NCEA คืออะไร ทำไมต้องสอบ ใช้แทน วุฒิ ม.ปลาย ในไทยได้ไหม
NCEA คืออะไร
NCEA หรือ National Certificate of Educational Achievement คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ หรืออาจจะเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นวุฒิม. ปลายของนิวซีแลนด์ก็ไม่ผิดอะไร ซึ่ง NCEA จะมีทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ Level 1, Level 2, และ Level 3 โดยที่ทั้งหมดจะอยู่ในความดูแลของ NZQA (New Zealand Qualifications) และมีรายวิชาให้เลือกเรียนกว่า 40 รายวิชา
ทำไมต้องสอบ NCEA
ประกาศนียบัตร NCEA จะใช้สำหรับการเรียนต่อเป็นหลัก ทั้งการเรียนต่อในประเทศนิวซีแลนด์และประเทศอื่น ๆ ซึ่งในประเทศไทยของราเองก็มีการรับผู้ที่จบการศึกษาในระดับนี้ด้วย โดยผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้น Year 11 จะได้รับประกาศนียบัตร Level 1, ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้น Year 12 จะได้รับประกาศนียบัตร Level 2 และเช่นเดียวกับ ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้น Year 13 ก็จะได้รับประกาศนียบัตร Level 3
การเรียนให้จบ NCEA ยากหรือไม่ เกณฑ์สอบผ่านเป็นอย่างไรบ้าง
หลักสูตรประกาศนียบัตร NCEA หรือเรียกง่าย ๆ ว่าวุฒิ NCEA นั้น จะต้องผ่านการสอบรายวิชาต่าง ๆ ในจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด (นักเรียนเลือกรายวิชาได้เอง) แต่ละหน่วยกิตที่ทำการสอบจะมีเกรดกำกับอยู่ด้วยว่า หน่วยกิตนี้ของรายวิชานี้ได้เกรดเท่าไหร่ ซึ่งกาสอบนั้นอาจจะมีทั้งการสอบจากในโรงเรียน และการสอบในสนามสอบจริงในช่วงปลายปี จัดสอบและตรวจข้อสอบโดย NZQA (New Zealand Qualifications Authority) โดยแต่ละ Level มีการกำหนดจำนวนเครดิตที่ถือว่าผ่าน ไว้ดังนี้
NCEA level | คุณสมบัติ |
Level 1 | – 80 เครดิต โดยจะมาจากการสอบในรายวิชาของ Level ใดก็ได้ – ในจำนวนนี้จะต้องเป็นเครดิตที่ “เกี่ยวกับการนับ” 10 เครดิต และ “เกี่ยวกับภาษา” 10 เครดิตเป็นอย่างน้อย |
Level 2 | – 80 เครดิต โดยมี 60 เครดิต มาจากการสอบในรายวิชาของ Level 2 หรือสูงกว่าก็ได้ และอีก 20 เครดิตนั้นจะมาจากการสอบใน Level ใดก็ได้ – มีเครดิตในรายวิชาที่ “เกี่ยวกับการนับ” และ”เกี่ยวกับภาษา” เป็นไปตาม Level 1 |
Level 3 | – 80 เครดิต โดยมี 60 เครดิต มาจากการสอบในรายวิชาของ Level 3 หรือสูงกว่าก็ได้ และอีก 20 เครดิตนั้นจะมาจากการสอบใน Level 2 หรือสูงกว่า – มีเครดิตในรายวิชาที่ “เกี่ยวกับการนับ” และ”เกี่ยวกับภาษา” เป็นไปตาม Level 1 |
แต่ละเครดิตที่สอบ สามารถจำแนกเกรดที่นักเรียนมีสิทธิ์จะได้ออกเป็น 5 แบบดังนี้
- N = ไม่ผ่าน (Not Achieved)
- A = ผ่าน (Achieved)
- M = ผ่านด้วยคะแนนดี (Merit)
- E = ผ่านด้วยคะแนนดีเยี่ยม (Excellence)
