเป็นภาษาอังกฤษ – ขนาดแต่ละหน้าของไฟล์ PDF ต้องกว้าง 1920 พิกเซล และสูง 1080 พิกเซล เท่านั้น – ต้องระบุชื่อ-นามสกุลของผู้สมัครที่เป็นภาษาอังกฤษตรงมุมขวาด้านล่างของผลงานทุกหน้า |
สาขาวิชาสื่อศึกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
นานาชาติ | Portfolio ต้องแสดงให้เห็นถึง
– การทำกิจกรรมและการเข้าร่วมการแข่งขันด้านสื่อสารมวลชน หรือ – การผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานด้านสื่อสารมวลชนสู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี หรือ – การทำกิจกรรมหรือการเข้าร่วมการแข่งขันจนได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชนในระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือนานาชาติ |
จากตารางดังกล่าว เป็นเพียงแค่ตัวอย่างของบางคณะ บางมหาวิทยาลัยเท่านั้นนะคะ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ารูปแบบที่ถูกกำหนดออกมานั้นจะมีความละเอียดแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงแนะนำน้อง ๆ ว่าก่อนที่เราจะรวบรวมหรือทำ Portfolio ขึ้นมา อาจจะต้องดูรายละเอียดของแต่ละคณะเสียก่อนว่าต้องการอะไรเป็นพิเศษบ้าง ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่รู้ว่าจะเข้าคณะอะไร เพิ่งจะอยู่ม.4 ประกอบกับเกณฑ์อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ทางเราแนะนำว่าให้น้อง ๆ พยายามทำกิจกรรมให้หลากหลาย เมื่อเวลาผ่านไปความชอบของเราจะชัดเจนมากขึ้นเองค่ะ
Portfolio Inter ของคนที่จะยื่นหลักสูตรนานาชาติ ต้องทำแบบไหน
Portfolio Inter ของคนที่จะยื่นหลักสูตรนานาชาติ จะต่างกับ Portfolio ในภาคไทยปกติ คือเรื่องของภาษาที่ใช้ ซึ่งจะต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ส่วนในด้านอื่น ๆ ก็จะขึ้นอยู่กับว่าคณะต่าง ๆ มีการกำหนดรูปแบบหรือเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ดังตารางข้างต้น
ในระบบการ Admission ในรอบที่ 1 Portfolio ของหลักสูตรนานาชาตินั้น จะมีทั้งคณะที่บังคับว่าต้องมี Portfolio ยื่นสมัคร และอีกหลายคณะก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีมายื่น เน้นแค่ให้ยื่นคะแนนเป็นหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ นางคณะของหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรืออีกที่ก็จะเป็นหลักสูตรนานาชาติของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรนำ Portfolio ติดตัวไปในวันสอบสัมภาษณ์แทน เพราะแม้หลายคณะจะไม่ได้ระบุว่าต้องยื่น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Portfolio นั้นจะช่วยให้การตอบคำถามหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราในวันสัมภาษณ์นั้นดูน่าเชื่อถือ และเรียกคะแนนได้มากขึ้นหลายเท่า
โปรแกรมทำ Portfolio ที่น่าสนใจ
การทำ Portfolio ให้โดดเด่นและเป็นที่น่าสนใจ นอกหนือจากคุณภาพของเนื้องาน รวมไปถึงผลงานที่อยู่ข้างในแล้ว รูปลักษณ์ภายนอกก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนั่นคือสิ่งแรกที่คณะกรรมการจะมองเห็น ดังนั้น เราจึงจะมาแนะนำโปรแกรมสองตัวที่จะเข้ามาช่วยให้การออกแบบ Portfolio ของเรามีความสวยงามและเป็นมืออาชีพมากขึ้น
- ADOBE PHOTOSHOP: โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพสุดเจ๋งที่ช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์รูปภาพออกมาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายหรือภาพกราฟฟิก น้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่เคยใช้ก็ลองค่อย ๆฝึกใช้ดูได้ค่ะ รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถ
- ADOBE Lightroom: สำหรับใครที่อยากได้ภาพสวย ๆ แนะนำเลยค่ะ นอกจากจะใช้งานไม่ยากแล้ว ภาพที่ได้จากการตกแต่งก็คมชัดมาก ๆ ด้วย น้อง ๆ คนไหนที่ไม่อยากใช้งาน Photoshop ก็ลองดูตัวนี้ได้ค่ะ
อยากทำ Portfolio Inter ต้องเริ่มอย่างไร
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะยื่นในหลักสูตรนานาชาติ แต่ยังกังวลเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษใน Portfolio สามารถให้จุฬาติวเตอร์เป็นผู้ช่วยในการให้คะแนะนำเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษได้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ การเขียน Essay การเขียนบรรยาย หรือแม้แต่ไอเดียในการนำเสนอ เรียกได้ว่าคุ้มค่าสุด ๆ เพราะคอร์สเรียนของเราจะเน้นการเรียนแบบตัวต่อตัว เราสามารถเลือกวัน เวลาเรียนได้ และสามารถเลือกได้ด้วยว่าต้องการเรียนสดที่สถาบัน หรือเรียนสดผ่าน ZOOM น้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาตัวช่วยการทำ Portfolio อยู่ล่ะก็ พลาดไม่ได้แล้วค่า