TPAT คืออะไร
TPAT คือ การสอบวัดความถนัดวิชาชีพ ย่อมาจาก Thai Professional Aptitude Test ซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ครอบคลุมทั้งทางด้านแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมฯ ครุศาสตร์ สถาปัตยกรรม และความถนัดทางด้านศิลปกรรม โดย คะแนนเต็ม 100 คะแนน
Table of Contents
TPAT สำคัญอย่างไร ทำไมต้องสอบ
สามารถยื่นได้ทุกรอบของระบบ TCAS โดยคะแนนสอบ TPAT ใช้เป็นเกณฑ์คะแนนในการคัดเลือกเข้ามหาลัย ประมาณ 70%
ภาพรวมข้อสอบ TPAT Overview มีอะไรบ้าง
การสอบ TPAT ข้อสอบจะประกอบไปด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่
1. ความถนัดทางแพทยศาสตร์ หรือวิชาเฉพาะ กสพท. ซึ่งจะรวมไปถึงทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ด้วย
2. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
3. ความถนัดทางศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์
TPAT1 ความถนัดแพทย์ สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบวิชานี้จะสอบเนื้อหาวิชาเฉพาะ กสพท ซึ่งมีทั้งหมด 3 พาร์ท ได้แก่
- พาร์ทเชาว์ปัญญา เป็นพาร์ทที่จะทดสอบเรื่องอนุกรม การคำนวณเชิงตรรกะ มิติสัมพันธ์ เลข ม.ต้น + ม.ปลาย ทั่วไป ภาษา การวิเคราะห์บทความ การวิเคราะห์คำศัพท์
- พาร์ทจริยธรรมทางการแพทย์ เป็นพาร์ทที่จะให้ผู้สอบแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ข้อสอบยกมา
- พาร์ทเชื่อมโยง เป็นพาร์ทที่ต้องการทดสอบการคิดวิเคราะห์ การจับใจความ มีความคล้าย GAT เชื่อมโยง แต่ต้องใช้การวิเคราะก์ที่ซับซ้อนกว่า
TPAT2 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ TPAT วิชานี้ เราจะอ้างอิงแนวจากข้อสอบ PAT 4 โดยข้อสอบจะครอบคลุมทั้งเรื่องความรู้ทั่วไปด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบ หรืออาจจะมีเรื่องฟิสิกส์และคณิตศาสตร์พื้นฐานบ้าง
TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์และวิศวะกรรม
ข้อสอบ TPAT วิชานี้ เราจะอ้างอิงแนวจากข้อสอบเดิม นั่นคือ PAT 2 และ PAT 3 โดยข้อสอบจะครอบคลุมทั้งวิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์ และความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
TPAT4 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ TPAT วิชานี้ เราจะอ้างอิงแนวจากข้อสอบ PAT 6 โดยข้อสอบจะครอบคลุมทั้งเรื่องความรู้ทั่วไปทางศิลปกรรมศาสตร์, ความรู้ทางทัศนศิลป์ และออกแบบ, ดนตรีไทย ดนตรีสากล, นาฏศิลป์ / การแสดง และการบูรณาการความรู้ด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ / ศิลปะการแสดง
TPAT5 ความถนัดทางครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ TPAT วิชานี้ เราจะอ้างอิงแนวจากข้อสอบ PAT 5 โดยข้อสอบจะครอบคลุมทั้งวิชาภาษาไทย ซึ่งจะเน้นไปที่การอ่านวิเคราะห์และการอ่านจับใจความ วิชาสังคม จิตวิทยาครู รวมไปถึงวิชาคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานทั่วๆไป เช่น บวกลบคูณหาร เทียบบัญญัติไตรยางค์ และเลขอนุกรม
ตารางสอบ TPAT จัดสอบเมื่อไหร่
ตารางสอบ TPAT จะจัดสอบในเดือนธันวาคมของแต่ละปี
คะแนน TPAT มีไว้ทำอะไร
มีไว้สำหรับยื่น TCAS ในรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio), รอบโควตา หรือรอบ Admission แล้วแต่ว่าคณะนั้น ๆ จะกำหนดว่าให้ยื่นรอบใดได้บ้าง โดยคะแนน TGAT และ TPAT จะใช้ร่วมกัน
TGAT ( Thai General Aptitude Test )
ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication)
2. การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical and Logical Thinking)
3. สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies)
คะแนนเต็ม 300 คะแนน
A-Level ( Applied Knowledge Level )
หรือ 9 วิชาสามัญ A Level เป็นการสอบวัดความรู้ทางวิชาการ ประกอบด้วย
2. A Level วิทยาศาสตร์ประยุกต์
4. A Level เคมี
5. A Level ชีววิทยา
6. A Level ภาษาไทย
7. A Level สังคมศึกษา
9. A Level ภาษาต่างประเทศ
คะแนน TPAT มีอายุกี่ปี
ผลคะแนน TPAT และ TGAT มีอายุ 1 ปี หากน้อง ๆ ม.6 ที่ถึงแม้จะสอบแล้ว แต่อยากรอยื่นมหาวิทยาลัยในปีถัดไป ก็จะต้องสอบใหม่ด้วย
ตารางสอบ TGAT TPAT A-Level 2568
กันยายน 2567 – สมัครรอบ Portfolio
กันยายน 2567 – สมัครสอบ TPAT 1
ตุลาคม 2567 – ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ TCAS68
ตุลาคม 2567 – สมัครสอบ TGAT/TPAT2-5
ธันวาคม 2567 – สอบ TGAT/TPAT2-5
ธันวาคม 2567 – สอบ TPAT1
ธันวาคม 2567 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบคอมพิวเตอร์)
มกราคม 2568 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบกระดาษ)
กุมภาพันธ์ 2568 – สมัครรอบ Quota
กุมภาพันธ์ 2568 – สมัครสอบ A-Level
กุมภาพันธ์ 2568 – ประกาศผลสอบ TPAT1
กุมภาพันธ์ 2568 – ประกาศผลรอบ Portfolio
มีนาคม 2568 – วันสอบ A-Level
มีนาคม 2568 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบคอมพิวเตอร์)
เมษายน 2568 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบกระดาษ)
พฤษภาคม 2568 – ประกาศผลสอบ Quota
พฤษภาคม 2568 – สมัครสอบ Admission
พฤษภาคม 2568 – ประกาศผลรอบ Admission
พฤษภาคม 2568 – สมัครสอบ Direct Admission
มิถุนายน 2568 – ประกาศผลรอบ Direct Admission