IGCSE Accounting
Reading Time: 2 minutes

IGCSE Accounting คืออะไร? หัวข้อที่ออกสอบ IGCSE Accounting

IGCSE Accounting คืออะไร

วิชา IGCSE Accounting บัญชีนี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการบวกเลขเป็นอย่างมาก ซึ่ง ถ้าคิดแค่นี้อาจจะเป็นการคิดผิด เพราะว่าจริง ๆ แล้ววิชาบัญชี หรือ เรียกกันสั้น ๆ ว่า ACC 0452 โดยจะต้องรู้ลึกถึงขนาดที่ว่า โครงสร้างการเคลื่อนไหวของตัวบัญชีต่าง ๆ เช่น สินทรัพย์ หนี้สิ้น รายได้ อะไรอยู่ตรงไหนด้วย ดังนั้นถ้าหากคิดจะลองวิชานี้ จะต้องเป็นคนที่มี Pattern พอสมควร ทั้ง Debit Credit ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างหน้าปกของข้อสอบ เพื่อให้เห็นภาพจริงไปเลยว่าเป็นแบบไหน ถ้าของประเทศไทยเรา ต้องเป็นรหัสที่ลงท้ายด้วย xxxx/x2 เช่น 12 ก็หมายถึง Paper 1 หรือ 22 ก็คือ Paper 2 อะไรทำนองนี้ อย่าหลงสมัครผิดตัวเด็ดขาด หรือว่าเวลาจะทำข้อสอบเก่าพยายามเลือกรหัสลงท้ายด้วย 2 อย่างที่บอก เพราะมันคือของ Zone พวกเรา

ข้อสอบ IGCSE Accounting จะมีด้วยกันอยู่ 2 paper ส่วนด้วยกัน คือ ทั้ง Paper 1 และ Paper 2 จะมีเวลาข้อสอบทั้งหมด 1 ชั่วโมง กับอีก 45 นาที โดยข้อสอบใน Paper 1 นั้นอาจจะมีการปะปนของข้อสอบ 2 แบบด้วยกัน คือ ทั้งแบบ กากบาท Multiple choice แล้วก็แบบ short-answer แต่แบบ Paper 2 จะไม่มีกากบาท มีแต่เขียนล้วนๆ ทั้งคู่

คะแนนอย่างละ 120 มาดูตัวอย่างข้อสอบกันว่าเป็นอย่างไร

แต่ทางนั้นจะถ่วงน้ำหนักเป็นอย่างละ 50% เพื่อให้เข้าใจตรงกัน จะมีการสมมุติคะแนนออกมาง่าย ๆ ดังนี้

 Paper 1Paper 2
คะแนนที่ได้ ( คะแนนดิบ )70/12095/120
คะแนนที่ถ่วงแล้ว ( 50%)3547.5
คะแนนจริง ๆ35+47.5 = 82.5/100

ดังนั้นหมายความว่า คะแนนจริง ๆ ของที่ได้คือ 82.5 เท่านั้นไม่ใช่เอา 70+95 แล้วบอกกรรมการว่า คะแนนสูงขนาดนี้ทำไมได้เกรดเท่านี้เอง

สิ่งที่ต้องเตรียมและข้อห้ามในการทำข้อสอบ IGCSE Accounting

– ต้องเขียนเลขศูนย์สอบ เลขประจำตัวของเรา แล้วก็ชื่อบนกระดาษที่ได้

– เข้าให้ใช้ปากกา !ดำ หรือ น้ำเงิน

– อาจจะใช้ดินสอบ HB ก็ได้นะในการเขียนกราฟ หรือรูปอะไรก็ตาม

– อย่า!ใช้ น้ำยาลบคำผิด เด็ดขาด !

– อย่าเขียนอะไร แถวๆๆ Barcodes เป็นอันขาด

– สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้

หัวข้อที่ออกสอบ IGCSE Accounting

หัวข้อที่ออกข้อสอบทุกรอบ รายละเอียด
เรื่องทั่วไปของบัญชี จะเป็นเรื่องพวกรู้จุดประสงค์ของการทำบัญชี สามารถเข้าใจถึง Accounting Equation ได้ รู้จักระบบ Entry System ของบัญชี และวิธีการบันทึกบัญชีทั้ง 5 ครบหมด นอกจากนี้ยังมีพวกเรื่อง T account อีกด้วย แล้วสามารถจะทำงบทดลองเป็น
เรื่องบัญชีการเงินของพวก Sole Traders หลัก ๆ คือสามารถทำ Balance Sheet เป็น แล้วก็สามารถที่จะ Adjustment บัญชีได้เช่นพวก รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอะไรทำนองนี้ แล้วรู้ถึงเรื่อง Profit and Loss พอสมควร และเข้าใจในบัญชี Capital ด้วยนะ เพื่อนำไปใช้ในพวก income statement
ประเภท Books ต่าง ๆ อย่างแรกเลย จะต้องเข้าใจถึงพวก invoice, credit note, debit note, statement of account ทั้งหมดก่อน และที่ชอบออกสุด ๆ เลยนะคือ Petty Cash หรือก็คือ เงินสดย่อย ออกเกือบรอบ แล้วก็พวก บัญชีการซื้อขาย เช่นพวก Sales Returns, Purchases Returns จ้า และที่ PEAK !! สุดคือ จะมีเรื่องของ Bank Reconciliation ด้วยนะ คือจะต้องรู้ว่าอะไรบ้างที่เราบันทึกแต่ธนาคารไม่ หรืออะไรที่ธนาคารทำแต่เราดันลืม ซึ่งบอกเลยว่าถ้าจับทางได้ เป็นข้อสอบแจกแต้ม เพราะแนวเดิมตลอด
บัญชีพวก Adjustment ต่าง ๆ ต้องไปอ่านมาคือพวก ค่าเสื่อมราคา หนี้เสีย หนี้สงสัยจะสูญ พวกบัญชีค้างทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ค้างรับ ค้างจ่าย จ่ายล่วงหน้า อะไรแบบนี้ ต้องเก็บหมด บทนี้เป็นบทที่ยากพอสมควร ต้องจำ Pattern ให้ได้ทั้งหมดเลย ถ้าหากจะเรียนบัญชีแล้ว นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Errors ที่ไม่กระทบต่อพวกงบทดลองอีกด้วยนะ เช่น ค่า commission, ค่าชดเชย หรือแม้กระทั้ง suspense ด้วย
บัญชีแปลก ๆ ในองค์กรต่าง ๆ จะต้องได้เรียนพวกบัญชีจากองค์กรต่าง ๆ เช่น Club ว่ามีรายได้รายจ่ายอะไรบ้าง หรือ Partnership Accounts ที่ต้องรู้ว่า อะไรสามารถถอนเข้าถอนออก แล้วเป็นของเราหรือของ Partner บัญชี Manufacturing ที่จะต้องคำนวณต้นทุนตรงและอ้อมเป็น เพื่อหาต้นทุกที่แท้จริงทำนองนี้จ้า และก็จะมีพวก สูตร Ratio ต่าง ๆ ให้เราตีความด้วย เพื่อเปรียบเทียบว่าผลของยอดขายอะไรทำนองนี้เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับปีเก่า
 
รายละเอียดเพิ่มเติม
Scroll to Top