TGAT คืออะไร
Reading Time: 3 minutes

TGAT คืออะไร TGAT/TPAT สอบอะไรบ้าง

เมนู

การสอบ TGAT คืออะไร ?

TGAT ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test หรือ ความถนัดทั่วไปเป็นการสอบวัดความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

ทำไมต้องสอบ TGAT ?

  • คะแนน TGAT ใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS ทุกๆ รอบ
  • มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้คะแนน TGAT ในการพิจารณาคัดเลือก

ภาพรวมข้อสอบ TGAT

ข้อสอบ TGAT ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. การทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

2. การคิดอย่างมีเหตุผล

3.ความสามารถในการทำงานในอนาคต

แต่ละส่วนมีคะแนน 100 คะแนน รวมทั้งหมด 300 คะแนน

สอบ TGAT 1 ภาษาอังกฤษ

TGAT 1 คือ ส่วนหนึ่งของการสอบ TGAT ที่วัดทักษะภาษาอังกฤษ เน้นการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ต่างจาก GAT ภาษาอังกฤษแบบเดิม

ภาพรวมข้อสอบ TGAT 1

  • มี 60 ข้อ
  • ใช้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที
  • ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก
  • ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ 2 ทักษะ ดังนี้
    • ทักษะการพูด :
      • ตอบคำถาม 10 ข้อ
      • เติมบทสนทนาสั้นๆ 10 ข้อ
      • เติมบทสนทนายาวๆ 10 ข้อ
    • ทักษะการอ่าน :
      • เติมข้อความให้สมบูรณ์ 15 ข้อ
      • อ่านจับใจความ 15 ข้อ

ความแตกต่าง ข้อสอบ TGAT 1 กับ A-Level ภาษาอังกฤษ

ข้อสอบ

TGAT 1

วัดความถนัด / การสื่อสารภาษาอังกฤษ

A-Level

ภาษาอังกฤษ

จำนวนข้อ60 ข้อ80 ข้อ
เวลาในการทำข้อสอบ60 นาที90 นาที
คะแนนเต็ม100 คะแนน100 คะแนน
โครงสร้างข้อสอบ

– Speaking Skill 60 ข้อ

( Question-Response , Short conversions , Long conversions ทั้งหมด คือ ข้อสอบแบบเติมบทสนทนา )

– Reading Skill 30 ข้อ

( Text completion คือ ข้อสอบ Cloze test ที่วัดทั้งคำศัพท์และแกรมม่า , Reading Comprehension ข้อสอบการอ่านทั่วไป )

– Listening and Speaking Skills 20 ข้อ

( ข้อสอบแบบเติมบทสนทนา )

– Reading Skill 40 ข้อ

( ข้อสอบการอ่าน )

– Writing Skill 20 ข้อ

( Text Completion คือ ข้อสอบ Cloze Test ที่วัดทั้งคำศัพท์ และ Grammar , Paragraph organization คือ ข้อสอบเรียงประโยค)

สอบ TGAT 2 การทดสอบทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลและตรรกะ

TGAT 2 คือ ส่วนหนึ่งของการสอบ TGAT ที่วัดทักษะการคิดวิเคราะห์และตรรกะ เน้นการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เหตุผล และคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ภาพรวมข้อสอบ TGAT 2

  • มี 60 ข้อ
  • ใช้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที
  • ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก
  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • ทดสอบทักษะ 4 ด้าน ดังนี้
    • ความสามารถทางภาษา : 20 ข้อ
      • วัดทักษะการสื่อความหมาย การใช้ภาษา การอ่าน และการเข้าใจภาษา
    • ความสามารถทางตัวเลข : 20 ข้อ
      • วัดทักษะการคิดเลข การวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ และความเพียงพอของข้อมูล
    • ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ : 20 ข้อ
      • วัดทักษะการจินตนาการ การคิดวิเคราะห์ภาพ และการแก้ปัญหา
    • ความสามารถทางเหตุผล : 20 ข้อ
      • วัดทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล การคิดอย่างมีตรรกะ การจับใจความ และการสรุป

สอบ TGAT 3 สมรรถนะการทำงานในอนาคต

TGAT 3 คือ เป็นการวัดทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานและใช้ชีวิต ข้อสอบเน้นการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น

ภาพรวมข้อสอบ TGAT 3

  • มี 40 ข้อ
  • ใช้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที
  • ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก แต่สามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ตัวเลือก
  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • ทดสอบ 4 ทักษะ ดังนี้
    • การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม : 15 ข้อ
      • วัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์
    • การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน : 15 ข้อ
      • วัดทักษะการระบุปัญหา หาทางออก วิเคราะห์ผลลัพธ์
    • การบริหารจัดการอารมณ์ : 15 ข้อ
      • วัดทักษะการเข้าใจตัวเอง ควบคุมอารมณ์ เข้าใจผู้อื่น
    • การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม : 15 ข้อ
      • วัดทักษะการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชน

จำนวนข้อสอบ TGAT และเวลาทำข้อสอบ

TGAT มีทั้งหมด 200 ข้อ น้องมีเวลาทำข้อสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็นเวลาเฉลี่ย 54 วินาทีต่อข้อ

การใช้คะแนน TGAT และคะแนนเฉลี่ย

  • คะแนนเต็ม 300 คะแนน
  • คะแนนเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 40-50 คะแนน (คิดเป็น 35% ของผู้สอบทั้งหมด)

การแบ่งคะแนน TGAT

  • TGAT 1 : ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 20-30 คะแนน (คิดเป็น 33% ของผู้สอบ)
  • TGAT 2 : ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล คะแนนเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 30-40 คะแนน (คิดเป็น 26% ของผู้สอบ)
  • TGAT 3 : สมรรถนะการทำงานในอนาคต คะแนนเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 60-70 คะแนน (คิดเป็น 36% ของผู้สอบ)

TPAT

  • คะแนนเต็ม 100 คะแนน

TPAT 2

  • ศิลปกรรมศาสตร์: 40-50 คะแนน (49% ของผู้สอบ)
  • ทัศนศิลป์ : 40-50 คะแนน (39% ของผู้สอบ)
  • ดนตรี : 30-40 คะแนน (41% ของผู้สอบ)
  • นาฏศิลป์ : 60-70 คะแนน (39% ของผู้สอบ)

TPAT 3

  • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์: 40-50 คะแนน (32% ของผู้สอบ)

TPAT 4

  • สถาปัตยกรรมศาสตร์: 60-70 คะแนน (32% ของผู้สอบ)

TPAT 5

  • ครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์: 70-80 คะแนน (42% ของผู้สอบ)

คะแนนสอบ TGAT ใช้ยื่นอะไร

คะแนน TGAT สามารถใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS ได้ 3 รอบ ดังนี้

  1. รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) : คะแนน TGAT จะเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่วมกับผลงานอื่นๆ ของผู้สมัคร
  2. รอบโควตา : คะแนน TGAT จะใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ
  3. รอบ Admission : คะแนน TGAT จะใช้เป็นคะแนนในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อ

ข้อสอบ TPAT คืออะไร

TPAT ย่อมาจาก “ทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ” เป็นการทดสอบที่ใช้ในการวัด ความสามารถเชิงทักษะ ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อและประกอบอาชีพใน สายวิชาชีพเฉพาะ

TPAT ต่างจาก TGAT อย่างไร ?

  • TGAT ทดสอบทักษะทั่วไปที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา
  • TPAT ทดสอบทักษะเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในสายวิชาชีพ เน้นทักษะเชิงปฏิบัติ และความรู้เฉพาะทาง

เปรียบเทียบ TGAT TPAT A-Level คืออะไร

ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย TGAT TPAT A-Level เป็นระบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของการสอบ เน้นการวัดความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

ระบบรายละเอียด
TGATวัดทักษะทั่วไปที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม
TPATวัดทักษะเฉพาะที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในสายวิชาชีพ เน้นทักษะเชิงปฏิบัติ ความรู้เฉพาะทางและความคิดสร้างสรรค์
A-Levelวัดความรู้และทักษะเชิงวิชาการ เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริงและความคิดวิเคราะห์เชิงวิชาการ
private

สมัครสอบ TGAT

1. เข้าสู่ระบบ

  • ไปที่เว็บไซต์ สมัครสอบ tgat
  • เข้าสู่ระบบด้วยรหัสประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวนักเรียน หรือเลขพาสปอร์ต
  • ไปที่หน้า “ข้อมูลการสมัครสอบ”
  • เลือก “ดูรายละเอียดและสมัครสอบ”

2. เลือกวิชาและสนามสอบ

  • เลือกวิชาที่ต้องการสอบ
  • เลือกสนามสอบ (5 สนาม)
  • ตรวจสอบวันสอบของแต่ละวิชา

3. เลือกประเภทข้อสอบ

  • เลือกสอบแบบกระดาษ หรือ คอมพิวเตอร์

4. สมัครสอบแบบกระดาษ

  • เลือกสนามสอบทั้ง 5 สนาม
  • กรณีค้นหาสนามสอบไม่เจอ ให้ดูรายชื่อสนามสอบทั้งหมด

5. สมัครสอบแบบคอมพิวเตอร์

  • เลือกสนามสอบแบบกระดาษ (สำหรับสำรอง)
  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง
  • บันทึกรายการ

6. ยืนยันการสมัคร

  • ตรวจสอบข้อมูลและยอดเงิน
  • ยืนยันการสมัคร
  • เลือกช่องทางรับรหัส OTP
  • กรอกรหัส OTP
  • พิมพ์ใบแจ้งชำระเงิน

7. ชำระเงิน

  • ชำระเงินตามใบแจ้งชำระ
  • เก็บใบเสร็จรับเงิน

ตารางสอบ TGAT TPAT A-Level 2567

วันที่วันสอบ TGAT TPAT A-Level
1 – 20 กันยายน 2567TGAT/TPAT68 
29 ตุลาคม – 5 พฤษจิกายน 2567สมัคร TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท
7 – 9 ธันวาคม 2567สอบ TGAT/TPAT2-5 
14 ธันวาคม 2567สอบ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท
17 ธันวาคม 2567

ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT (สอบด้วยคอมพิวเตอร์)

7 มกราคม 2568ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT (สอบด้วยกระดาษ)
5 กุมภาพันธ์ 2568มหาวิทยาลัยกำหนดวันรับสมัครเอง
2 พฤษภาคม 2568ประกาศผลในระบบ mytcas
6-12 พฤษภาคม 2568รับสมัครระบบ Admission
20 พฤษภาคม 2568ประกาศผล Admission ครั้งที่ 1
25 พฤษภาคม 2568ประกาศผล Admission ครั้งที่ 2
27 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2568ระบบ Direct Admission
6 มิถุนายน 2568ประกาศผล Direct Admission ครั้งที่ 1
17 มิถุนายน 2568ประกาศผล Direct Admission ครั้งที่ 2

 

เตรียมสอบ TGAT อย่างไร? ให้ได้คะแนนสูง

TGAT1 : ภาษาอังกฤษ

ไวยากรณ์ที่ออกสอบแน่นอน

  • Subject & Verb Agreement (การใช้ Verb ให้สอดคล้องกับ Subject)
  • Part of Speech (ชนิดคำในภาษาอังกฤษ)
  • Tenses & Passive Voice (การใช้ Tenses ประโยค Subject ถูกกระทำ)
  • Clauses (อนุประโยค)
  • Finite & Non-finite Verbs (กริยาแก้และกริยาไม่แท้ เช่น Participle, Gerund, Infinite)
  • Phrases (วลี หรือ กลุ่มคำ)
  • Conjunction & Preposition (คำเชื่อมและคำบุพบท)
  • Parallel Structure (โครงสร้างคู่ขนาน)

ไวยากรณ์อื่นๆ ที่ออกสอบบ่อย

  • other VS another
  • a number of VS the number of
  • million VS millions
  • Noun Clause
  • Present Subjunctive
  • Past Subjunctive

ทักษะการพูด

  • ฝึกโจทย์ Conversion จากข้อสอบ TOEIC เพราะข้อสอบส่วนนี้จะคล้ายกับ TOEIC
  • ฝึกพูดตามโจทย์
  • ฝึกพูดตอบคำถามตามโจทย์

ทักษะการอ่าน

  • ฝึกอ่านโจทย์หลากหลายรูปแบบ เช่น V2, V3, Adv., Adj., -ing
  • ฝึกเติมคำศัพท์ในช่องว่าง
  • ฝึกจับใจความสำคัญของข้อความ

TGAT2: การคิดอย่างมีเหตุผล

  • ฝึกทำโจทย์อนุกรมตัวเลข
  • ฝึกตัดตัวเลือกให้คล่องในบท การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ , ความเพียงพอของข้อมูล และโจทย์ปัญหา

TGAT3: สมรรถนะการทำงาน

ทำความเข้าใจ เรื่อง Design Thinking การคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน

  1. Empathize เข้าใจลูกค้า
  2. Define นิยามปัญหาลูกค้า
  3. Ideate สร้างสรรค์สินค้า
  4. Prototype จำลองสินค้า
  5. Test ทดสอบกับลูกค้า

ตัวอย่างข้อสอบ โจทย์ถามหากผลิตสินค้า แล้วอยู่ขั้นตอน Prototype ขั้นตอนต่อไปคืออะไร ? ให้น้องสอบได้เลย คือ Test

  • ฝึกหาความต้องของ โจทย์ ปัญหา จากนั้นดูที่ ตัวเลือกในข้อสอบ ว่าตัวเลือกไหนไม่สามารถ แก้ปัญหาได้ ให้ตัดทิ้งได้เลย
  • ข้อสอบพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม ให้ พยายามหา Keyword ในข้อสอบต้องมี 3 สิ่งนี้ คือ “ตัวเรา+ชุมชน+ส่วนร่วม” หากตัวเลือกไหน ไม่มี 3 สิ่งนี้ ให้ตัดทิ้งก่อนเลย

 

รายละเอียดเพิ่มเติม
Scroll to Top