CU-AAT คืออะไร สมัครสอบ CU-AAT 2024
วันนี้พี่ CHULA TUTOR จะมาอธิบายให้ละเอียดว่า ข้อสอบ CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ Part mathematics และ Part verbal ออกอะไรบ้าง แล้วจะเตรียมตัวสอบ อย่างไร และเรื่องอื่นๆที่น้องไม่ควรพลาดสำหรับการเตรียมตัวสอบเข้า จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย อินเตอร์
Menu
สอบ CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ CU-AAT 2023 ?
Chulalongkorn University Academic Aptitude Test หรือ CU-AAT คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ Mathematics และภาษาอังกฤษ Verbal ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ
บ้างมหาลัยในหลักสูตรอินเตอร์ ก็สามารถใช้คะแนน ยื่นเข้าได้ด้วย เช่น SIIT แต่ทั้งนี้ ผู้สมัครควรตรวจสอบคณะที่สนใจด้วย ว่าแต่ละปีมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
CU-AAT สอบอะไรบ้าง?
ข้อสอบ CU-AAT ออกอะไรบ้าง ?
ข้อสอบจะประกอบด้วย 2 พาร์ท คือ Part Math , Part Verbal Section ข้อสอบมีทั้งหมด 110 ข้อ , คะแนนเต็ม 1,600 คะแนน , ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 140 นาที (2 ชม 20 นาที)
โดยในการสอบ ผู้สอบจะสอบทีละพาร์ท โดยจะได้ทำข้อสอบพาร์ท Math ก่อน โดยให้เวลาทำ 70 นาที หลังจากนั้นทางผู้คุ้มสอบจะเก็บข้อสอบ แล้วให้ข้อสอบ Verbal
ผู้สอบจะไม่สามารถทำข้อสอบย้อนหลังในพาร์ทที่สอบผ่านมาได้ เพราะฉะนั้น การบริหารเวลาทำข้อสอบ เป็นสิ่งสำคัญมากในการ ทำข้อสอบ
ข้อสอบ CU-AAT Math คืออะไร ?
Part Math มีข้อสอบทั้งหมด 55 ข้อ ให้เวลาทำ 70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน เนื้อเรื่องที่ออกสอบ Arithmetic , Algebra ,Geometry , Problem solving แต่เดิมพาร์ทนี้ห้ามใช้เครื่องคิดเลข และตอบผิดมีติดลบ แต่ในปัจจุบัน Part Math สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ และตอบผิด ไม่มีติดลบ
ข้อสอบ CU-AAT Verbal คืออะไร ?
Part Verbal มีข้อสอบทั้งหมด ข้อ 70 นาที , คะแนนเต็ม 800 คะแนน โดยข้อสอบ Part Verbal จะแบ่งเป็น 2 section คือ Section 1 Critical Reading includes จะออกสอบเรื่อง Sentence completions , Passage-based reading , Problem solving Section 2 Writing includes จะออกสอบเรื่อง Improving sentences , Identifying sentence errors , Improving paragraphs
สรุป ภาพรวมข้อสอบ
การสอบ | จำนวนข้อ | ระยะเวลา |
1 Math Section
| 55 ข้อ | 70 นาที |
2 Verbal Section Section 1 : Critical Reading includes
Section 2 : Writing includes
| 55 ข้อ | 70 นาที |
เทคนิคทำข้อสอบ CU-AAT
เทคนิคทำข้อสอบ CU-AAT Math
1. Arithmetic (เลขคณิต) เรื่องที่ออกสอบ
1.1 จำนวน – น้องที่จะเข้าสอบจะต้องรู้เรื่องต่อไปนี้ ตัวประกอบ , จำนวนเฉพาะ , จำนวนประกอบ , การแยกตัวประกอบ
1.2 ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย – ตัวหารร่วมมาก , ตัวคูรร่วมน้อย , ความสัมพันธ์ระหว่าง ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
1.3 การปัดเศษ – การปัดเศษทศนิยม
1.4 เลขยกกำลัง – สมบัติเลขยกกำลัง
1.5 จำนวนเต็ม
1.6 การดำเนินการของจำนวนเต็ม – การบวกจำนวนเต็ม , การลบจำนวนเต็ม , การคูณจำนวนเต็ม , การหารจำนวนเต็ม