ระบบการสอบของวุฒินี้ถือว่าโหดหินอยู่พอสมควรค่ะ เนื่องจากข้อสอบเป็นแบบเขียนตอบหรือไม่ก็เติมคำ หากคะแนนไม่เป็นไปตามที่กำหนดก็สามารถได้ผลเป็น “สอบตก” “ซ้ำชั้น” “ไม่ได้รับประกาศนียบัตร”ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องขยัน เข้าเรียนสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้พลาดนั่นเองค่ะ เพราะมีการจัดสอบเพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้น
ประกาศนียบัตร NCEA ใช้แทนวุฒิ ม.ปลาย ในประเทศไทยได้หรือไม่
สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจนจบและได้ประกาศนียบัตรจากนิวซีแลนด์มาแล้ว หรือใครที่กำลังวางแผนจะเรียนด้วยหลักสูตรนั้น เราสามารถใช้สมัครเรียนมหาวิทยาลัยของประเทศไทยในหลักสูตรนานาชาติได้ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเกณฑ์การเทียบวุฒิสำหรับประกาศนียบัตร NCEA ไว้ดังนี้ http://bet.obec.go.th/index/?page_id=2919
เปรียบเทียบระหว่าง NCEA และ IGCSE
คงปฏิเสธไม่ได้นะคะว่าในปัจจุบันการจบม.ปลายด้วยวุฒิต่างประเทศนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น แม้ไม่ได้ไปเรียนที่ต่างประเทศจริง ๆ ก็มีแนวทางอื่นในการเรียนและจบด้วยวุฒิต่างประเทศได้ ซึ่งก็มีมากหมายหลายหลักสูตร ในหัวข้อนี้เราจะมาเปรียบเทียบวุฒิ NCEA กับ IGCSE ซึ่งเป็นวุฒิอีกระบบที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันค่ะ เผื่อว่าใครกำลังเลือก ๆ อยู่ อาจจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นค่ะ
รายละเอียด | นิวซีแลนด์ (NCEA) | อังกฤษ ( IGCSE + A/AS Level ) |
รายวิชา | – เลือกวิชาเรียนได้ตามความถนัด – มีรายวิชาบังคับคือคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ |
– มากกว่า 40 รายวิชา – มีรายวิชาบังคับคือคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ |
การแบ่งระดับความยาก-ง่ายของเนื้อหา | – ใน Level เดียวกันจะมีความยาก-ง่ายระดับเดียว – ความยาก-ง่ายเพิ่มขึ้นตาม Level ที่สูงขึ้น |
– ข้อสอบมีความยาก-ง่ายให้เลือก แบ่งเป็นระดับ Core (เกรดสูงสุดที่ได้คือ C) และ Extended (เกรดสูงสุดคือ A) |
การเรียน | – เรียนในโรงเรียนเท่านั้น | – สามารถเรียนได้ทั้งในโรงเรียนที่มีการใช้ระบบอังกฤษ และสามารถเรียนเองแบบ Home School ได้ |
รูปแบบข้อสอบ | – เขียนตอบหรือเติมคำ | – เขียนตอบหรือเติมคำ |
การจัดสอบ | – ปีละ 1 ครั้งในช่วงปลายปี เป็นเหมือนการสอบปลายภาค | – มีการจัดสอบปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเดือนพ.ค. และช่วงพฤศจิกายนของทุกปี |
ลักษณะการสอบและผลคะแนน | – ในรายวิชาหนึ่ง หากสอบไม่ผ่านในบางหน่วยกิตก็ไม่ได้ถือว่าไม่ผ่านในรายวิชานั้น เพียงแค่อาจจะได้หน่วยกิตน้อยลง | – กรณีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์จะถือว่าเราสอบไม่ผ่านในรายวิชานั้นไปเลย และต้องรอสอบรายวิชานั้นใหม่อีกครั้งในรอบสอบถัดไป |
คุณสมบัติการเทียบวุฒิ ม.6 ในประเทศไทย | – ตามเกณฑ์ของ Level 2 ไม่มีการเรียนอื่น ๆ ต่อ – เน้นที่จำนวนหน่วยกิต |
– เน้นที่จำนวนรายวิชา – ต้องสอบ A/AS Level เพิ่มอีก 3 รายวิชา |