มหาวิทยาลัยราชภัฏ คืออะไร ราชภัฏ มหาลัย ต่างกันอย่างไร ?

Reading Time: < 1 minute

มหาวิทยาลัยราชภัฏ คือ?

มหาวิทยาลัยราชภัฏ (Rajabhat University) เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนามว่า “ราชภัฏ” จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

ราชภัฏกับมหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างไร ?

ไม่แตกต่าง เพราะราชภัฏก็คือมหาวิทยาลัย มีการเปิดหลักสูตรในระดับปริญยาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วไป

ราชภัฏอินเตอร์ กับ มหาวิทยาลัยอินเตอร์ แตกต่างกันอย่างไร ?

ไม่แตกต่าง เพราะราชภัฏก็คือมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยหลาย ๆ ที่ ก็มีจะมีเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติอยู่ด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาในหลักสูตรที่ได้ใช่ภาษาอังกฤษเยอะเป็นพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นระดับปรัญญาตรี เช่น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทา, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยซรีนครินทรวิโรฒ หรือบางที่ก็ไม่ได้แยกออกมาเป็นวิทยาลัย แต่จะมีหลักสูตรอินเตอร์อยู่ในคณะต่าง ๆ ไปเลย

ค่าเทอม ราชภัฏ ประมาณเท่าไร?

ค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือค่าเทอมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัยและแต่ละสาขา โดยเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 20,000 บาท ต่อภาคการศึกษา หรืออาจจะสูงกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่สาขาวิชา และหากเป็นภาคอินเตอร์ ค่าเทอมก็จะสูงกว่าภาคไทย

ค่าเทอม ราชภัฏ หลักสูตรอินเตอร์ ประมาณเท่าไร?

ค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือค่าเทอมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัยและแต่ละสาขา โดยเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท ต่อภาคการศึกษา และอาจจะสูงถึง 40,000 หรือ 50,000 บาทในบางสาขา

สอบเข้า ราชภัฏ ต้องใช้วิชา คะแนนอะไรบ้าง ?

การสอบเข้าราชภัฏ นั้น ใช้คะแนนตามระบบของ TCAS ตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป ได้แก่ GPAX, TGAT, TPAT, A Level ซึ่งจะใช้คะแนนสอบตัวใดบ้างจากที่กล่าวมานี้ ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละสาขา

มหาวิทยาลัยราชภัฏ สอบเข้ายากไหม ?

มหาวิทยาลัยราชภัฏสอบเข้าไม่ยาก เนื่องจากมีเปิดสอนในหลาย ๆ จังหวัด กระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงทำให้การแข่งขันนั้นไม่สูงมากนัก อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังเปิดโอกาสไม่แค่เฉพาะนักเรียนที่จบ ม.6 จากโรงเรียนในระบบปกติเท่านั้น แต่ยังเปิดรับนักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรเทียบเท่าด้วย ไม่ว่าจะเป็น GED, อาชีวะ รวมถึง กศน.

ราชภัฏ เปิดรับสมัครเมื่อไร

มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่ง อาจจะมีกำหนดการรับสมัครที่แตกต่างกันไป โดยคร่าว ๆ อาจจะเริ่มรับเร็วสุดประมารตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ย. เป็นต้นไป ซึ่งจะมีเปิดรับเป็นรอบ ๆ ตามระบบของ TCAS และช่วงสุดท้ายจะเป็นช่วงประมาณเดือน พ.ค. ทั้งนี้ แนะนำให้ตรจสอบกำหนดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เราสนใจอย่างละเอียดอีกครั้ง

แนะนำหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอินเตอร์ ในไทย

ตัวอย่างเช่น

– วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

– วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

– วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

– วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

– วิทยาลัยการท่องเที่ยวนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

– วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

– สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

– สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Related Posts