1.7 สมบัติของจำนวนเต็ม – สมบัติการบวกและการคูณจำนวนเต็มบวก , สมบัติของศูนย์ , จำนวนคู่และจำนวนคี่
1.8 ทศนิยมและเศษส่วน
1.9 ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม – การบวกและการลบทศนิยม , การคูณและการหารทศนิยม , การเปรียบเทียบเศษส่วน , การบวก ลบ เศษส่วน , การคูณและการหารเศษส่วน
1.10 อัตราส่วนและเปอร์เซ็นต์ – อัตราส่วน , อัตราส่วนที่เท่ากัน , อัตราส่วนที่ต่อเนื่อง , สัดส่วน , ร้อยละ
2. Algebra พีชคณิต
2.1 เอกนาม – การบวกและการลบเอกนาม
2.2 พหุนาม – การคุณและหารพหุนาม
2.3 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีตรีสูง ที่มีประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม
2.4 สมการและอสมการ – สมการ , อสมการ
2.5 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง – การแยกตัวประกอบโดยสมบัติการแจกแจง , การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว , การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองด้วยวิธีกำลังสองสมบูรณ์ , การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป้นผลต่างกำลังสอง
2.6 การแก้สมการกำลังสองโดยการใช้สูตร
2.7 การดำเนินการของเศษส่วนของพหุนาม
2.8 การบวกและการลบเศษส่วนของหหุนาม
2.9 การแก้สมการเศษส่วนของพหุนาม
3. Geometry เรขาคณิต
3.1 จุดและเส้นตรง
3.2 ส่วนของเส้นตรง
3.3 รังสี
3.4 มุม – ชนิดของมุม
3.5 เส้นขนาด – สมบัติของเส้นขนานกับมุมภายใน
3.6 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
4. Word Problems ปัญหาโจทย์ข้อความ
เทคนิคทำข้อสอบ CU-AAT part Verbal
CU-AAT Verbal Section 1
Critical Reading ประกอบด้วย 2 พาร์ทได้แก่ Sentence completions และ Passage-based reading- Problem Solving
1. เทคนิคการทำข้อสอบ Sentence completions
1.1 อ่านประโยคและแปลเฉพาะคำที่แปลได้เพื่อจับคำสำคัญ โดยเน้นที่ประธานกับกริยา
1.2 หากคำที่เติมเป็นคำกริยาให้พิจารณาว่า ประธานสามารถทำกริยาใดบ้างจากตัวเลือกที่มีอยู่
1.3 จับTone ของประโยค โดยสังเกตจาก adjectives คำคุณศัพท์ที่ขยายคำนามและคำเชื่อมlinking words โดย Linking word มีผลต่อการเติมคำอย่างมาก เพราะบอกความสัมพันธ์ในประโยค เช่น ความสัมพันธ์ขัดแย้ง จะพบ Linking word กลุ่ม however, although, but, in contrast เป็นต้น
1.4 หากเป็นข้อสอบที่ให้เติม 2 ช่อง เมื่อพิจารณาแล้วตัวเลือกใดที่มีมีคำใดคำหนึ่งไม่ใช่คำตอบแน่นอนแล้ว สามารถตัดตัวเลือกนั้นทิ้งได้เลย
1.5 ท่องคำศัพท์ที่หลากหลายและระดับยาก โดยเลือกท่องศัพท์ SAT, TOEFL เป็นต้น
2. เทคนิคการทำข้อสอบ Passage-based reading- Problem Solving
2.1 ใช้เทคนิคกวาดตา (skim) ไปที่โจทย์คร่าวๆเพื่อให้เตรียมตั้งรับว่าจะไปหาคำตอบอะไรจากบทอ่าน และ skim บทอ่านหลังจากอ่านโจทย์
2.2 สังเกตการเรียบเรียงและประเภทคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่านเพื่อระบุประเภทของบทอ่านให้ได้ว่าเป็นประเภทใด เช่น narrative, persuasive, augmentative เพราะเมื่อระบุประเภทบทอ่านได้จะทำให้สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น
2.3 บทอ่านแต่ละประเภทจะมีการใช้เครื่องมือสนับสนุนใจความต่างกัน เช่น แบบ persuasive จะมีการยกเหตุผลที่น่าเชื่อถือ และมีการใช้คำที่จูงใจเช่น should, had better, หรือประโยคคำสั่ง imperativeที่ขึ้นต้นกริยาช่อง 1
2.4 หากพบคำถามภาครวม (big picture) เช่น main idea, best title, purpose, tone ให้ข้ามไปตอบข้อที่ถามรายละเอียด (small picture) ก่อน
2.5 หากเป็นคำถามรายละเอียดปลีกย่อย ให้หาคำสำคัญ (key word) จากโจทย์ และ อ่านบทความอย่างรวดเร็วเพื่อหาคำสำคัญ (scan) นั้นซึ่งในบริเวณนั้นจะมีคำตอบปรากฏอยู่
CU-AAT Verbal Section 2
Writing includes ประกอบด้วย 3 พาร์ทได้แก่ Improving sentences, Identifying sentence errors, Improving paragraphs
1. เทคนิคการทำข้อสอบ Improving sentences
1.1 อ่านประโยคทั้งประโยคอย่างระมัดระวังเพื่อหาจุดผิดพลาด เมื่อเจอจุดผิดพลาดให้วงกลม
1.2 หากข้อความที่ขีดเส้นใต้มีจุดผิดพลาดอย่างชัดเจนให้ลองแก้ไขก่อนที่จะไปมองตัวเลือก
1.3 หากข้อความที่ขีดเส้นใต้ไม่ได้มีจุดผิดพลาดอย่างชัดเจนให้ลองมองตัวเลือกเพื่อหาข้อความที่ดีกว่า โดยพิจารณาว่าต้องมีคุณสมบัติ shorter กระชับกว่า clearer ชัดเจนกว่า และ more logical สมเหตุสมผลมากกว่าข้อความที่ผิดอยู่
1.4 แต่หากพิจารณาแล้วว่าข้อความส่วนที่ขีดเส้นใต้ไม่มีจุดผิดพลาดเลยจริงให้เลือกข้อ 1 คือคงเดิม
2. เทคนิคการทำข้อสอบ Identifying sentence errors
2.1 อ่านประโยคทั้งประโยคอย่างระมัดระวังเพื่อหาจุดผิดพลาด
2.2 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือ verb รูปกริยา, pronoun คำสรรพนาม, preposition คำบุพบท, adjective คำคุณศัพท์, adverb คำวิเศษณ์, comparison การเปรียบเทียบ ให้สังเกตคำเหล่านี้ให้ดี
2.3 หากไม่พบจุดผิดพลาดในข้อ 2.2 เลยให้พิจารณาเรื่อง misspelled การสะกดผิด หรือ unusual การใช้คำผิด
2.4 หากว่าไม่พบข้อผิดพลาดใดๆเลยตามข้อ 2.2 และ 2.3 ให้เลือก no error แต่โอกาสที่จะตอบว่า no error มีน้อยมาก
3. เทคนิคการทำข้อสอบ Improving paragraphs
3.1 ให้เลือกตอบข้อที่เป็น isolated sentence หรือ ข้อที่แยกประโยคออกมาเพียงประโยคเดียวแล้วสามารถพิจารณาความผิดพลาดทางไวยากรณ์ได้เลยโดยไม่ต้องอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดก่อนข้ออื่นๆ
3.2 อ่านบทอ่านทั้งหมดอย่างระมัดระวังและสังเกตบริเวณที่อ่านแล้วไม่ราบรื่น
3.3 พิจารณาว่าบริเวณของบทอ่านที่อ่านแล้วสะดุดเป็นเพราะเหตุผลใด และต้องแก้ไขอย่างไร เช่น insert ต้องแทรกข้อความ remove ต้องตัดข้อความ หรือ combine ต้องรวมข้อความ
3.4 เมื่อตัดสินใจว่าต้องแก้ไขอย่างไร ให้เลือกตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดว่าควรจะ insert, remove หรือ combine
ตารางสอบ CU AAT สอบเมื่อไร ?
ทางศูนย์ทดสอบจุฬาฯ จะจัดสอบ สมัครสอบ CU-AAT ปีละ 5 ครั้ง คือจะมีสอบในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ , มีนาคม , กรกฎาคม , ตุลาคม และ ธันวาคม โดยปกติจะสอบช่วงเวลา 13.00 – 15.30 น.ของทุกรอบในการสอบ และสำหรับน้อง คนไหนที่ต้องการยื่นคะแนนรอบ Early ควรมีคะแนนก่อนเดือนธันวาคม (หรือควรวางแผนสอบเดือนสุดท้าย คือ เดือนตุลาคม)
ตารางสอบ CU-AAT 2024
Test Dates | เวลา | ช่วงเวลารับสมัคร |
10 มี.ค. 2567 | 13:00 – 15:30 | 23 ก.พ. – 3 มี.ค. 2567 |
14 ก.ค. 2567 | 13:00 – 15:30 | 28 มิ.ย. – 7 ก.ค. 2567 |
13 ต.ค. 2567 | 13:00 – 15:30 | 27 ก.ย. – 6 ต.ค. 2567 |
10 พ.ย. 2567 | 13:00 – 15:30 | 25 ต.ค. – 3 พ.ย. 2567 |
15 ธ.ค. 2567 | 13:00 – 15:30 | 29 พ.ย. – 8 ธ.ค. 2567 |
CU AAT คะแนนเต็มเท่าไหร่ ?
