TOEFL Reading Comprehension คืออะไร
TOEFL Reading Comprehension คือ ข้อสอบพาร์ทการอ่านของ TOEFL ITP โดยเป็นส่วนที่ต้องการวัดความสามารถในการอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาการอ่านเชิงวิชาการที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
TOEFL Reading Comprehension มีกี่ข้อ
โดยปกติแล้วการสอบ TOEFL ITP จะมี 2 ระดับ คือ Level 1 (Intermediate to Advanced) และ Level 2 (High-beginner to Intermediate) จำนวนข้อของ Reading Comprehension ในข้อสอบแต่ละ Level ก็จะมีไม่เท่ากัน ดังนี้
- Level 1 (Intermediate to Advanced) มีข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ ให้เวลาทำข้อสอบ 55 นาที
- Level 2 (High-beginner to Intermediate) มีข้อสอบทั้งหมด 40 ข้อ ให้เวลาทำข้อสอบ 31 นาที
หมายเหตุ :
- การสอบ TOEFL ITP ในประเทศไทย มักจะใช้ข้อสอบระดับ Level 1 (Intermediate to Advanced) เป็นส่วนใหญ่
- ข้อสอบพาร์ทการอ่านของ Level 2 จะใช้ชื่อพาร์ทว่า Reading and Vocabulary
TOEFL Reading Comprehension สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ TOEFL ITP พาร์ทนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถในการอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ ที่คล้ายคลึงกับการอ่านในหลักสูตรที่สอนในมหาวิทยาลัย โดยจะได้อ่านบทความที่หลากหลาย แต่ละตอนจะตามด้วยคำถามจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ และนอกจากนี้ยังออกแบบให้ข้อสอบไม่เอื้อต่อคนที่เชี่ยวชาญสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งเป็นพิเศษอีกด้วย
ข้อสอบ Reading Comprehension จะมีบทความมาให้ผู้สอบอ่าน แล้วให้ตอบคำถาม ตัวอย่างดังรูป
TOEFL Reading Comprehension หัวข้อที่ให้อ่าน มักเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
- หัวข้อเชิงวิชาการ ที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- ด้านศิลปะ ได้แก่ วิจิตรศิลป์, งานฝีมือ, โรงละคร, เต้นรำ, สถาปัตยกรรม, วรรณกรรม, ดนตรี, ภาพยนตร์, การถ่ายภาพ
- ด้านมนุษยศาสตร์ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐบาล ปรัชญา กฎหมาย
- ด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ซากดึกดำบรรพ์, ชีวเคมี, พฤติกรรมสัตว์, นิเวศวิทยา, กายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา, พันธุศาสตร์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, ชีววิทยา, เกษตรกรรม
- ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ ธรณีวิทยา ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีศาสตร์ วิศวกรรม อุตุนิยมวิทยา พลังงาน เทคโนโลยี สมุทรศาสตร์ ฟิสิกส์
- ด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา การศึกษา ภูมิศาสตร์ โบราณคดี จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ การจัดการ การตลาด การสื่อสาร
- หัวข้อเชิงการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ตารางเรียน, ข้อกำหนดของชั้นเรียน, การอ้างอิงห้องสมุด, งานที่ได้รับมอบหมาย (เอกสาร, การนำเสนอ, การอ่าน), อาจารย์, การเรียน, การทัศนศึกษา, การลงทะเบียน, ที่พักอาศัยในและนอกวิทยาเขต, เรียนต่อต่างประเทศ, การฝึกงาน, นโยบายของมหาวิทยาลัย, สโมสร, คณะกรรมการ, งานสังคมสงเคราะห์
- หัวข้อทั่วไป เช่น ธุรกิจ, สิ่งแวดล้อม, ภาษาและการสื่อสาร, สื่อ, เรื่องส่วนตัว, สันทนาการ, การเดินทาง, ขับรถ, จอดรถ, ขนส่งสาธารณะ, จองการเดินทาง เป็นต้น
หัวข้อเหล่านี้จะทำให้ผู้สอบรู้ว่า เนื้อหาที่จะได้เจอในข้อสอบนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรได้บ้าง และคำศัพท์ที่เราต้องรู้นั้นควรเน้นไปที่เรื่องอะไร
TOEFL Reading Comprehension ตัวอย่างข้อสอบ
TOEFL Reading Comprehension มีคะแนนเต็มเท่าไหร่
TOEFL ITP จะมี 2 ระดับ คือ Level 1 (Intermediate to Advanced) และ Level 2 (High-beginner to Intermediate) นอกจากจำนวนข้อจะไม่เท่ากันแล้ว ระบบการคิดคะแนนก็ไม่เหมือนกันด้วย ดังนี้
Level 1 (Intermediate to Advanced) Testing time: Approximately 2 hours
Section | Number of Questions | Admin. Time | Score Scale |
Listening Comprehension | 50 | 35 minutes | 31–68 |
Structure and Written Expression | 40 | 25 minutes | 31–68 |
TOTAL | 140 | 115 minutes | 310–677 |
Level 2 (High-beginner to Intermediate) Testing time: Approximately 1 hour and 10 minutes
Section | Number of Questions | Admin. Time | Score Scale |
Listening Comprehension | 30 | 22 minutes | 20–50 |
Structure and Written Expression | 25 | 17 minutes | 20–50 |
TOTAL | 95 | 70 minutes | 200–500 |
TOEFL Reading Comprehension เทคนิควิธีเตรียมตัวสอบ
1. ฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ
โดยในช่วงแรก ๆ ของการฝึก แนะนำว่ายังไม่ต้องจับเวลาจริง ๆ ก็ได้ แต่ให้เน้นไปที่การทำความเข้าใจข้อสอบเป็นหลักว่าข้อสอบเป็นแบบไหน เรื่องที่นำมาให้อ่านมีความยาวมากน้อยเพียงใด คำถามมักถามถึงเรื่องที่อ่านยังไง และเมื่อเราฝึกเยอะขึ้นจนจับทางข้อสอบได้ รู้แล้วว่ารูปแบบข้อสอบเป็นแบบไหน ก็ค่อยลองจับเวลาจริง ๆ ดู เพื่อให้รู้ว่าเราทำข้อสอบเร็วพอหรือยัง หรือเราอ่านช้าไปหรือเปล่านั่นเอง
2. อ่านแบบให้เห็นภาพรวม
แนะนำให้อ่าน Paragraph แรกคร่าว ๆ ก่อน จากนั้นให้อ่าน 1-2 ประโยคแรกของ Paragraph ต่อ ๆ มา และอ่าน Paragraph สุดท้ายคร่าว ๆ อีกครั้ง เพื่อให้เราเห็นภาพรวมของบทความนั้นโดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาอ่านมากจนเกินไป
3. เลือกทำพาร์ทที่ตนเองถนัดไว้ก่อน อันไหนไม่ได้ให้ข้าม
อย่าไปติดอยู่กับข้อใดข้อหนึ่งนานจนเกินไป แต่ให้เลือกทำข้อที่เราเห็นแล้วว่าถนัดมากกว่าหรือสามารถทำได้เลย หากข้อไหนยังไม่ใช่ก็ปล่อยผ่านไปแล้วค่อยย้อนกลับมาทำทีหลัง วิธีนี้จะช่วยให้เราทำข้อสอบได้ตรงเวลา และอย่างน้อยก็มั่นใจถึงข้อที่ทำไปแล้วว่ามีคะแนนแน่ ๆ
4. วางแผนการเดินทางที่จะไปสอบของตนเองให้ดี
เพราะถ้าไม่วางแผนเดินทาง แล้ววันสอบเดินทางไปไม่ทันเวลาหรือเข้าห้องช้ากว่ากำหนด นั่นคือการเสียโอกาสของตนเอง แทนที่จะทำคะแนนให้ดีก็ยิ่งแย่ลงไป แล้วถ้าต้องรีบร้อน ไม่มีสมาธิ ผลลัพธ์ก็จะไม่เป็นดังคาดหวัง ดังนั้น ก่อนวันสอบต้องอย่าลืมวางแผนการเดินทางให้เรียบร้อย เดินทางยังไง ใช้เวลากี่นาที เผื่อเวลารถติดไปบ้าง และควรถึงสถานที่สอบอย่างน้อย 30 นาที
5. นำเทคนิคจากติวเตอร์ไปใช้ให้เยอะที่สุด
สำหรับใครที่เรียนติวอย่างจริงจัง พยายามนำทริคต่าง ๆ ที่ได้จากติวเตอร์ไปใช้งานให้เยอะที่สุด เพราะโดยปกติแล้ว ติวเตอร์มักเป็นคนที่มีประสบการณ์ เคยศึกษาแนวข้อสอบ เคยสอบมาก่อน จึงสามารถแนะนำวิธีการดี ๆ ที่จำทำให้เราทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นได้ โดยที่เราไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง ซึ่งหากทำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ได้หมด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ได้คะแนนดีมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง