Portfolio คืออะไร
Portfolio คือ แฟ้มสะสมผลงานที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ที่มีความสอดคล้องกับสาขาที่สมัครเรียน ซึ่ง portfolio นั้นจะช่วยให้คณะกรรมการได้มองเห็นถึงความเป็นตัวตนของเราอีกทั้งยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะที่มี กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม รวมถึงการมีโอกาสได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกด้วย
องค์ประกอบของ Portfolio ที่ใช้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง?
1. หน้าปก
ส่วนแรกและส่วนสำคัญของ Portfolio คงหนีไม่พ้นหน้าปก ซึ่งจะต้องออกแบบออกมาให้โดเด่น เพื่อดึงดูดให้คณะกรรมการอยากหยิบขึ้นมาเปิดดู โดยรายละเอียดสำคัญที่ควรระบุไว้ที่หน้าปก คือ รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล และชื่อโรงเรียน
2. ประวัติส่วนตัว
ถือเป็นส่วนแรกที่จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราได้ละเอียดและลึกมากขึ้น โดยข้อมูลที่แนะนำว่าควรจะมี ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา จำนวนพี่น้อง จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนใด รวมถึงระบุระดับชั้น สายการเรียน ชื่อบิดา มารดา เป็นต้น
3. ประวัติการศึกษา
เป็นส่วนที่จะช่วยให้คณะกรรมการได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของเรา โดยสามารถใส่ข้อมูลได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลหรืแประถมศึกษา ไปจนถึงระดับการศึกษาปัจจุบันได้เลย ทั้งนี้ แนะนำให้สรุปข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง จะช่วยทำให้อ่านง่ายมากยิ่งขึ้น
4. ผลงาน
ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของ Portfolio เพราะจะทำให้คณะกรรมการมองเห็นศักยภาพและทักษะของตัวเราได้เป็นอย่างดี โดยแนะนำว่าให้เลือกผลงานที่มีความโดดเด่นเข้ามานำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด หรือระดับประเทศก็ได้ และหากเป็นไปได้ แนะนำให้เลือกผลงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาที่เราสมัครเรียน แต่หากไม่มีก็เลือกที่โดเด่นที่สุดที่เรามีได้เลย และอย่าลืมบรรยายซักเล็กน้อยว่าผลงั้นนั้น ๆ ทำที่ไหน เมื่อไหร่ และเรามีส่วนเกี่ยวข้องใดกับผลงานนี้ เป็นต้น
5. คำนิยม
สำหรับส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีก็จะทำให้ Portfolio และประวัติต่างๆ ของเราดูน่าเชื่อถือขึ้นมากขึ้น เพราะคำนิยมคือสิ่งที่ครู-อาจารย์ได้เขียนถึงเราในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนิสัยใจคอ ความประพฤติ กิจกรรม ผลงาน ซึ่งจะพิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือก็ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องมีลายเซ็นต์รับรองจากครู-อาจารย์ผู้เขียนด้วย
6. กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม
จะมีลักษณะคล้ายๆ กับผลงาน แต่จะเน้นไปในด้านที่ไม่ใช่วิชาการ เช่น ความสามารถพิเศษต่าง ๆ กิจกรรมกีฬาสี การเป็นประธานรุ่น เป็นประธานเชียร์ งานแสดงตามวันสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น
7. รูปถ่าย
รูปถ่ายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ว่าเราได้มีการทำกิจกรรมอะไรบ้าง และได้ทำจริง ๆ ซึ่งแนะนำว่าควรมีรูปภาพประกอบทั้งในส่วนของประวัติส่วนตัว ผลงาน กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม หรือถ้าหากมีจำนวนมากก็สามารถใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิงได้
8. ใบประกาศนียบัตร
เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่จะสามารถยืนยันได้ว่าเราได้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมหรือได้รับรางวัลต่าง ๆ จริง และหากมีความเกี่ยวข้องกับสาขาที่เราสมัครเรียนด้วยแล้วก็จะดีมาก ๆ และแนะนำว่าควรมีทั้งฉบับจริงและฉบับสำเนา เพราะอาจมีบางคณะที่จะไม่คืน Portfolio ให้หลังสัมภาษณ์เสร็จ
9. ใบแสดงผลการเรียน
ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันผลการเรียน รวมไปถึงความประพฤติต่างๆ จากโรงเรียนเดิม ซึ่งควรมีทั้งของระดับชั้น ม.ต้น และระดับชั้น ม.ปลาย
10. ภาคผนวก/เอกสารอ้างอิง
จะอยู่เป็นส่วนสุดท้ายของ Portfolio โดยมีไว้เพื่อรวบรวมเอกสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพจากกิจกรรมหรือผลงานต่างๆ ที่หากมีจำนวนมากจะไม่แนะนำให้ใส่อัดแน่นในเนื้อหาของ Portfolio แต่ควรนำมาเก็บไว้ในภาคผนวกนี้แทน
เตรียม Portfolio ยื่น TCAS
การยื่นรอบ Portfolio ในระบบ TCAS แต่ละคณะ/สาขา มักจะมีการกำหนดรายละเอียดของแฟ้มสะสมผลงานที่ต้องยื่นว่าต้องมีรูปแบบอย่างไร จึงไม่ใช่ว่ามี Portfolio 1 ชุดแล้วจะสามารถสมัครได้ทุกคณะ ดังนั้น เพื่อไม่ให้เสียโอกาส เราควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำ Portfolio ยื่น TCAS ดังนี้
1. ตรวจสอบเกณฑ์ของปีที่ผ่านมา ว่ามีการกำหนดให้ทำในรูปแบบใด
2. เก็บผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่จะสมัครไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
3. เข้าร่วมกิจกรรม หรือพัฒนาทักษะในด้านที่ตัวเองสนใจเป็นพิเศษไว้ต้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากเรามีความชำนาญ ก็จะสามารถลงแข่งขัน สร้างผลงานนำมาใช้ประกอบการยื่น Portfolio ได้
4. แม้ว่ารอบ Portfolio จะเป็นรอบที่ไม่ใช้คะแนน แต่ก็มีหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือหลักสูตรนานาชาติ ที่มักจะมีกำหนดการใช้คะแนนทดสอบความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC, TOEFL, IELTS, CU-TEP, TU-GET ดังนั้น หากสาขาที่เราสนใจมีการกำหนดรับคะแนนเหล่านี้ด้วย ก็ควรเตรียมตัวและลงสอบเพื่อเก็บคะแนนไว้ใช้ยื่นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม บางมหาวิทยาลัย อาจจะไม่กำหนดใช้ Portfolio ในรอบนี้ แต่อาจจะไปกำหนดให้ใช้เป็นผลการเรียนสะสม (GPAX), เรียงความ, การสอบสัมภาษณ์ หรือสอบปฏิบัติแทนได้ก็ได้ ดังนั้น อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดการรับสมัครของสาขาที่เราสนใจไว้เพื่อเป็นแนวทางนั่นเอง
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการทำพอร์ตเข้ามหาวิทยาลัย
1. จัดเรียงเนื้อหาให้เป็นสัดส่วน แบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อให้อ่านง่าย
2. เขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ
3. เน้นนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครเรียน
4. มีรูปภาพประกอบกิจกรรมที่เคยทำ
5. หลีกเลี่ยงการใช้สีตัวอักษรที่หลากหลายจนเกินไป
6. ใส่ข้อมูลแต่พอดี ไม่อัดแน่นจนเยอะเกินไป
เลือกผลงานใส่ Portfolio แบบไหนดี
1. เลือกผลงานที่ตรงกับโจทย์ที่สาขานั้น ๆ กำหนด ว่าให้นำเสนอผลงานในลักษณะใด เช่น ผลงานด้านการวาดภาพ การถ่ายภาพ การตัดต่อรูป ตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น
2. เลือกผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัคร เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสาขานั้น ๆ หรือหากสมัครเรียนสาขาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ให้นำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
3. เลือกนำเสนอผลงานที่มีความโดดเด่น
4. เลือกผลงานที่แสดงให้เห็นถึงทักษะ ความสามารถพิเศษ หรือศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่ถึงแม้จะไม่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัคร แต่ก็สามารถเพิ่มผลงานนี้เข้าไปอีกหมวดหมู่นึงได้ เช่น ผลงานที่เกี่ยวกับกิจกรรมอาสาฯ ศิลปะ ดนตรี กีฬา เป็นต้น เพราะจะทำให้กรรมการรู้จักตัวตนของเราในมุมอื่น ๆ ด้วย
Portfolio ที่ดี ควรมีอะไรบ้าง
1. หน้าปก
2. ประวัติส่วนตัว
3. ประวัติการศึกษา
4. ผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครเรียน รวมถึงผลงานที่แสดงถึงความสามารถพิเศษด้านอื่น ๆ พร้อมรูปถ่าย
5. กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม พร้อมรูปถ่าย
6. ใบประกาศนียบัตร
7. ใบแสดงผลการเรียน
8. ภาคผนวก/เอกสารอ้างอิง
ข้อควรระวังในการยื่น Portfolio
1. ทำให้ตรงกับโจทย์ที่สาขานั้น ๆ กำหนด ว่าให้นำเสนอผลงานในลักษณะใด บางคณะ บางสาขา มีการกำหนดรายละเอียดไปจนถึงการตั้งชื่อไฟล์ จำนวนหน้า และขนาดเอกสาร ดังนั้น ต้องระวังเป็นอย่างมาก
2. หลีกเลี่ยงการใช้สีตัวอักษรที่หลากหลายจนเกินไป
3. เน้นนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครเรียน อย่าพยายามใส่ทุกอย่างที่มีจนเยอะเกินความจำเป็น
4. ระวังการสะกดคำและการเรียบเรียงให้ถูกต้องตามหลักของภาษาที่ใช้
รอบ Portfolio ที่หลายคนยังเข้าใจผิด
การยื่นรอบ Portfolio ยังคงทำให้หลาย ๆ คนสับสนอยู่ไม่น้อย วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. รอบ Portfolio ไม่ใช่ทุกคณะ/สาขา ที่กำหนดว่าจะต้องยื่นเป็นตัว Portfolio เสมอไป หลาย ๆ ที่ก็สามารถยื่นได้ด้วยผลคะแนนสอบข้อสอบต่าง ๆ เกรดเฉลี่ย หรือเป้นเกณฑ์การยื่นคะแนนปกติ ไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเป็น Portfolio มายื่น ดังนั้น หากสนใจสาขาใด ให้ศึกษาระเบียบการรับสมัครของสาขานั้น ๆ เสียก่อน
2. รอบ Portfolio ไม่ได้รับน้อย แต่บางครั้งที่เราเห็นรับเพียงไม่กี่ที่นั่งนั้นมักจะเป็นจำนวนที่แยกเป็นโครงการต่าง ๆ มากกว่า
3. รอบ Portfolio ใช้เกรดสูงแค่บางสาขาเท่านั้น ซึ่งการพิจารณาในรอบ Portfolio จะมีทั้งเกรด คุณสมบัติเฉพาะ ผลงาน ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย/คณะ/สาขากำหนด ดังนั้น ให้ยึดที่เกณฑ์ของแต่ละที่เป็นหลัก หากเกรดเราเป็นไปตามเกณฑ์ ก็สามารถยื่นได้
4. ไม่สามารถทำ Portfolio ชุดเดียว แล้วนำไปยื่นทุกคณะได้ ใครที่คิดว่าทำทีเดียว แล้วจะนำไปยื่นหลาย ๆ คณะ อาจจะต้องเชคให้ดีเสียก่อน ว่าแต่ละคณะ แต่ละสาขาที่เราสนใจนั้น มีการกำหนดรายละเอียด Portfolio ไว้อย่างไรบ้าง เพราะแต่ละสาขา อาจจะกำหนดรูปแบบไว้ไม่เหมือนกัน
เทคนิคการทำ portfolio
1. เตรียมวางแผนเก็บผลงานตั้งแต่เนิ่น ๆ การเตรียมล่วงหน้าจะช่วยให้เรามีเวลาที่จะพัฒนาทักษะความสามารถ และมีเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เราสนใจสมัครเรียนได้
2. ผลงานที่นำเสนอใน portfolio ควรเน้นช่วง ม. ปลาย ให้เยอะเป็นพิเศษ เพราะเป็นผลงานใหม่ เป็นทักษะใหม่ ๆ ที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด
3. ใน portfolio ควรใช้สีไม่เกิน 3 สี เพราะหากเยอะกว่านี้ก็จะทำให้อ่านยาก
4. จัดรูปแบบของ portfolio ให้ีหัวข้อต่าง ๆให้ครบ ตามที่ได้แนะนำไว้ในหัวข้อข้างต้น
แนะนำเว็บทำ เว็บทํา portfolio
TCAS แต่ละรอบเหมาะกับใคร ใช้คะแนนอะไรบ้าง
รอบที่ 1 Portfolio
เน้นผลงานที่สะสมมาตั้งแต่เรียน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขาที่อยากเข้า (บางสาขาอาจจะกำหนดให้ยื่นคะแนนสอบอย่างเดียว โดยไม่ต้องทำ Portfolio ส่งก็ได้)
เหมาะกับน้อง ๆ ที่ชอบทำกิจกรรม ชอบสะสมผลงานของตัวเองไว้ หรือมีความสามารถพิเศษ
คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Portfolio, GPAX, TGAT, TPAT
รอบที่ 2 Quota
เหมาะสำหรับคนในพื้นที่ มีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ และใช้คะแนนสอบส่วนกลาง
คะแนนที่ใช้ ได้แก่ GPAX, TGAT, TPAT, A-Level
รอบที่ 3 Admission
เหมาะกับคนที่เตรียมตัวสอบมาเป็นอย่างดี มีผลคะแนนสอบดี
คะแนนที่ใช้จะเน้นคะแนนสอบส่วนกลาง GPAX, TGAT, TPAT, A-Level
รอบที่ 4 Direct Admission
เหมาะกับคนที่อาจจะพลาดจากรอบก่อนหน้านี้ เพราะเป็นรอบเก็บตกจากรอบ Admission ซึ่งก็จะแล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด
คะแนนที่ใช้จะเน้นคะแนนสอบส่วนกลาง GPAX, TGAT, TPAT, A-Level
ตัวอย่าง portfolio
สำหรับน้อง ๆที่กำลังเตรียมทำ portfolio สามารถเข้าไปดูตัวอย่างได้ที่เว็บไซต์ของ dekshowport.com ได้ โดยตัวอย่างบางส่วนทีเรานำมาแนะนำ เช่น