CU-AAT มีคะแนนเต็ม 1600 คะแนน แบ่งเป็นคะแนนจาก Math Section 800 คะแนน , Verbal Section 800 คะแนน รวม 1,600 คะแนน
น้องๆ ที่สอบจะรู้ผลคะแนน CU-AAT ภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากวันที่สอบ โดยสามารถดูผลคะแนนสอบของตัวเองได้ผ่านทางออนไลน์ สำหรับผลสอบ มีอายุ 2 ปี นับจากวันสอบ
สมัครสอบ CU-AAT อย่างไร ?
1. เข้าสู่ระบบสมัครสอบได้ที่ http://www.atc.chula.ac.th
2. เลือกเมนูสมัครสอบ โดยเลือกศูนย์สอบ รอบการสอบ และวันที่การสอบ
3. พิมพ์ใบชำระเงิน โดยชำระเงินในช่องทางที่กำหนด ภายในวันที่กำหนด
4. ตรวจสอบสถานะการชำระเงินในระบบสมัครสอบออนไลน์ ภายในเวลา 10.00 น. ของวันถัดไป
5. ตรวจสอบสถานที่สอบ ในระบบสมัครสอบออนไลน์ล่วงหน้า 5 วัน ก่อนวันสอบ
6. ผู้มีสิทธิ์สอบศึกษากฎระเบียบและข้อปฎิบัติในการเข้าสอบจากเว็บไซต์ของศูนย์ทดสอบฯ
7. ผู้เข้าสอบ ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย และนำหลักฐานแสดงตน (บัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง) มาในวันสอบโดย ศูนย์ฯ จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนไว้ให้
8. ศูนย์ทดสอบฯ จะประกาศผลคะแนนภายใน 10 วันหลังจากวันสอบ สามารถตรวจสอบผลคะแนนได้ด้วยตนเองในระบบ
ค่าสอบ CU-AAT เท่าไร ?
ค่าสอบ 1,300 บาท (กรณีสอบกับกระดาษ)
ค่าสอบ 2,900 บาท (กรณีสอบกับคอมพิวเตอร์)
เลือกอะไรดีระหว่าง สอบ CU-AAT VS SAT ?
สำหรับน้องๆ ที่วางแผนเข้า จุฬาฯ อินเตอร์ อาจจะกำลังวางแผนว่าจะสอบอะไรดี ระหว่าง CU-AAT VS SAT หรือจะสอบ SAT อย่างเดียวไปเลย พี่ขอแนะนำให้สอบทั้ง 2 ตัวเลย เพราะ SAT ปีหนึ่งมีเปิด 5 รอบ CU-AAT มีเปิดสอบ 5 รอบ และข้อสอบ 2 วิชานี้มีความเหมือนกันมาก นั้นหมายความว่าหากสอบทั้ง 2 ตัว น้องจะมีโอกาสทำความคุ้นเคยกับข้อสอบ และมีโอกาสเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
สรุป หากน้องๆ ที่อยากเข้าจุฬาฯ อินเตอร์ แนะนำสอบทั้ง 2 วิชาเลย จะได้ไม่เสียโอกาส และถือเป็นการฝึกความคุ้นเคยกับข้อสอบ
🔥ติว CU-AAT คอร์ส สอนสด กับ ครูพี่เปิ้ล CHULATUTOR
คอร์สเรียน CU-AAT สอนครอบคลุมทั้ง 2 พาร์ท สอนสด กลุ่มเล็ก ไม่เกิน 10คน/ห้อง ทำให้ดูแลได้ทั่วถึง สามารถถามได้ทันทีที่สงสัย
สอนตั้งแต่พื้นฐาน math และ verbal ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การใช้สูตรคณิต , คำศัพท์ Verbal ที่มักออกสอบ , การใช้เครื่องคิดเลข จนไปถึง ข้อสอบรอบล่าสุด และเก็งข้อสอบให้กับน้องๆ
สอนโดย อ.เปิ้ล และ ทีม ที่ติว CU-AAT ตั้งแต่ข้อสอบฉบับแรกถึงข้อสอบรอบล่าสุด
คอร์สเรียนสด CU-AAT Math กลุ่มย่อย
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
คอร์สเรียนสด CU-AAT Verbal กลุ่มย่อย
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |